โจทฟ้องว่าเมื่อระหว่างเวลาตั้งแต่พระอาทิจตกวันที่ ๒ ธ.ค. ๒๔๘๔ ถึงเวลาพระอาทิจขึ้นวันที่ ๓ ธ.ค. ๒๔๘๔ ซึ่งเปนเวลากลางคืนตามกดหมาย จำเลยกับพวกได้บังอาดสมคบกันลักข้าวของนายออง ขอไห้ลงโทส
นายไสวจำเลยที่ ๑ ไห้การรับสารภาพนอกนั้นไห้การปติเสธ
สาลชั้นต้นและสาลอุธรน์พิจารนาได้ความว่า โจทฟ้องหาว่าจำเลยลักเมื่อเวลาระหว่างพระอาทิจตกวันที่ ๒ ธ.ค. ๒๔๘๔ ถึงเวลาพระอาทิจขึ้นวันที่ ๓ ธ.ค. ซึ่งหมายความว่าเหตุเกิดไนเวลากลางคืนของวันที่ ๒ รุ่งขึ้นเปนวันที่ ๓ แต่ตามคำพยานโจทได้ความว่า เหตุเกิดไนเวลากลางคืนของวันที่ ๓ รุ่งขึ้นเปนวันที่ ๔ ซึ่งเปนคนละวันเวลากัน จึงพิพากสายกฟ้องโจท
โจทดีกาฉเพาะจำเลยที่ไห้การรับสารภาพเปนทำนองว่า เมื่อจำเลยไห้การรับสารภาพก็ลงโทสได้ตามประมวนวิธีพิจารนาอาญา ม.๑๗๖ สาลดีกาเห็นว่าข้อเท็ดจิงฟังได้ความว่าโจทฟ้องผิดวันแม้นายไสวจำเลยจะได้ไห้การรับสารภาพก็ดี แต่เมื่อทางพิจารนาปรากตว่า ไนวันที่โจทกล่าวหานั้นมิได้มีการกะทำผิดเกิดขึ้นก็ต้องเรียกว่าข้อเท็ดจิงตามที่ปรากตไนทางพิจานาต่างกับฟ้องตามประมวนวิธีพิจารนาอาญามาตรา ๑๙๒ (๒) บัญญัติไห้ยกฟ้อง ส่วนมาตรา ๑๗๖ ที่โจทอ้างมานั้น เปนเรื่องที่จะฟังคำรับสารภาพไนคดีชนิดไดเพียงได จะยกมาไช้ไนคดีนี้ไม่ได้เพราะนัยต่างกัน จึงพิพากสายืน