คดีนี้ได้ความจากพะยานโจทก์ว่าจำเลยได้ประพันแลตีพิมพ์หนังสือชื่อเหมาะสมัยขึ้นแจกจ่ายโฆษนาแก่ประชาชน ซึ่งมีความตอนหนึ่งกล่าวพาดพิงถึงสมเด็จพระสังฆราชเป็นใจความว่า "จัดให้สั่งศึกพระอาจารย์อาจก่อกรรมแก่พวกสามเณรี ไม่ยอมรับสามเณรณรงค์ไว้ในอากาศไม่ยอมรับที่ดินเป็นที่ธรณีสงฆ์แลว่าทรงประพฤติผิดหลักธรรมผู้ใหญ่มีพระทัยริษยาอาธรรมถืออำนาจเป็นธรรมไม่ทรงละอายแก่บาป" แลในชั้นพิจารณาจำเลยมิได้นำพะยานมาสืบ แม้แต่ตัวจำเลยเองก็ไม่เบิกความเป็นพะยาน
ศาลเดิมตัดสินว่าจำเลยมีผิดตาม ม. ๒๘๒ ตอนท้ายให้จำคุกจำเลย ๓ เดือน
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยมีผิดตาม ม. ๑๑๖ ด้วย แลนอกนี้คงยืนตาม
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีนี้คู่ความฎีกาได้แต่ในข้อกฎหมายแลข้อความที่จำเลยกล่าวหมิ่นประมาทสมเด็จพระสังฆราชนั้นมีลักษณเป็นการใส่ความเมื่อจำเลยเอาข้อความเหล่านี้ไปโฆษนาในหนังสือเหมาะสมัย ก็ต้องมีผิดตาม ม. ๒๘๒ ตานท้ายแลเห็นต่อไปว่าคดีนี้แม้จำเลยจะมีผิดตาม ม. ๑๑๖ ด้วยก็ดี ก็อยู่ในเกณฑ์ทำผิดกฎหมายหลายบทในวาระเดียวกัน ซึ่งตาม ม. ๗๐ ให้ใช้บทที่หนักเป็นบทลงโทษ คือ ม. ๒๘๒ เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยจะมีผิดตาม ม. ๑๑๖ หรือไม่ ส่วนข้อที่จำเลยคัดค้านว่าควรมีผิดตาม พ.ร.บ.ปกครองคณะสงฆ์ ม. ๑๗ ข้อ ๖ นั้น เห็นว่ากฎหมายบทนี้เป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยฉะเพาะซึ่งให้อำนาจเจ้าอาวาศเป็นพิเศษในหมู่คณะ แต่ไม่ลบล้างกฎหมายอาชญาซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับมหาชนได้ จึงตัดสินยืนตาม