โจทก์ ฟ้อง ขอให้ พิพากษา ให้ โจทก์ จำเลย หย่าขาด จาก การ เป็นสามี ภริยา กัน ถ้า จำเลย ไม่ไป จดทะเบียน หย่า ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของศาล แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ให้ โจทก์ เป็น ผู้ใช้ อำนาจปกครอง บุตรทั้ง สาม โดย จำเลย เป็น ผู้ ออก ค่า อุปการะ เลี้ยงดู บุตร เดือน ละ 10,000บาท จนกว่า บุตร ทั้ง สาม จะ บรรลุนิติภาวะ และ ให้ จำเลย แบ่ง สินสมรสทั้ง 3 รายการ ให้ โจทก์ ครึ่ง หนึ่ง เป็น เงิน 500,000 บาท ถ้า แบ่ง ไม่ได้ให้ ขายทอดตลาด นำ เงิน มา แบ่ง กัน คน ละ ครึ่ง
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่เคย ทิ้งร้าง โจทก์ จำเลย อุปการะเลี้ยงดู โจทก์ กับ บุตร ทั้ง สาม ตลอดมา ไม่เคย ยกย่อง หญิง อื่น เป็น ภริยาแต่ โจทก์ เอง เป็น ฝ่าย ทิ้งร้าง จำเลย ไป เนื่องจาก โกรธ จำเลย ที่ ว่ากล่าวตัด เตือน ที่ โจทก์ ทำ ตัว เสเพล ไม่ เหมาะสม จำเลย ไป ขอ คืน ดี ขอร้อง โจทก์ให้ กลับมา อยู่ กับ จำเลย หลาย ครั้ง แต่ โจทก์ ไม่ยินยอม ทรัพย์สิน ตามฟ้อง จำเลย ได้ มา โดย การ รับมรดก และ การ ให้ โดยเสน่หา จาก บิดา มารดามิใช่ สินสมรส โจทก์ ไม่มี สิทธิ ใน ทรัพย์สิน ดังกล่าว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ โจทก์ จำเลย หย่าขาด จาก กัน ให้ จำเลยเป็น ผู้ใช้ อำนาจปกครอง บุตร ผู้เยาว์ ทั้ง สาม แต่เพียง ผู้เดียว ให้ จำเลยแบ่ง สินสมรส แก่ โจทก์ ครึ่ง หนึ่ง คือ เงิน ที่ ขาย บ้าน เลขที่ 404/3 ซึ่งตั้ง อยู่ ที่ หมู่ ที่ 1 ตำบล เวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัด สุราษฎร์ธานี เป็น เงิน 125,000 บาท และ ให้ แบ่ง บ้าน เลขที่ 414หมู่ ที่ 1 ตำบล เวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัด สุราษฎร์ธานี ครึ่ง หนึ่ง หรือ ใช้ ราคา แทน เป็น เงิน 100,000 บาท แก่ โจทก์ มิฉะนั้นให้ ขายทอดตลาด นำ เงิน มา แบ่ง กัน คน ละ ครึ่ง คำขอ อื่น ให้ยก
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 แผนก คดี เยาวชน และ ครอบครัว พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดี เยาวชน และ ครอบครัว วินิจฉัย ว่า "พิเคราะห์ แล้วข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ จำเลย เป็น สามี ภริยา กัน โดย จดทะเบียนสมรสเมื่อ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2526 มี บุตร ด้วยกัน 3 คน มี ปัญหา ที่ ต้องวินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ใน ประเด็น แรก ว่า จำเลย ได้ สละ ประเด็นข้อต่อสู้ ใน เหตุ ฟ้อง หย่า ของ โจทก์ หรือไม่ โดย จำเลย อ้างว่า มิได้ สละประเด็น ข้อต่อสู้ ใน เหตุ ที่ จำเลย จงใจ ทิ้งร้าง โจทก์ แต่ เป็น ความผิดของ โจทก์ เอง โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ ฟ้อง หย่า จำเลย เห็นว่า ใน ระหว่างสืบพยานโจทก์ โจทก์ จำเลย ตกลง กัน ตาม ที่ ปรากฏ ใน รายงาน กระบวนพิจารณาฉบับ ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2536 ของ ศาลชั้นต้น ว่า โจทก์ จำเลย ตกลงยินยอม จดทะเบียน หย่า กัน ให้ จำเลย เป็น ผู้ปกครอง ดูแล บุตร ผู้เยาว์ทั้ง สาม สำหรับ ค่า อุปการะ เลี้ยงดู บุตร เดือน ละ 10,000 บาท โจทก์ไม่ติดใจ เรียกร้อง แต่ ใน ประเด็น เรื่อง สินสมรส ตกลง กัน ไม่ได้ศาล จึง ให้ ดำเนิน กระบวนพิจารณา สืบพยาน ต่อไป เฉพาะ เรื่อง ขอ แบ่งสินสมรส ส่วน ประเด็น อื่น คู่ความ แถลง ขอ สละ ซึ่ง ตาม ข้อตกลง ของ โจทก์จำเลย ดังกล่าว เป็น การ ระงับ ข้อพิพาท ที่ มี อยู่ บางส่วน ให้ เสร็จไป ด้วย การ ผ่อนผัน ให้ แก่ กัน จึง เป็น สัญญา ประนีประนอม ยอมความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 อัน ทำให้ การ เรียกร้องของ โจทก์ จำเลย ที่ มี ต่อ กัน ใน ส่วน ที่ ตกลง และ ยอม สละ กัน ไป แล้ว นั้นระงับ สิ้นไป ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 เมื่อศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ โจทก์ จำเลย หย่าขาด จาก กัน โดย ให้ จำเลย เป็นผู้ใช้ อำนาจปกครอง บุตร ผู้เยาว์ ทั้ง สาม แต่เพียง ผู้เดียว ตาม ที่ ได้ตกลง กัน ดังกล่าว จึง ชอบ ด้วย บทบัญญัติ มาตรา 138 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบ มาตรา 6 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาล เยาวชน และ ครอบครัว และ วิธีพิจารณา คดี เยาวชน และ ครอบครัวพ.ศ. 2534 และ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคสองบัญญัติ ห้าม มิให้ อุทธรณ์ คำพิพากษา เช่นว่า นี้ เว้นแต่ มี ข้อ กล่าวอ้างว่า คู่ความ ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง ฉ้อฉล มี การ กล่าวอ้าง ว่า คำพิพากษานั้น ละเมิด ต่อ บทบัญญัติ แห่งกฎหมาย อัน เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อยของ ประชาชน หรือ มี การ กล่าวอ้าง ว่า คำพิพากษา นั้น มิได้ เป็น ไป ตามข้อตกลง หรือ การ ประนีประนอม ยอมความ เท่านั้น คดี นี้ จำเลย อุทธรณ์คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น ใน ส่วน นี้ แต่เพียง ว่า จำเลย ไม่ได้ สละ ประเด็นเรื่อง อำนาจฟ้อง อันเป็น การ โต้แย้ง ข้อความ ที่ ตกลง กัน ไว้ ใน รายงานกระบวนพิจารณา ของ ศาลชั้นต้น ฉบับ ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2536 ที่ ระบุไว้ อย่าง ชัดแจ้ง และ มิได้ มี ข้อความ ใด ๆ ที่ แสดง ให้ เห็นว่า อุทธรณ์ของ จำเลย ต้องด้วย บทบัญญัติ แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 138 วรรคสอง ดังกล่าว การ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 รับ วินิจฉัยตาม ที่ จำเลย อุทธรณ์ ย่อม ไม่ชอบ จึง เป็น ข้อ ที่ ไม่ได้ ยกขึ้น ว่า กันมา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 จำเลย ไม่อาจ ฎีกา ใน ประเด็น นี้ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ให้ คง มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย เพียง ประเด็นเดียว ตาม ประเด็น ที่ 2 ว่า บ้าน เลขที่ 403/3 กับ บ้าน เลขที่ 414หมู่ ที่ 1 ตำบล เวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัด สุราษฎร์ธานี เป็น สินสมรส ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย หรือไม่ คดี จึง ฟังได้ ว่า บ้าน ทั้ง สองหลัง นี้ เป็น สินสมรส ระหว่าง โจทก์ จำเลย ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา มานั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น "
พิพากษายืน