ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญา: ศาลมีหน้าที่ชี้ขาดความหมายเมื่อมีการโต้แย้ง และพิจารณาพยานหลักฐานประกอบ
เมื่อจำเลยให้การเถียงความหมายในการแปลสัญญาศาลจึงมีหน้าที่จะต้องชี้ขาดว่าสัญญานั้นมีความหมายว่าอย่างไร ถ้าหากสัญญามีข้อความชัดเจนเห็นความหมายได้แล้วศาลก็ย่อมตีความสัญญาไปตามนั้น หากถ้อยคำในสัญญาเป็นที่สงสัย ศาลก็อาจดำเนินการสืบพะยานถึงพฤตติการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนประเพณี เพื่อนำมาใช้ประกอบในการตีความนั้นได้ตามกรณี ดังที่ ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 94 ตอนท้ายอนุญาตไว้
มาตรา 11 ป.ม.แพ่ง ฯ ย่อมเป็นหลักในการแปลสัญญาจริง แต่มีความหมายเพียงว่าเมื่อศาลได้พิเคราะห์ถึงเหตุผลและพฤตติการณ์อันจะนำมาประกอบการแปลหมดแล้ว กรณียังมีข้อสงสัยอยู่ จึงให้ตีความไปตามหลักที่กล่าวในมาตรา 11 แต่ไม่ได้หมายความว่า ศาลจะใช้มาตรา 11 แปลสัญญาโดยไม่เหลียวแลถึงเหตุผลและพฤตติการณ์ประกอบสัญญานั้นเสียเลย เมื่อถ้อยคำในสัญญายังเป็นที่สงสัยและศาลล่างสั่งงดสืบพะยานมาศาลฎีกามีอำนาจให้ศาลล่างพิจารณาพิพากษาใหม่.