โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน ภาษีอากร จำนวน5,995,067.42 บาท แก่ โจทก์ ทั้ง สอง พร้อม เงินเพิ่ม อากร ขาเข้าใน อัตรา ร้อยละ 1 ต่อ เดือน หรือ เศษ ของ เดือน จาก ต้นเงิน อากร ขาเข้า1,723,360.27 บาท เป็น รายเดือน นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง เงินเพิ่ม ภาษีการค้า ใน อัตรา ร้อยละ1.5 ต่อ เดือน หรือ เศษ ของ เดือน จาก ต้นเงิน ภาษีการค้า 463,414.53 บาทเป็น รายเดือน นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ทั้ง สอง แต่ ไม่เกิน จำนวน ภาษีการค้า และ เงินเพิ่ม ภาษีบำรุงเทศบาลเป็น รายเดือน ใน อัตรา ร้อยละ 10 ของ เงินเพิ่ม ภาษีการค้าตาม ฟ้อง แก่ โจทก์ ทั้ง สอง
จำเลย ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
ศาลภาษีอากรกลาง พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน ภาษีอากรจำนวน 5,650,395.36 บาท ให้ โจทก์ ทั้ง สอง พร้อม เงินเพิ่ม อากร ขาเข้าใน อัตรา ร้อยละ 1 ต่อ เดือน หรือ เศษ ของ เดือน จาก ต้นเงิน อากร ขาเข้า1,723,360.27 บาท นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จแก่ โจทก์ ทั้ง สอง และ ชำระ เงินเพิ่ม ภาษีการค้า ใน อัตรา ร้อยละ 1.5ต่อ เดือน หรือ เศษ ของ เดือน จาก ต้นเงิน ภาษีการค้า 463,414.53 บาทนับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง แต่ ไม่เกินจำนวน ภาษีการค้า กับ ชำระ เงินเพิ่ม ภาษีบำรุงเทศบาล ใน อัตรา ร้อยละ10 ของ เงินเพิ่ม ภาษีการค้า
โจทก์ ที่ 1 อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีภาษีอากร ฟัง ข้อเท็จจริง เป็น ยุติ ว่า จำเลยซึ่ง เป็น ผู้ประกอบการค้า ได้ นำ สินค้า ประเภท ผ้า ซึ่ง มี ถิ่น กำเนิด ที่ประเทศ ไต้หวัน จาก ประเทศ ไต้หวัน โดย ทางเรือ และ รถไฟ เข้า มา ใน ราชอาณาจักรไทย เมื่อ สินค้า ได้ ถูก นำเข้า มา ใน ราชอาณาจักรไทย แล้วจำเลย ได้ ยื่น ใบขนสินค้า ขาเข้า และ แบบแสดงรายการ การค้า โดย จำเลยสำแดง ว่า สินค้า ที่ นำเข้า มา เป็น สินค้า ที่ จำเลย นำเข้า มา เพื่อใช้ เป็น วัตถุดิบ ใน การ ผลิต สินค้า เพื่อ ส่งออก ไป ยัง เมือง ต่างประเทศหรือ ส่ง ไป เป็น ของ ใช้ สิ้นเปลือง ใน เรือ เดินทาง ไป ต่างประเทศ ภายใน1 ปี นับแต่ วัน นำเข้า และ จำเลย สำแดง ความจำนง ขอ คืนเงิน อากร ขาเข้าตาม บทบัญญัติ มาตรา 19 ทวิ แห่ง พระราชบัญญัติ ศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 จำเลย จึง ยัง มิได้ ชำระ เงิน ค่าภาษีอากร และ ค่าธรรมเนียมพิเศษ สำหรับ สินค้า ที่ นำเข้า มา ดังกล่าว ตาม ที่ สำแดง ใน ใบขนสินค้า ขาเข้าและ แบบแสดงรายการ การค้า แต่ ขอ ใช้ วิธี ให้ ธนาคาร ค้ำประกันการ ชำระ อากร ขาเข้า ภาษีการค้า และ ค่าธรรมเนียม พิเศษ ที่ ต้อง เสียครั้น เมื่อ ครบ กำหนด เวลา 1 ปี นับแต่ วันที่ จำเลย ได้ นำ สินค้า เข้า มาใน ราชอาณาจักรไทย จำเลย มิได้ นำ สินค้า ทั้งหมด ที่ นำเข้า มาใน ราชอาณาจักร ไป ผลิต ผสม ประกอบ หรือ บรรจุ เพื่อ ส่งออก ไป ยังเมือง ต่างประเทศ หรือ ส่ง ไป เป็น ของ ใช้ สิ้นเปลือง ใน เรือ เดินทางไป เมือง ต่างประเทศ ภายใน กำหนด 1 ปี นับแต่ วัน นำเข้า โดย สินค้าตาม ใบขนสินค้า ขาเข้า และ แบบแสดงรายการ การค้า บาง ฉบับ จำเลย มิได้นำ ไป ผลิต และ ส่งออก ไป นอก ราชอาณาจักรไทย เลย และ สินค้า ตาม ใบขนสินค้าขาเข้า และ แบบแสดงรายการ การค้า บาง ฉบับ จำเลย นำ ไป ผลิตและ ส่ง ไป นอก ราชอาณาจักร บางส่วน พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ โจทก์ ที่ 1ได้ ตรวจสอบ ราคา สินค้า ที่ จำเลย สำแดง ไว้ ใน ใบขนสินค้า ขาเข้า และแบบแสดงรายการ การค้า แล้ว ปรากฏว่า ราคา ของ หรือ สินค้า เป็น การสำแดง ราคา ของ ต่ำกว่า ราคา อัน แท้จริง ใน ท้องตลาด พนักงาน เจ้าหน้าที่ของ โจทก์ ที่ 1 จึง ประเมิน ราคา สินค้า และ ภาษีอากร ตาม ใบขนสินค้าขาเข้า และ แบบแสดงรายการ การค้า โดย ได้ แจ้ง การ ประเมิน ให้จำเลย ทราบ แต่ จำเลย เพิกเฉย และ มิได้ อุทธรณ์ แต่อย่างใด พนักงานเจ้าหน้าที่ ของ โจทก์ ที่ 1 ได้ ทวงถาม ไป ยัง ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด ผู้ค้ำประกัน ให้ ชำระ ค่าภาษีอากร และ ค่าธรรมเนียม พิเศษ แทน จำเลยธนาคาร กรุงเทพ จำกัด ได้ ชำระ เงิน ตาม จำนวน ที่ ที่ ระบุ ใน หนังสือ ค้ำประกัน ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง แล้ว แต่ เงิน ประกัน ที่ ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด ชำระ ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง ยัง ไม่ คุ้ม กับ จำนวน ค่าภาษีอากรค่าธรรมเนียม พิเศษ และ เงินเพิ่ม ภาษีอากร ต่าง ๆ พนักงาน เจ้าหน้าที่ของ โจทก์ ที่ 1 จึง ได้ ทวงถาม จำเลย แต่ จำเลย ไม่ชำระ ภายใน เวลา 30 วันคง มี ประเด็น ที่ ต้อง วินิจฉัย ใน ชั้น นี้ ว่า จำเลย จะ ต้อง ชำระ เงินเพิ่มอากร ขาเข้า ตาม มาตรา 112 ตรี แห่ง พระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469อีก ร้อยละ 20 สำหรับ สินค้า ตาม ใบขนสินค้า ขาเข้า และ แบบแสดงรายการการค้า ตาม การ ประเมิน ของ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ โจทก์ ที่ 1 หรือไม่แล้ว วินิจฉัย ว่า
"พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า "การ ที่ จะ เรียก อากร ขาเข้า เพิ่ม อีกร้อยละ ยี่สิบ ตาม มาตรา 112 ตรี ได้ นั้น มี ได้ เฉพาะ สอง กรณี คือ กรณีมิได้ ชำระ เงินอากร ครบถ้วน ตาม มาตรา 112 ทวิ ประการ หนึ่ง กับ กรณีมิได้ ปฏิบัติ ตาม ระเบียบ หรือ เงื่อนไข ที่ อธิบดี กำหนด ตาม มาตรา 40อีก ประการ หนึ่ง มิได้ มี กรณี ที่ ปฏิบัติ ผิด เงื่อนไข ตาม มาตรา 19 ตรีแต่อย่างใด และ สาระสำคัญ ของ มาตรา 40 กับ มาตรา 19 ตรี ก็ แตกต่าง กันกล่าว คือ มาตรา 40 เป็น เรื่อง กำหนด เงื่อนไข ใน การ ที่ ผู้นำ เข้า จะ นำ ของออกจาก อารักขา ของ ศุลกากร ทั่ว ๆ ไป แต่ มาตรา 19 ตรี เป็น เรื่องการ ค้ำประกัน การ นำเข้า ที่ เกี่ยวเนื่อง กับ มาตรา 19 ทวิ ที่ เกี่ยวกับสิทธิ ใน การ จะ ขอ คืน อากร ขาเข้า และ เป็น กรณี สำหรับ เฉพาะ สินค้าหรือ สิ่งของ บาง ประเภท หรือ บางกรณี เท่านั้น บทบัญญัติ มาตรา 40จึง มิได้ ใช้ บังคับ กับ กรณี ตาม มาตรา 19 ทวิ และ 19 ตรี และ เป็นคน ละ เรื่อง กัน เมื่อ กรณี ที่ จะ เรียก อากร ขาเข้า เพิ่ม ตาม มาตรา 112 ตรีมิได้ ระบุ ถึง กรณี ตาม มาตรา 19 ทวิ และ 19 ตรี ด้วย และ กรณี เรื่อง นี้เป็น กรณี ตาม บทบัญญัติ มาตรา 19 ทวิ และ 19 ตรี จึง ไม่อยู่ ใน ข่ายที่ จะ เรียก อากร ขาเข้า เพิ่ม ตาม มาตรา 112 ตรี ได้ ศาลฎีกา เห็นพ้องด้วย กับ คำพิพากษา ศาลภาษีอากรกลาง อุทธรณ์ โจทก์ ที่ 1 ฟังไม่ขึ้น "
พิพากษายืน