โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สอง เป็น สามี ภริยา กัน เมื่อ วันที่ 6กรกฎาคม 2522 โจทก์ ทั้ง สอง ทำ สัญญาขายฝาก ที่ดิน โฉนด เลขที่ 10372,8351 และ 8233 แก่ จำเลย ที่ 1 รวมเป็น เงิน 330,000 บาท กำหนด ไถ่ คืน3 ปี ครั้น เมื่อ วันที่ 7 เมษายน 2525 ซึ่ง เป็น เวลา ก่อน สิ้น กำหนดไถ่ การ ขายฝาก โจทก์ ทั้ง สอง ตกลง กับ จำเลย ที่ 1 ว่า เมื่อ พ้น กำหนดไถ่ การ ขายฝาก แล้ว จำเลย ที่ 1 จะ ยอม ให้ โจทก์ ทั้ง สอง ซื้อ ที่ดินทั้ง สาม แปลง คืน ใน ราคา เดิม ต่อมา จำเลย ที่ 1 ไม่ยอม ให้ โจทก์ ทั้ง สองใช้ สิทธิ ไถ่ ตาม ข้อตกลง แต่ กลับ จดทะเบียน โอน ที่ดิน ทั้ง สาม แปลง ให้ แก่จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ซึ่ง เป็น บุตร ของ ตน โดยเสน่หา และ ไม่สุจริตทำให้ โจทก์ ทั้ง สอง เสียเปรียบ ขอให้ เพิกถอน การ จดทะเบียน โอน ที่ดินทั้ง สาม แปลง ดังกล่าว ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3ให้ จำเลย ส่งมอบ โฉนด ที่ดิน และ จดทะเบียน โอน ขาย ที่ดิน ทั้ง สาม แปลงดังกล่าว คืน โจทก์ ทั้ง สอง ใน ราคา 330,000 บาท หาก ไม่ปฏิบัติ ให้ ถือเอาคำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ว่า บันทึก ข้อตกลง ตาม เอกสาร ท้ายฟ้องกระทำ ขึ้น ก่อน สิ้น กำหนด ไถ่ การ ขายฝาก มีผล ทำให้ โจทก์ ทั้ง สองมีสิทธิ ไถ่ ทรัพย์ที่ขายฝาก คืน ได้ แม้ พ้น กำหนด ไถ่ เป็น การ ขยายกำหนด เวลา ไถ่ ทรัพย์ที่ขายฝาก ต้องห้าม ตาม กฎหมาย ข้อตกลง นี้จึง ตกเป็น โมฆะ เมื่อ โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ ใช้ สิทธิ ไถ่ ที่ดินพิพาท คืนภายใน กำหนด จำเลย ที่ 1 จึง มีสิทธิ โอน ที่ดินพิพาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 2และ ที่ 3 ซึ่ง เป็น บุตร ได้ โดยชอบ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น เห็นว่า คดี พอ วินิจฉัย ได้ แล้ว จึง สั่ง งดสืบพยาน โจทก์จำเลย และ พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี นี้ โจทก์ ทั้ง สอง ทำ สัญญาขายฝาก ที่ดินไว้ แก่ จำเลย ที่ 1 มี กำหนด เวลา ไถ่ 3 ปี การ ที่ โจทก์ ทั้ง สอง ตกลงกับ จำเลย ที่ 1 ก่อน เวลา ไถ่ ครบ กำหนด ว่า ยอม ให้ โจทก์ ทั้ง สอง ซื้อใน ราคา เดิม เมื่อ สิ้นสุด สัญญา แล้ว ข้อตกลง ที่ ให้ โจทก์ ทั้ง สองมีสิทธิ ซื้อ ที่ดิน ที่ ขายฝาก คืน ได้ นี้ ย่อม มีผล เช่นเดียว กับให้ โจทก์ ทั้ง สอง มีสิทธิ ไถ่ ทรัพย์สิน ที่ ขายฝาก คืน ได้ แม้ จะ พ้น กำหนดเวลา ไถ่ 3 ปี ตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน สัญญาขายฝาก เป็น การ ขยาย กำหนดเวลา ไถ่ ทรัพย์สิน ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496ข้อตกลง จึง เป็น โมฆะ โจทก์ ไม่มี สิทธิ ฟ้อง ขอ บังคับ ให้ จำเลย ที่ 1โอน ขาย ที่ดิน ตาม ข้อตกลง ดังกล่าว ได้ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษายกฟ้อง โจทก์ โดย ไม่จำต้อง สืบพยาน ชอบแล้ว ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สองฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน