ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูของมารดา และข้อยกเว้นการรับผิดของบิดาเมื่อบุตรมีทรัพย์สิน
มารดาของผู้เยาว์ ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์จากบิดาของผู้เยาว์ได้ ไม่เป็นอุทลุมเพราะฟ้องในฐานะส่วนตัวของตยเอง ไม่มช่ฟ้องในนามของเด็กหรือในฐานะเป็นผู้แทนเด็ก
ภริยาฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรจากสามี ซึ่งหย่ากันแล้วนั้น สามีจะอ้างอายุความตามมาตรา 165(12)มาตัดฟ้องไม่ได้ เพราะเป็นกรณีที่บุตรอยู่กับมารดาในฐานะเป็นมารดาและเป็นใช้อำนาจปกครอง กรณีไม่ต้องตามมาตรา 165(12) และมาตรา 166
ตามมาตรา 1594 ป.ม.แพ่งฯ ระบุว่าบุคคลผู้มีสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดู ต้องเป็นผู้ไร้ทรัพย์สิน และมิสามารถเลี้ยงตนเองได้ และแม้ในเรื่องบิดามารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาบุตร ดังที่ระบุไว้ในมาตรา 1536 ในการรับผิดออกค่าอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษา ก็ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติว่าด้วยค่าอุปการะเลี้ยงดูตามมาตรา 1594 ด้วย ฉะนั้นถ้าบุตรมีทรัพย์สินซึ่งมีราคามาก อาจหารายได้เป็นาจำนวนท่วมล้นค่าเลี้ยงดูและค่าศึกษาแล้ว บิดาก็ไม่ต้องรับผิดในค่าอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาของบุตรนั้น