โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ผลิต สินค้า ต่างๆ รวมทั้ง เส้นใย ประดิษฐ์เจ้าพนักงาน ประเมิน ของ จำเลย ได้ เรียกร้อง ให้ โจทก์ ชำระ ภาษีการค้า ภาษี บำรุง เทศบาล โดย อ้าง ว่า โจทก์ ผลิต เส้นใย ประดิษฐ์ เป็นสินค้า ตาม พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 บัญชี 2 หมวด 2(9)สินค้า ด้าย ทุกชนิด สำหรับ ใช้ ทอผ้า ไม่ ว่า ผลิต จาก ฝ้าย หรือเส้นใย อื่น ใด โจทก์ เห็น ว่า โจทก์ ไม่ ต้อง เสีย ภาษี การค้า ภาษีบำรุง เทศบาล เพราะ เส้นใย สังเคราะห์ ไม่ มี สภาพ เป็น เส้นด้าย สำหรับใช้ ทอผ้า ผู้ซื้อ ต้อง นำ ไป เข้า โรงงาน บิด ตีเกลียว และ ยืด เส้นใยเสียก่อน จึง จะ ขาย ให้ โรงงาน ทอผ้า เพื่อ ใช้ ใน การ ทอ ผู้ซื้อ ไม่อาจ นำ เส้นใย ที่ โจทก์ ผลิต ไป ใช้ ทอผ้า ได้ ทันที เส้นใย ดังกล่าวไม่ มี สภาพ เป็น เส้นด้าย สำหรับ ใช้ ทอผ้า ตาม พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 54) บัญชี 2 หมวด 2(9) แต่ เป็น สินค้า ตาม ประเภท การค้า 1 ชนิด 1(ก)ของ บัญชี อัตรา ภาษี การค้า แห่ง ประมวลรัษฎากร ซึ่ง ผลิต ในราชอาณาจักร และ มิได้ ระบุ ไว้ ใน บัญชี ท้าย แห่ง พระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่ 54) มาตรา 5(8) โจทก์ ได้ ชำระ ภาษี ให้ แก่ จำเลย ไป แล้วได้ มี หนังสือ ทวง เงิน ภาษี คืน แต่ จำเลย ไม่ คืน จึง ขอ คิดดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี ขอ ให้ จำเลย คืน เงิน ภาษี จำนวน1,170,427.35 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ เป็น ผู้ ประกอบ การค้า ประเภท 1 การ ขาย ของชนิด 1(ก) ผลิต ผ้า และ ด้าย โจทก์ ได้ ผลิต เส้นใย ประดิษฐ์ สำหรับทอผ้า อัน เป็น สินค้า ตาม บัญชี 2 หมวด 2(9) ท้าย พระราชกฤษฎีกาฯ(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 มี หน้าที่ ต้อง เสีย ภาษี การค้า อัน เป็น ภาษีอากร ประเมิน ร้อยละ 3 ของ รายรับ ที่ ขาย สินค้า ที่ ผลิต ได้ โจทก์ไม่ มี สิทธิ ได้ รับ ดอกเบี้ย ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ใช้ เงิน 478,344.36 บาทกับ ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี นับแต่ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2523จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า สินค้า เส้นใย ประดิษฐ์ พี.โอ.วาย ของโจทก์ ใช้ ทอผ้า ไม่ ได้ เพราะ ขาด คุณสมบัติ หลาย ประการ ทำ ให้ ผ้าที่ ทอ ไม่ มี คน ซื้อ โจทก์ ผลิต ขึ้น เพื่อ ขาย ให้ ผู้ซื้อ นำ ไปยืด ดึง และ ย้อมสี เป็น เส้นใย ประดิษฐ์ ที่ สมบูรณ์ จึง จะ นำ ไป ใช้เป็น ด้าย สำหรับ ทอผ้า เพื่อ การค้า ต่อไป
วินิจฉัย ปัญหา ข้อกฎหมาย ว่า พิเคราะห์ แล้ว คำ ว่า 'ด้าย พจนานุกรมให้ คำแปล ว่า สิ่ง ที่ ทำ ด้วย ฝ้าย เป็น เส้น สำหรับ เย็บผ้า และถักทอ เป็นต้น และ คำ ว่า 'ด้าย นอกจาก ระบุ ใน บัญชี ที่ 2 หมวด 2(9)ท้าย พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 54) แล้ว ปรากฏ ว่า ใน บัญชี ที่ 1 หมวด2(7) ระบุ ว่า ด้ายกลุ่ม ด้ายหลอด ด้ายเย็บผ้า ด้าย อย่างอื่น ทุกชนิดไม่ ว่า ผลิต จาก ฝ้าย หรือ เส้นใย อื่นใด ที่ มิได้ ระบุ ใน บัญชี ที่2 หรือ บัญชี ที่ 3 และ ใน บัญชี ที่ 3 หมวด 1(3) ระบุ ว่า ด้าย ทุกชนิด สำหรับ ใช้ ผลิต เครื่องใช้ ใน การ ประมง ไม่ ว่า ผลิต จาก ฝ้าย หรือเส้นใย อื่นใด และ (5) ระบุ ว่า ด้ายเย็บผ้า ที่ ผลิต ใน ราชอาณาจักรส่วน คำ ว่า ด้าย ใน บัญชี ที่ 2 หมวด 2(9) ระบุ ว่า 'ด้าย ทุกชนิดสำหรับ ใช้ ทอผ้า ไม่ ว่า ผลิต จาก ฝ้าย หรือ เส้นใย อื่น ใด' ศาลฎีกาเห็น ว่า เมื่อ ตาม ประมวลรัษฎากร ได้ ระบุ การ เก็บ ภาษี การค้า สำหรับด้าย ไว้ หลาย ขั้นตอน การ ตีความ จริง จำกัด เฉพาะ ความหมาย ของ คำ ว่า 'ด้าย ทุกชนิด สำหรับ ใช้ ทอผ้า' ที่ โต้แย้ง กัน เท่านั้น และ เห็นว่า สิ่งใด ก็ ตาม ที่ มี ลักษณะ เป็น ด้าย โดย ไม่ ว่า ผลิต จาก อะไรใช้ ทอผ้า ได้ โดย ผ้า ที่ ทอ นั้น เป็น สินค้า นำ ออก ขาย เกิด รายรับเพื่อ เสีย ภาษี ตาม อัตรา ใน บัญชี อัตรา ภาษี การค้า ได้ แล้ว ย่อมเป็น ด้าย ตาม ความหมาย ใน บัญชี ที่ 2 หมวด 2(9) ดังนั้น เมื่อ สินค้าเส้นใย ประดิษฐ์ พี.โอ.วาย โดย ปกติ ใน ทาง การค้า ไม่ มี การ นำ ไปใช้ ทอผ้า และ แม้ อาจ นำ ไป ทอ เป็น ผ้า ใน ห้อง ทดลอง ผ้า ที่ ทอ นั้นก็ ขาด คุณสมบัติ จำหน่าย ใน ท้องตลาด ไม่ ได้ สินค้า เส้นใย ประดิษฐ์ พี.โอ.วาย ของ โจทก์ จึง ไม่ ใช่ ด้าย ทุกชนิด สำหรับ ใช้ ทอผ้า ไม่ว่าผลิต จาก ฝ้าย หรือ เส้นใย อื่นใด ตาม ความหมาย ที่ ระบุ ใน บัญชี ที่2 หมวด 2 เครื่องใช้ หรือ ของใช้ (9) ท้าย พระราชกฤษฎีกา ออก ตาม ความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การ ลด อัตรา และ ยกเว้น ภาษี การค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 โจทก์ ได้ รับ ยกเว้น ภาษี การค้า สำหรับ การ ขาย สินค้าดังกล่าว ตาม มาตรา 5(8)
สำหรับ ปัญหา ว่า จำเลย มี หน้าที่ เสีย ดอกเบี้ย ใน จำนวนเงิน ที่ต้อง คืน ให้ แก่ โจทก์ หรือไม่ เห็น ว่า เมื่อ โจทก์ มี หน้าที่ เสียภาษี การค้า และ ภาษี สุขาภิบาล ตาม กฎหมาย แต่ จำเลย ได้ รับ ชำระค่า ภาษี จาก โจทก์ ไว้ โดย จำเลย ไม่ มี สิทธิ จะ เรียก เก็บ จำเลยจึง มี หน้าที่ คืน เงิน ภาษี นั้น ให้ แก่ โจทก์ จำเลย มี หนังสือ ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2523 ยืนยัน ว่า โจทก์ ต้อง เสีย ภาษี การค้า และปฏิเสธ ไม่ คืน เงิน ภาษี ที่ เรียก เก็บ ไป ให้ แก่ โจทก์ จำเลย ตกเป็น ฝ่าย ผิดนัด ต้อง เสีย ดอกเบี้ย ใน ระหว่าง ผิดนัด ร้อยละเจ็ดครึ่ง ต่อปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ที่ จำเลยฎีกา ว่า โจทก์ ไม่ ใช้ แบบพิมพ์ คำร้อง ขอ คืน เงิน ภาษี อากร ตาม แบบที่ ทางราชการ กำหนด เห็นว่า หา มี กฎหมาย บังคับ ว่า ต้อง ใช้ แบบพิมพ์ดังกล่าว จึง จะ ใช้ สิทธิ ขอ คืน เงิน ภาษี ได้ ไม่ ส่วน ที่ ว่า โจทก์ไม่ ไป ยื่น ขอ คืน เงิน ภาษี ณ ที่ว่าการ อำเภอ กระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร อัน เป็น สถานที่ ที่ โจทก์ ได้ ชำระ ภาษี อากร ไว้ ก็ เห็นว่า การ ขอ คืน เงิน ภาษี ผิด สถานที่ เป็น ผล ให้ ล่าช้า เสียหาย แก่โจทก์ เอง และ ต่อมา จำเลย ได้ ตอบ ปฏิเสธ ไม่ ยอม คืน เงิน ภาษี นั้นแล้ว
สรุป แล้ว ศาลฎีกา เห็น ว่า จำเลย มี หน้าที่ ต้อง คืน เงินภาษี ที่เรียกเก็บ ไป โดย ไม่ ชอบ ให้ แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ชอบ แล้ว ฎีกา จำเลย ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษา ยืน ให้ จำเลย ใช้ ค่าทนายความ ชั้น ฎีกา 4,000 บาท แทน โจทก์.