กรณี สืบ เนื่อง มา จาก ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ตั้ง ผู้คัดค้าน เป็นผู้จัดการ มรดก ของ ร้อยตรี วิบูลย์ เมื่อ วันที่ 15 มิถุนายน 2525ต่อมา ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ผู้ร้อง เป็น ภริยา และ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ ร้อยตรี วิบูลย์ ตาม คำสั่ง ของ ศาลแพ่ง ใน คดี หมายเลขแดง ที่ 4755/2522 ซึ่ง สั่ง เมื่อ วันที่ 18 พฤษภาคม 2522 ผู้ร้อง และเจ้ามรดก มี บุตร ด้วยกัน 4 คน มี สินสมรส คือ ที่ดิน โฉนด เลขที่3457 พร้อม ตึกแถว 25 คูหา และ ทรัพย์สิน อื่น อีก หลาย รายการ ผู้คัดค้าน ยื่น คำร้อง ขอ เป็น ผู้จัดการ มรดก โดย อ้าง ว่า เป็น พี่เจ้ามรดก และ มี ส่วน ได้ รับ มรดก ตาม พินัยกรรม ลง วันที่ 22 พฤษภาคม2519 หลังจาก ศาล ตั้ง ผู้คัดค้าน เป็น ผู้จัดการ มรดก แล้ว ผู้ร้องพบ พินัยกรรม ฉบับ ลง วันที่ 28 กันยายน 2520 ระบุ ให้ เพิกถอนพินัยกรรม ฉบับแรก และ ถวาย ทรัพย์สิน ตาม พินัยกรรม ทั้งหมด แด่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ตาม พินัยกรรม ฉบับหลัง ผู้ คัดค้าน ไม่ มีส่วน ได้ เสีย ใน กองมรดก รายนี้ ขอ ให้ สั่ง ถอน ผู้ คัดค้าน จาก การเป็น ผู้จัดการ มรดก ตาม คำสั่ง ศาลชั้นต้น ใน คดี นี้
ผู้ คัดค้าน ยื่น คำ คัดค้าน ว่า ตาม พินัยกรรม ฉบับหลัง เจ้ามรดก ยกทรัพย์สิน ให้ แก่ บุคคล อื่น ผู้ร้อง จึง ไม่ มี ส่วน ได้ เสีย ใน ผลแห่ง พินัยกรรม พินัยกรรม ฉบับหลัง จึง ไม่ ได้ โต้แย้ง สิทธิ ของผู้ร้อง ผู้ร้อง ไม่ มี สิทธิ ที่ จะ ใช้ สิทธิ ทาง ศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 จึง ไมี มี สิทธิ ขอ ให้ ถอนผู้ คัดค้าน จาก การ เป็น ผู้จัดการ มรดก พินัยกรรม ฉบับหลัง เป็น โมฆะ
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ ถอน ผู้ คัดค้าน จาก การ เป็น ผู้จัดการ มรดก
ผู้ คัดค้าน อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
ผู้ คัดค้าน ฎีกา
ศาลฎีกา ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า เจ้ามรดก ได้ ทำ พินัยกรรม ถวาย สินส่วนตัว ของ ตน ทั้งหมด ซึ่ง รวมถึง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 3457 กับ ตึกแถวและ ทรัพย์สิน อื่น อีก หลาย รายการ แด่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวและ วินิจฉัย ว่า ผู้ร้อง เป็น ภริยา โดย ชอบ ด้วย กฎหมาย ของ เจ้ามรดก แม้ เจ้ามรดก จะ ทำ พินัยกรรม ยก ทรัพย์สิน ส่วนตัว ทั้งหมด ให้ผู้อื่น แต่ ผู้ร้อง มี สิทธิ ใน สินสมรส กึ่งหนึ่ง ซึ่ง เจ้ามรดก จะทำ พินัยกรรม ยก ให้ แก่ ผู้ใด ไม่ ได้ แม้ คดี จะ ไม่ มี ประเด็น จะต้อง วินิจฉัย ว่า ทรัพย์สิน ตาม พินัยกรรม จะ มี สินสมรส เป็น ส่วน ของผู้ร้อง รวม อยู่ ด้วย หรือไม่ ก็ ถือ ได้ ว่า ผู้ร้อง มี ส่วน ได้ เสียที่ จะ ขอ ให้ ศาล สั่ง ถอน ผู้จัดการ มรดก ได้ ดังนั้น ผู้ร้อง จึง มีอำนาจ ร้อง ขอ ถอน ผู้คัดค้าน จาก การ เป็น ผู้จัดการ มรดก ของ ร้อยตรีวิบูลย์ ได้ ผู้คัดค้าน ได้ ยื่น คำร้องขอ ต่อ ศาล ให้ ตั้ง ตน เป็นผู้จัดการ มรดก ก็ โดย อาศัย ข้ออ้าง ว่า มี ส่วน ได้ รับ มรดก ตามพินัยกรรม เอกสาร หมาย ร.ค.3 เมื่อ เจ้ามรดก ทำ พินัยกรรม เอกสาร หมายร.ค.4 เพิกถอน พินัยกรรม เอกสาร หมาย ร.ค.3 ทั้งฉบับ และ ตาม พินัยกรรมเอกสาร หมาย ร.ค.4 ผู้ คัดค้าน ไม่ ได้ รับ ทรัพย์ มรดก เลย ทั้ง ภริยาโดย ชอบ ด้วย กฎหมาย ที่ มี บุตร กับ เจ้ามรดก ก็ ได้ เป็น ผู้จัดการมรดก รายนี้ อยู่ แล้ว กรณี ถือ ได้ ว่า มี เหตุ สมควร ที่ จะ ถอนผู้จัดการ มรดก ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727
พิพากษา ยืน.