โจทก์ฟ้องมีใจความว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทไว้จากนายอ่องโดยทำซื้อขายกันเองแล้ว โจทก์เข้าครอบครองที่พิพากษาตลอดมา ภายหลังนายอ่องได้เอาที่พิพาทไปขายแก่จำเลยอีก จำเลยซื้อไว้โดยไม่สุจริต จึงขอให้ศาลพิพากษาเป็นของโจทก์ ให้จำเลยโอนโฉนดให้โจทก์ ฯลฯ
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ได้ซื้อที่พิพาทจากนายอ่อง แต่โจทก์อยู๋ในที่พิพาทโดยอาศัยนางกรุดต่อมาที่ดินตกได้แก่นายอ่องๆ ขายให้แก่จำเลย จึงฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ ให้โจทก์ออกจากที่ดินพิพากตามฟ้องแย้ง
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ฎีกา
ศาลฎีการเชื่อข้อเท็จจริงตามคำพยานโจทก์ว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทไว้จากนายอ่องก่อน จำเลยทราบดีแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลย จึงพิพากษากลับ ให้ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ฯลฯ
ส่วนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา ซึ่งสำหรับทุนทรัพย์สอบสำนวน เป็นค่าขึ้นศาล ๗๕๐ บาท ซึ่งหมายความว่าทุนทรัพย์ ๓๐๐๐๐ บาท ที่พิพาททั้งสองฝ่ายตีราคา ๑๕๐๐๐ บาท ต้องกัน โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ ๑๕๐๐๐ บาท เป็นการถูกต้อง แต่เมื่อจำเลยฟ้องแย้งให้ขับไล่โจทก์โฉนดที่รายนี้มีขื่อจำเลยอยู่แล้ว ตามปรกติ จำเลยฟ้องขับไล่ จะเสียค่าขึ้นศาล ๑๕ บาท แต่ถ้าฝ่ายถูกฟ้องเถียงกรรมสิทธิ ผู้ฟ้องก็จะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินพิพาท แต่คดีนี้มีลักษณะผิดกว่าธรรมดา เพราะประเด็นที่ว่าที่พิพาทเป็นของใคร เกิดขึ้นโดยคำฟ้องเดิมของโจทก์ และข้อต่อสู่ของจำเลย อันโจทก์ได้เสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ ซึ่งเป็นราคาที่ดินไว้ อย่างไรศาลก็ต้องวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิที่พิพาทรายนี่อยู่แล้ว จำเลยผู้ฟ้องแย้งหาควรจะต้องเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ราคาที่ดินนี้อีกครั้งหนึ่งไม่ อันจะเป็นการเรียกค่าขึ้นศาลสองซ้ำในปัญหาเดียวกัน ซึ่งถ้าหากพิพากษาให้เป็นไปตามฟ้องของโจทก์ ฟ้องแย้งของจำเลยก็จะตกไปในตัว ค่าฟ้องของจำเลยจึงควรเสียค่าขึ้นศาลเพียง ๑๕ บาทเท่านั้น จึงให้คืนค่าขั้นศาลชั้นฎีกาที่เรียกเกินไว้ให้แก่โจทก์ไป