คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๓๑๔, ๓๑๙ (๑) (๓), ๖๓ , ๔๑, ๔๒ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาญา (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๔๗๔ มาตรา ๓, ๔
จำเลยที่ ๑ ให้การปฏิเสธ แต่รับในข้อเคยต้องโทษ
จำเลยที่ ๒ ให้การว่า ได้นำหม้อย้ำของกลางไปจริง โดยจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาสั่ง จำเลยที่ ๒ ไม่ทราบว่าเป็นหม้อน้ำที่จำเลยที่ ๑ ยักยอกมาและตัดฟ้อง ว่าผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ ขอให้ฟ้องร้องกล่าวโทษจำเลยที่ ๒ พนักงาน ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ ๒
ศาลชั้นต้นฟังว่า จำเลยทั้งสองมีผิดตาม มาตรา ๓๑๙ (๑) เป็นความผิดส่วนตัว แต่ผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยที่ ๒ อัยการไม่อำนาจฟ้องจึงพิพากษาว่า จำเลยที่ ๑ มีผิดตามมาตรา ๓๑๔, ๓๑๙ (๑) ให้จำคุก ๖ เดือน บวกกับโทษที่รอไว้ รวมจำคุก ๗ เดือน ยกฟ้องจำเลยที่ ๒
โจทก์ และจำเลยที่ ๒ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยที่ ๑ มีผิดตามมาตรา ๓๑๙ (๓) จำเลยที่ ๒ มีความผิดฐานสมรู้ แต่ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ประกอบด้วยเหตุฉกรรจ์ อันให้มีโทษสูงขึ้นตามาตรา ๓๑๙ ได้ถูกประมวลกฎหมายอาญาทับเสียแล้ว ตามมาตรา ๓๕๔ จึงลงโทษจำเลยฐานยักยอกทรัพย์ธรรมดาตามมาตรา ๓๑๔ พิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลยที่ ๑ ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๓๑๔ กำหนดโทษและบวกโทษที่รอไว้ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด จำเลยที่ ๒ มีผิดตาม ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๓๑๔ ประกอบด้วยมาตรา ๖๕ จำคุก ๔ เดือน นอกนั้นยืนตามศาลชั้นต้น
จำเลยที่ ๒ ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่จำเลยที่ ๑ เป็นเสมียนพัสดุประจำแขวงการทางจังหวัดมหาสารคาม จำเลยที่ ๒ เป็นพนักงานช่างปรับซ่อมเครื่องยนต์และอยู่ในบังคับบัญชาของจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๑ ได้รับแต่งตั้งจากนายช่างโทกำกับแขวงการทางจังหวัดมหาสารคาม ให้เป็นพนักงานพัสดุ มีหน้าที่ควบคุมดูแลพัสดุต่าง ๆรวมทั้งหม้อน้ำรถยนต์ ๓ ใบ ฯลฯ นั้น ตาม มาตรา ๓๑๙ (๓) บัญญัติเฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่อยู่ก่อนแล้ว ไม่ใช่หน้าที่เป็นเสมียนหรือคนใช้ตามอนุมาตรา (๑) เป็นบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจจากบุคคลทั่ว ๆ ไป อันตราอันเกิดกับประชาชนย่อมมีมากกว่า จึงบัญญัติให้พนักงานดำเนินคดีโดยไม่ต้องให้ผู้เสียหายมาร้องทุกข์ ทั้งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๔ กำหนดโทษไว้สูงกว่าการยักยอกธรรมดา ความผิดของจำเลยต้องด้วยมาตรา ๓๑๙ (๑) พนักงานอัยการไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ ๒
พิพากษาแก้ ให้ยกฟ้องเฉพาะจำเลยที ่๒ ปล่อยตัวพ้นข้อหาไป