โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบังอาจตัดไม้เต็งรังอันเป็นไม้ประเภทหวงห้ามโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ขอให้ลงโทษ
จำเลยให้การว่าตัดไม้นั้นในที่นาของจำเลยโดยไม่ได้รับอนุญาตจริง
โจทก์สืบพะยาน ๑ ปากได้ความว่าที่รายนี้เป็นที่ป่า โจทก์จะขอสืบพะยานต่อไปก็เช่นเดียวกับศาลชั้นต้นจึงให้งดเสีย แล้ววินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์มิได้กล่าวว่าตัดไม้จากป่าโจทก์จะสืบว่าตัดไม้ประเภทหวงห้ามในป่าเป็นการนำสืบต่างจากฟ้อง จึงพิพากษายกฟ้องตามประมวลวิธีพิจารณาอาญามาตรา ๑๙๒ วรรค ๒
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
ศาลฎีกาเห็นว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถูกต้องแล้ว เพราะคำว่า "ในป่า" ซึ่งโจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องเป็นองค์สาระสำคัญแห่งความผิด หากว่าการตัดไม้หวงห้ามไม่ได้เกิดขึ้นในป่าก็ไม่มีความผิด โจทก์ไม่อ้างในฟ้องว่าจำเลยตัดไม้ในป่านั้นไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ประมวลวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๑๕๘ ข้อ ๕ ซึ่งบัญญัติว่าต้องมีการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้ทำผิด จึงพิพากษายืน