โจทก์ฟ้องว่าจำเลยพิมพ์สำเนาหนังสือจำลองหนังสือแบบเรียนต่าง ๆอันเป็นวรรณกรรมของนายจำลอง,นายน้อยโจทก์กับของนายสุภาพซึ่งได้ทำสัญญาขายลิขสิทธิให้โจทก์ และของขุนประสงค์จรรยาซึ่งได้ทำสัญญามอบให้โจทก์เป็นผู้พิมพ์จำหน่ายในการพิมพ์นี้จำเลยไม่ได้พิมพ์ชื่อผู้พิมพ์โฆษณา ชื่อโรงพิมพ์และหลักแหล่งของโรงพิมพ์ตามความจริง เมื่อพิมพ์แล้วจำเลยได้ประทับตราปลอมชื่อของนายจำลองโจทก์และของขุนประสงค์จรรยาโดยลักษณที่สามารถอาจจะเกิดเสียหายแก่โจทย์และขุนประสงค์จรรยากับสารธารชน ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ และไม่มีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับหนังสือของขุนประสงค์จรรยาและการใช้ชื่อนายเล่งแซ่ แซ่เตียว เพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหาย จำเลยผิดในการละเมิดลิขสิทธิของโจทก์ ใช้ตราชื่อปลอมของโจทก์ที่ ๒ และใช้ชื่อบุคคลและโรงพิมพ์ลงในสิ่งสินค้าโดยไม่มีอำนาจ พิพากษาลงโทษตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมาตรา ๒๕ และกฏหมายลักษณอาญามาตรา ๒๓๓,๒๓๕.
ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้จำเลยสืบพะยานเพิ่มเติมชั้นอุทธรณื และพิพากษายืน.
โจทย์จำเลยฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่าเรื่องอำนาจฟ้องตามพระราชบัญญัติมาตรา ๑๔,๓๕ เป็นเรื่องควบคุมสิ่งพิมพ์ในทางเกี่ยวกับระเบียบโดยฉะเพาะ ไม่เป็นความผิดอันเกี่ยวไปถึงเอกชนใดๆ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ส่วนการฟ้องแทนขุนประสงค์จรรยาและนายสุภาพกับนายเล่วแซ แซ่เตียวนั้น โจทก์ไม่ใช่เจ้าจองสิขสิทธิหรือเป็นผู้เสียหาย จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และฉะเพาะข้อที่ว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแทนนายสุภาพโดยไม่มีใครอุทธรณ์นั้น เห็นว่าจำเลยอุทธรณ์ว่าไม่ควรมีความผิดศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ได้ ฏีกาจำเลยเรื่องขอสืบพะยานเพิ่มเติมนั้น ศาลอุทธรณ์สั่งไม่อนุญาตขอบแล้วและเป็นดุลยพินิจของศาลจึงไม่ผิดกฏหมายส่วนปัญหาว่าจำเลยมีผิดฐานละเมิดลิขสิทธิแล้ว จะมีผิดฐานปลอมหนังสือด้วยหรือไม่นั้นเห็นว่าเป็นการผิดกฏหมายหลายกะทง จึงลงโทษฐานปลอมหนังสือด้วยอีกกะทงหนึ่งได้จึงพิพากษายืน.