โจทก์ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน นิติกรรม ขาย ที่ดิน ระหว่าง จำเลย ที่ 1กับ จำเลย ที่ 2 และ ให้ จำเลย ที่ 1 จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ให้ แก่โจทก์ พร้อม ทั้ง รับ เงิน จาก โจทก์ จำนวน 100,000 บาท หาก จำเลยทั้ง สอง ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ จดทะเบียน นิติกรรม ซื้อ ขายและ โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ตาม ที่ โจทก์ ฟ้อง ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 ใน ราคา420,000 บาท โดย จำเลย ที่ 2 รับโอน โดยสุจริต ต่อมา เมื่อ จำเลย ที่ 1และ โจทก์ เห็นว่า ที่ดิน มี ราคา สูง ขึ้น จึง ร่วมกัน ทำ หนังสือ สัญญาจะซื้อขาย และ เอกสาร รับ เงิน มา ฟ้อง อันเป็น การ ใช้ สิทธิ โดย ไม่สุจริตขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "โจทก์ ฎีกา ว่า การ โอน ขาย ที่ดินพิพาท ระหว่างจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 เป็น การ ฉ้อฉล โจทก์ ทำให้ โจทก์ เสียเปรียบเพราะ จำเลย ที่ 2 รู้ อยู่ แล้ว ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ ทำ สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์ ก่อน แล้ว เป็น ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง จำเลย ที่ 2กล่าว ใน คำ แก้ ฎีกา เป็น ข้อกฎหมาย ว่า คดี นี้ มี ทุนทรัพย์ หรือ ราคาทรัพย์สิน ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา ไม่เกิน 200,000 บาท จึง ต้องห้าม ฎีกาใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า ตาม คำฟ้อง โจทก์ สามารถ แยก ข้อหาและ คำขอบังคับ ออก ได้ เป็น สอง ส่วน ส่วน หนึ่ง คือ จำเลย ที่ 2 ซื้อและ รับโอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท จาก จำเลย ที่ 1 โดย รู้ ว่า จำเลย ที่ 1ทำ สัญญาจะขาย ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์ อยู่ ก่อน แล้ว ทำให้ โจทก์เสียเปรียบ ขอให้ เพิกถอน นิติกรรม ขาย ที่ดินพิพาท ระหว่าง จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ซึ่ง คำขอ ใน ส่วน นี้ เป็น คดี ไม่มี ทุนทรัพย์ ไม่ต้องห้าม ฎีกาใน ข้อเท็จจริง อีก ส่วน หนึ่ง คือ จำเลย ที่ 1 ทำ สัญญาจะขาย ที่ดินพิพาทให้ แก่ โจทก์ และ รับ ชำระ ราคา บางส่วน ไป แล้ว ขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 1จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์ พร้อม ทั้ง รับ ค่า ที่ดินส่วน ที่ เหลือ ซึ่ง คำขอ ใน ส่วน นี้ เป็น คดีมีทุนทรัพย์ แต่ การ ที่ จะวินิจฉัย คำขอ ใน ส่วน นี้ ต้อง วินิจฉัย คำขอ ใน ส่วน แรก เพื่อ ให้ ได้ความ ว่ามีเหตุ ให้ ต้อง เพิกถอน นิติกรรม ขาย ที่ดินพิพาท ระหว่าง จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 หรือไม่ ก่อน และ ใน กรณี ที่ เป็น คดี ที่ มี ทุนทรัพย์ และ ไม่มีทุนทรัพย์ รวม อยู่ ใน คดี เดียว กัน จะ ต้องห้าม ฎีกา ใน ข้อเท็จจริงหรือไม่ นั้น ย่อม จะ ต้อง พิจารณา ว่าคดี นั้น มี คำขอ ใด เป็น หลัก คำขอ ใดเป็น คำขอ ที่ ต่อเนื่อง คดี นี้ โจทก์ มี คำขอ ให้ เพิกถอน นิติกรรม ขาย ที่ดินพิพาท ระหว่าง จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 เมื่อ เพิกถอน แล้ว จึง ให้ จำเลย ที่ 1โอน ขาย ให้ โจทก์ พร้อม รับ ชำระ ราคา ส่วน ที่ เหลือ จึง ถือว่า คำขอ ให้เพิกถอน นิติกรรม ขาย ที่ดินพิพาท เป็น คำขอ หลัก คำขอ ให้ จำเลย ที่ 1ปฏิบัติ ตาม สัญญาจะซื้อขาย เป็น คำขอ ต่อเนื่อง จึง ไม่ต้องห้าม ฎีกาใน ข้อเท็จจริง ดัง ที่ จำเลย ที่ 2 แก้ ฎีกา "
พิพากษายืน