โจทก์จำเลยต่างฟ้องแย้งกัน ได้ความว่าที่โจทก์จำเลยอยู่ติต่อกัน ที่ของจำเลยแต่เดิมเป็นคลองแล้วตื้นเขินขึ้น จำเลยซื้อจากรัฐบาล แล้วมีข้อพิพาทกัน ๓ ข้อ คือ ๑. จำเลยปลูกตึกรุกเข้าไปในที่ของโจทก์ แล้วกำแพงตึกของโจทก์แตกร้าวจะต้องเสียหายค่าซ่อมแซม ๒๐๐๐ บาท โจทก์มีพะยานผู้ชำนาญการพิเศษมาเบิกความว่ เหตุที่กำแพงแตกนั้นโดยพื้นดินหลวมตัวหรือเพราะความกะเทือนหรือทั้งสองประการ เนื่องจากจำเลยทำรากตึกใกล้ชิดกับกำแพงที่ร้าว ๒. ชายคาตึกของโจทก์รุกล้ำเข้ามาในที่ของจำเลย ๒๐ ปีเศษแล้ว ๓. โจทก์ทำท่อระบายน้ำและวัตถุอื่นไหลผ่านที่ดินของจำเลยมานานแล้ว จำเลยจึงฟ้องแย้งตาม ข้อ ๒ -๓ สำหรับในข้อ ๒ จำเลยตีราคาที่ดินแลเรียกค่าเสียหายรวมกันไม่ถึง ๒๐๐๐ บาท
ศาลเดิมพิพากษาในข้อ ๑. ว่าจำเลยเถียงว่าจ้างช่างก่อสร้างนั้น เห็นว่าเป็นการทำในที่ของโจทก์ จำเลยต้องรับผิดชอบจึงให้โจทก์ชนะคีด ในข้อ ๒ พิพากษาว่า หลังคาโจทก์รุกล้ำมาตั้ง ๒๐ ปีแล้ว จำเลยหมดสิทธิขับไล่ขอให้รื้อหลังคา แต่โจทก์ไม่ได้ปกครองที่ดินใต้ชายคา จะถือเอาที่ดินในเขตต์ชายน้ำตกไม่ได้ ในข้อ ๓. พิพากษาว่าตามปกติน้ำต้องไหลจากที่สูงไปหาที่ต่ำ จำเลยจึงฟ้องขอห้ามโจทก์ไม่ได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาในข้อ ๑. แลข้อ ๒. ยืนตามศาลเดิม (ในส่วนข้อ ๑. นั้น จำเลยยกข้อปัดความผิดให้ผู้รับก่อสร้างขึ้นคัดค้าน) ส่วนในข้อ ๓. ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยของศาลเดิมใช้สำหรับน้ำไหลตามธรรมดาไม่หมายถึงน้ำใช้แล้วระบายทิ้งตามท่อเช่นเรื่องนี้ ข้อที่โจทก์อ้างว่าระบายน้ำลงคลองสาธารณฟังไม่ขึ้น เพราะคลองนี้ตื้น รัฐบาลขายให้จำเลยแล้ว จึงพิพากษาให้โจทก์แพ้คดีแลใช้ค่าเสียหายให้จำเลย
ศาลฎีกาพิพากษาข้อ ๑. ยืนตามศาลล่างในข้อ ๒. ว่าฟ้องแย้งของจำเลยมีทุนทรัพย์ไม่ถึงสองพันบาท ฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้ ในข้อ ๓. ว่าที่ดินเป้นของจำเลยไม่เป็นคลองสาธารณแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิระบายน้ำหรือวัตถุใด ๆ ไหลเข้าที่ดินของจำเลยอนึ่งท่อนี้ไม่ใช่ท่อน้ำตามธรรมดา โจทก์ไม่ได้นำสืบว่าการระบายเช่นนั้นเป็นประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ของโจทก์อย่างใด ฉะนั้นโจทก์จึงอ้างว่าเป็นภาระจำยอมไม่ได้ และน้ำที่ระบายไม่ใช่น้ำไหลตามธรรมดาตามประมวลแพ่ง ฯ ม.๑๓๓๙ ดังศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้แล้ว จึงพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์