โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันปลอมเช็ค โดยนำเอาแบบพิมพ์เช็คซึ่งธนาคารสาขาจัดทำไว้และจ่ายให้ลูกค้าไปเพื่อใช้สั่งจ่ายเงินตามบัญชี มาเขียนกรอกข้อความปลอมลายมือลูกค้าแล้วสั่งจ่ายเงิน ต่อมาจำเลยร่วมกันนำเช็คปลอมดังกล่าวไปขอรับเงินจากพนักงานของธนาคาร ฯลฯ บ. รับมอบอำนาจจากกรรมการผู้จัดการธนาคารไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว ขอให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๔, ๒๖๖, ๒๖๘, ๓๔๑, ๘๓ ฯลฯ
ธนาคาร เป็นโจทก์ร่วม
จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๘, ๒๖๖, ๓๔๑ ลงโทษตามมาตรา ๒๖๘ ซึ่งเป็นบทหนัก จำคุกคนละ ๑ ปี ฯลฯ
จำเลยทั้งสามอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยทั้งสามฎีกา
่ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่า พนักงานของธนาคารซึ่งเป็นผู้แทนของธนาคาร จ่ายเงินจากบัญชีของนายเต็กเผ่าไปโดยนายเต็กเผ่าไม่ได้สั่ง ธนาคารตัวการต้องรับผิดเกี่ยวกับเงินจำนวนที่พนักงานของคนจ่ายจากบัญชีนายเต็กเผ่า การที่จำเลย ทั้งสามร่วมกันนำเช็คซึ่งปลอมลายมือชื่อที่กรอกข้อความในเช็คและลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่ใช่ของนายเต็กเผ่าและพนักงานธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด หลงเชื่อว่าเป็นลายมือของนายเต็กเผ่า จึงจ่ายเงินจากบัญชีของนายเต็กเผ่าไปนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสามได้ชื่อว่ากระทำให้ธนาคารเสียหาย ธนาคารจึงเป็นผู้เสียหายในคดีนี้
เหตุเกิดระหว่างหม่อมเจ้าอาชวดิศเป็นผู้จัดการของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด สำนักงานใหญ่ มอบอำนาจให้ ไปร้องทุกข์ในฐานะส่วนตัวหม่อมเจ้าอาชวดิศไม่ เมื่อ่นายบัญญัติไปร้องทุกข์ไว้ แล้ว ถือได้ว่าธนาคารได้ร้องทุกข์ไว้แล้ว โดยหม่อมเจ้าอาชวดิศ ผู้จัดการธนาคาร พึงเห็นได้ว่า ผู้มอบอำนาจกล่าวคือตัวการที่แท้จริงไปคดีนี้คือธนาคารกรุงทพฯ พาณิชย์การ จำกัด หาใช่หม่อมเจ้าอาชวดิศไม่ ดังนั้น แม้หม่อมเจ้าอาชวดิศ ถึงแต่ชีพิตักษัยต่อมา กรณีก็ไม่ใช่ลักษณะสัญญาตัวแทนย่อมระงับสิ้นไป เมื่อคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายที่จำเลยจะพึงหยิบยกขึ้นอ้างว่านายบัญญัติ ไม่มีอำนาจร้องทุกข์เพราะ หม่อมเจ้าอาชวดิศผู้มอบอำนาจถึงแก่ชีพิตักษัยแล้ว
พิพากษายืน