โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ทั้ง สอง ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิด อัน เกิดจาก การ ใช้ เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ให้ ปรับจำเลย ที่ 1 เป็น เงิน 20,000 บาท จำคุก จำเลย ที่ 2 มี กำหนด 3 เดือนไม่ ปรากฎ ว่า จำเลย ที่ 2 ได้รับ โทษ จำคุก มา ก่อน จึง ให้ เปลี่ยน โทษจำคุก เป็น กักขัง แทน มี กำหนด 3 เดือน ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์ และ ขอให้ รอการลงโทษ
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้อง จำเลย ที่ 1 นอกจาก ที่ แก้ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 2 ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณา และ ลงชื่อ ในคำพิพากษา ศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ใน ปัญหาข้อกฎหมาย นั้นใน การ วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกา จะ ต้อง ฟัง ข้อเท็จจริง ตามที่ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย มา แล้ว จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222 ปัญหา ว่านาย บัญชา เป็น ผู้เสียหาย หรือไม่ เห็นว่า บ้าน พร้อม ที่ดิน ที่ จะซื้อ ขาย เป็น ทรัพย์สิน ระหว่าง สามี ภริยา ที่นาง สุมณฑา ได้ มา ระหว่าง สมรส กับ นาย บัญชา จึง เป็น สินสมรส จำเลย ที่ 2 ทำ สัญญา จะซื้อ บ้าน พร้อม ที่ดิน นั้น จาก นาง สุมณฑา โดย นาย บัญชา ลงลายมือชื่อ เป็น พยาน ใน สัญญา รู้เห็น ยินยอม ด้วย อันเป็น การกระทำ แทน ซึ่ง กัน และ กันเมื่อ จำเลย ที่ 2 ออก เช็คพิพาท ให้ แก่ นาย บัญชา เพื่อ ชำระหนี้ ค่า มัดจำ ตาม ข้อตกลง นาย บัญชา จึง เป็น ผู้ทรงเช็ค พิพาท การ ที่ จำเลย ที่ 2เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา นาง สุมณฑา มีสิทธิ ที่ จะ ริบ เงินมัดจำ ตาม หนังสือ สัญญาจะซื้อขาย เอกสาร หมาย จ. 1 เช็คพิพาท ที่ จำเลย ที่ 2 ออก ให้เพื่อ ชำระหนี้ ค่า มัดจำ บ้าน พร้อม ที่ดิน ดังกล่าว จึง เป็น การ ออก เช็คเพื่อ ชำระหนี้ ที่ มี อยู่ จริง และ บังคับ ได้ ตาม กฎหมาย นาย บัญชา เป็น ผู้ทรงเช็ค พิพาท ใน วันที่ ธนาคาร ตามเช็ค ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน อันเป็นวันเกิดเหตุ ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 นาย บัญชา จึง เป็น ผู้เสียหาย คำพิพากษา ศาลฎีกา ที่ จำเลย ที่ 2 อ้าง มา ใน ฎีกา นั้น ข้อเท็จจริง ไม่ ตรง กับ คดี นี้ ฎีกา ของจำเลย ที่ 2 ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา ว่า ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฎ ใน ทางพิจารณา แตกต่าง กับข้อเท็จจริง ดัง ที่ กล่าว ใน ฟ้อง หรือไม่ ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า ฟ้องโจทก์ ระบุ ว่า นาย บัญชา ผู้เสียหาย เป็น ผู้นำ เช็คพิพาท ไป เข้าบัญชี ผู้เสียหาย แต่ ทางพิจารณา ข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า จำเลย ที่ 2มอบ เช็คพิพาท ให้ ภริยา จำเลย ที่ 2 นำ ไป เข้าบัญชี ของ ผู้เสียหาย นั้นเห็นว่า แม้ ทางพิจารณา จะ ได้ความ ว่า ภริยา จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้นำเช็คพิพาท ไป เข้าบัญชี ของ ผู้เสียหาย ก็ เป็น เพียง การ ฝาก เช็ค ให้ นำเข้าบัญชี เพื่อ เรียกเก็บเงิน ถือว่า ภริยา จำเลย ที่ 2 เป็น ตัวแทนของ ผู้เสียหาย ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฎ ใน ทางพิจารณา แตกต่าง กับข้อเท็จจริง ดังกล่าว ใน ฟ้อง จึง มิใช่ ใน ข้อ สาระสำคัญ และ จำเลย ที่ 2มิได้ หลงต่อสู้ แต่อย่างใด ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา ข้อ สุดท้าย ว่า สมควร ลงโทษ จำเลย ที่ 2 ใน สถาน เบาและ รอการลงโทษ จำคุก ให้ หรือไม่ เห็นว่า ไม่ ปรากฎ ว่า จำเลย ที่ 2ได้รับ โทษ จำคุก มา ก่อน อีก ทั้ง ความผิด ที่ กระทำ ก็ ไม่ ร้ายแรง นักหาก ให้ โอกาส จำเลย ที่ 2 กลับ ตัว เป็น พลเมือง ดี โดย การ รอการลงโทษ จำคุกให้ อัน จะ ได้รับ ผล ดีกว่า การ ที่ จะ ลงโทษ กักขัง แทน โทษ จำคุก แต่ เพื่อให้ จำเลย ที่ 2 หลาบจำ เห็นควร ลงโทษ ปรับ อีก สถาน หนึ่ง ด้วย "
พิพากษาแก้ ว่า ให้ ลงโทษ จำคุก จำเลย ที่ 2 มี กำหนด 3 เดือนและ ปรับ 20,000 บาท โทษ จำคุก ให้ รอการลงโทษ ไว้ มี กำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ "