โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย กับพวก ราว 20 คน ร่วมกัน ใช้ มีด ปลายแหลม แทงนาย รัชพงษ์ ซื่อมาก ตาย โดย เจตนา ฆ่า และ ร่วมกัน ใช้ มีด ปลายแหลมแทง นาย สุเทพ ฉัตรเพชรพิทักษ์ ใช้ กำลัง ทำร้าย นาย อุดร สรสินทร์กับ นาย ทองสา ศรีบุญเรือง ได้ รับ อันตราย แก่ กาย ขอ ให้ ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 295, 83
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา295 ประกอบ ด้วย มาตรา 83 และ มาตรา 74 (5) ให้ ส่ง ตัว จำเลย ไป ยังสถานพินิจ และ คุ้มครอง เด็ก กลาง มี กำหนด 1 ปี นับแต่ วัน พิพากษาข้อหา อื่น ให้ ยก
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า การ กระทำ ของ จำเลย กับพวก มี เจตนา ฆ่านาย รัชพงษ์ ส่วน นาย สุเทพ นาย อุดร นาย ทองสา ถูก แทง และ ตี ได้ รับบาดเจ็บ ถือว่า เป็น การ กระทำ กรรม เดียว ผิด ต่อ กฎหมาย หลายบทลงโทษ บทหนัก พิพากษา แก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบ ด้วย มาตรา 83 นอกจาก ที่ แก้ คงเป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี นี้ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ต้องกัน ให้ส่ง จำเลย ไป ควบคุม ตัว ไว้ ยัง สถานพินิจ และ คุ้มครอง เด็ก กลางแม้ ศาลอุทธรณ์ จะ ปรับ บท ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288เพิ่ม อีก บท หนึ่ง ก็ เป็น การ ลงโทษ จำคุก จำเลย ไม่เกิน 1 ปี จึงต้องห้าม มิให้ จำเลย ฎีกา ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 จำเลย ฎีกา ได้ แต่ เฉพาะใน ปัญหา ข้อกฎหมาย ซึ่ง ใน การ วินิจฉัย ปัญหา ข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจำต้อง ถือ ตาม ข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย มา แล้ว จาก สำนวนว่า จำเลย และ ผู้ตาย กับ ผู้เสียหาย ต่าง มี พวก ฝ่าย ละ หลาย คนจำเลย กับ พวก ฝ่ายเดียว มี มีด ปลายแหลม เป็น อาวุธ ขณะ ที่ เข้าชุลมุน ต่อสู้ กัน เป็น เหตุ ให้ อีก ฝ่าย ถึง แก่ ความตาย 1 คนและ ได้ รับ อันตราย แก่ กาย 3 คน เนื่อง มา จาก การ กระทำ ของ ฝ่ายจำเลย รายละเอียด ของ บาดแผล ปรากฏ ตาม รายงาน การ ตรวจ ศพ และ ผล การตรวจชันสูตร บาดแผล ท้าย ฟ้อง เอกสาร หมาย จ.30 จ.11 ถึง จ.13 ที่ จำเลยฎีกา ว่า ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฏ ใน ทาง พิจารณา ต่างกับ ฟ้อง ก็ ดีจำเลย มิได้ เข้า ร่วม ชุลมุน ต่อสู้ กับ ฝ่าย ผู้ตาย และ ผู้เสียหายก็ ดี เป็น ฎีกา โต้เถียง ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง จึง ต้องห้าม ฎีกาศาลฎีกา ไม่ รับ วินิจฉัย ให้ ใน ชั้นนี้ คง มี ปัญหา ว่า เมื่อ โจทก์มิได้ อุทธรณ์ ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,83 ศาลอุทธรณ์ มี อำนาจ หยิบยก บทบัญญัติ แห่ง กฎหมาย ที่ มี โทษหนัก ขึ้น มา ปรับ แก่ คดี ได้ หรือ ไม่ เห็นว่า กรณี นี้ เป็น การวิวาท ต่อสู้ กัน ซึ่ง กระทำ ต่อเนื่อง กัน ไป และ จำเลย ร่วมกันกับ พวก ใช้ อาวุธ ฝ่ายเดียว ทำร้าย อีก ฝ่าย จน ได้ รับ บาดเจ็บ และตาย การ กระทำ ของ จำเลย กับ พวก จึง เป็น กรรมเดียว ผิด ต่อ กฎหมายหลาย บท ดัง ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย มา ที่ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่าจำเลย กระทำ ความผิด เพียง ร่วมกับ พวก ทำร้าย อีก ฝ่าย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 บท เดียว ย่อม ไม่ ถูกต้อง เมื่อ คดี มีการ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ก็ ชอบ ที่ จะ หยิบยก บท มาตรา ที่ ถูกต้อง ขึ้นปรับ คดี ได้ หาก มิใช่ เป็น การ เพิ่มโทษ จำเลย ให้ หนัก ขึ้น แต่ ที่ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า จำเลย ร่วมกัน กับ พวก กระทำ ความผิด ฐาน ฆ่าคน ตาย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 อีก บท หนึ่ง นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า เมื่อ มี การ ตาย และ บาดเจ็บ เกิดขึ้น ใน ขณะ วิวาท ต่อสู้ กันดังกล่าว แล้ว เช่นนี้ ย่อม ถือ ได้ ว่า จำเลย กับพวก มี เจตนา เพียงทำร้าย ฝ่าย ผู้ตาย จน เป็น เหตุ ให้ ผู้อื่น ถึง แก่ ความตาย อัน เป็นความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 ประกอบ ด้วย มาตรา 83 อีกบท หนึ่ง เท่านั้น และ ต้อง ลงโทษ จำเลย ตาม บทนี้ ที่ มี โทษ หนักที่สุด แต่ เมื่อ โจทก์ มิได้ อุทธรณ์ ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย หนัก ขึ้นจำเลย จึง ควร ต้อง รับโทษ เพียง ไม่ เกินกว่า อัตรา โทษ ที่ กำหนดไว้ ใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ดัง ที่ ศาลชั้นต้น กำหนดฯลฯ
พิพากษา แก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา290, 295, 83 ให้ ลงโทษ ตาม มาตรา 290 ซึ่ง เป็น บท หนัก ประกอบ ด้วยมาตรา 74 (3) ให้ มอบ ตัว จำเลย แก่ บิดา มารดา ไป ดูแล โดย วางข้อ กำหนดฯลฯ.