โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง แปด ได้ ร่วมกัน นำ ข้อความที่ รู้ ว่า เป็น ความเท็จ และ หมิ่นประมาท ใส่ความ โจทก์ ทั้ง สอง ไป ลง พิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ รายวัน และ ราย สัปดาห์ เป็น ไป ใน ทำนอง ไข ข่าว แพร่หลายทำให้ โจทก์ ทั้ง สอง ได้รับ ความเสียหาย ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง แปดร่วมกัน ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน แก่ โจทก์ ทั้ง สอง 25,000,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ให้การ ว่า ข้อความ ใน หนังสือพิมพ์ ตงฮั้วยิดเป้า มี ใจความ ตาม คำฟ้อง ของ จำเลย ที่ 1 ที่ ยื่น ต่อ ศาล จึง เป็น การ เสนอ ข่าว ตาม ธรรมดา ของ หนังสือพิมพ์ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3ไม่เคย ให้ ข่าว หนังสือพิมพ์ ฉบับ ใด และ ไม่ได้ ร่วม กับ จำเลย ที่ 4ถึง ที่ 8 ลงข่าว ใน หนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ลงข่าว ภายหลัง วันที่จำเลย ที่ 1 ฟ้องโจทก์ ทั้ง สอง ทั้ง คดีแพ่ง และ คดีอาญา การ ที่หนังสือพิมพ์ ทั้ง สอง ฉบับ ลง พิมพ์ ข้อความ ดังกล่าว เป็น การ เสนอ ข่าวทาง ศาล ตาม ธรรมดา ของ หนังสือพิมพ์ สำหรับ ข้อความ อื่น นอกจาก คำฟ้องเป็น ความเห็น ของ หนังสือพิมพ์ โจทก์ ทั้ง สอง บรรยายฟ้อง ไม่ ชัดแจ้งเป็น ฟ้อง ที่ ไม่ชอบ โจทก์ เสียหาย ก็ ไม่เกิน 5,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ทั้ง สอง ขอ ถอนฟ้อง จำเลย ที่ 5 ถึง ที่ 8ศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ร่วมกัน ชดใช้ เงินจำนวน 6,000,000 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ คำขอ อื่น ให้ยก
จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์ ทั้ง สอง
โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา ว่า คดี นี้ ไม่เป็นคดีแพ่ง เกี่ยวเนื่อง กับ คดีอาญา คดีแพ่ง เกี่ยวเนื่อง คดีอาญา ต้องฟ้อง รวม ใน คำฟ้อง เดียว กัน ข้อเท็จจริง คดี นี้ ไม่จำต้อง ถือ ตามคดี ส่วน อาญา โดย อ้าง เหตุผล และ คำพิพากษาฎีกา ต่าง ๆ หลาย ฎีกา เห็นว่าไม่มี บทบัญญัติ กฎหมาย ใด ๆ บังคับ ว่าการ ฟ้องคดี แพ่ง เกี่ยวเนื่อง กับคดีอาญา ต้อง รวม ฟ้อง เป็น ฉบับ เดียว กัน เหตุผล และ ฎีกา ต่าง ๆ ที่โจทก์ ทั้ง สอง กล่าว ถึง ไม่มี บท กฎหมาย สนับสนุน ให้ รับฟัง ตาม ฎีกาโจทก์ ทั้ง สอง ได้ ทั้ง ยัง เป็น คำพิพากษาฎีกาที่ มูลคดี ไม่เกี่ยว เนื่องกัน เหมือนกับ คดี นี้ ข้อ ฎีกา โจทก์ ทั้ง สอง ดังกล่าว ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน