โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทำ สัญญาจะขาย ที่ดิน หนังสือ รับรอง การ ทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) เลขที่ 407 และ ที่ดิน แปลง อื่น อีก 1 แปลงเป็น เงิน 950,000 บาท ให้ แก่ โจทก์ โจทก์ ได้ วาง มัดจำ ไว้ จำนวน 50,000บาท ตกลง โอน ใน วันที่ 21 สิงหาคม 2532 แต่ จำเลย ผิดสัญญา ไม่ยอม โอนที่ดิน ให้ โจทก์ ขอให้ บังคับ จำเลย โอน ที่ดิน น.ส.3 ก. เลขที่ 407และ ที่ดิน เลขที่ ดิน 16 ให้ โจทก์ หาก ไม่ยอม ไป โอน ให้ ถือเอา คำพิพากษาแทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย
จำเลย ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า โจทก์ หลอกลวง ให้ จำเลย ลงชื่อใน แบบพิมพ์ ซึ่ง ยัง ไม่ได้ กรอก ข้อความ จำนวน 4 ฉบับ แล้ว โจทก์ นำ ไปกรอก ข้อความ เป็น สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดิน ตาม ฟ้อง และ สัญญา นายหน้าสัญญา ดังกล่าว จึง เป็น โมฆะ ขอให้ ยกฟ้อง
นาง ดวงใจ ธีระสาสน์ ร้องสอด และ แก้ไข คำร้อง สอด เข้า มา เป็น คู่ความ ฝ่าย ที่ สาม ว่า เมื่อ วันที่ 1 ธันวาคม 2531 จำเลย ได้ ทำสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดิน (น.ส.3 ก. ) เลขที่ 407 ตาม ฟ้อง ให้ แก่ผู้ร้องสอด ใน ราคา 1,200,000 บาท ตกลง จะ ไป ทำการ โอน ใน วันที่ 21สิงหาคม 2532 ผู้ร้องสอด จึง มีสิทธิ ดีกว่า โจทก์ ขอให้ เพิกถอน สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดิน ระหว่าง โจทก์ จำเลย
โจทก์ ให้การ แก้ คำร้อง สอด ว่า จำเลย กับ ผู้ร้องสอด ไม่ได้ ทำสัญญาจะซื้อจะขาย ใน วันที่ 1 ธันวาคม 2531 หาก แต่ จัดทำ โดย ลงวันที่ย้อนหลัง ขอให้ ยกคำร้อง ของ ผู้ร้องสอด
จำเลย ให้การ แก้ คำร้อง สอด ว่า จำเลย ได้ ทำ สัญญาจะซื้อจะขายกับ ผู้ร้องสอด ตาม คำร้อง สอด จริง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย โอน ที่ดิน ตาม ฟ้องให้ แก่ โจทก์ หาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนาของ จำเลย ให้ โจทก์ ชำระ ราคา ที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ 900,000 บาท แก่จำเลย ยกคำร้อง สอด
จำเลย และ ผู้ร้องสอด อุทธรณ์ แต่ ใน ระหว่าง การ พิจารณา ของศาลอุทธรณ์ จำเลย ขอ ถอน อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ อนุญาต จำหน่ายคดี เฉพาะอุทธรณ์ ของ จำเลย ออกจาก สารบบความ
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ผู้ร้องสอด ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "ผู้ร้องสอด ฎีกา ว่า สัญญาจะซื้อจะขายระหว่าง โจทก์ และ จำเลย ไม่สมบูรณ์ นั้น เห็นว่า ตาม คำร้อง สอด ของผู้ร้องสอด มิได้ กล่าวอ้าง ว่า สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดิน ระหว่าง โจทก์และ จำเลย ไม่ สมบูรณ์ การ ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด ประเด็น ข้อพิพาท ข้อ นี้ก็ เพื่อ วินิจฉัย ข้อพิพาท ระหว่าง โจทก์ และ จำเลย เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับผู้ร้องสอด แต่อย่างใด เมื่อ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า สัญญา จะซื้อจะขาย ระหว่าง โจทก์ และ จำเลย สมบูรณ์ จำเลย และ ผู้ร้องสอด อุทธรณ์ต่อมา จำเลย ได้ ขอ ถอน อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ อนุญาต จึง ถือว่า ประเด็นข้อพิพาท นี้ ยุติ ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น แม้ ศาลอุทธรณ์ จะ วินิจฉัยประเด็น ข้อพิพาท เช่นว่า นี้ ตาม อุทธรณ์ ของ ผู้ร้องสอด ก็ เป็น การ ไม่ชอบศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ผู้ร้องสอด ฎีกา ต่อไป ว่า โจทก์ และ จำเลยสมคบ กัน ให้ จำเลย ถอน อุทธรณ์ เพื่อ ให้ ผู้ร้องสอด ต้อง เสีย สิทธิ ใน การทุเลาการบังคับคดี และ ได้รับ ความเสียหาย เป็น การ ใช้ สิทธิ ไม่สุจริตทั้ง สมคบ กัน ให้ โจทก์ ฟ้องคดี นี้ โดย รู้ อยู่ แล้ว ว่า ไม่เป็น ความจริงนั้น ฎีกา ของ ผู้ร้องสอด ดังกล่าว เป็น ข้อ ที่ มิได้ ยกขึ้น ว่ากล่าวกัน มา โดยชอบ ใน ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัยผู้ร้องสอด ฎีกา ประการ สุดท้าย ว่า สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทระหว่าง ผู้ร้องสอด กับ จำเลย มิได้ ทำ ขึ้น โดย ฉ้อฉล นั้น เมื่อ ข้อเท็จจริงที่ ว่า สัญญาจะซื้อจะขาย ระหว่าง โจทก์ และ จำเลย เป็น อัน สมบูรณ์ ยุติตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น แล้ว ประกอบ กับ คำขอบังคับ ของ ผู้ร้องสอดก็ มิได้ ขอ บังคับ ให้ จำเลย ชดใช้ ค่าเสียหาย หรือ ให้ โอน ที่ดิน ให้ แก่ผู้ร้องสอด การ วินิจฉัย ฎีกา ของ ผู้ร้องสอด ดังกล่าว ย่อม ไม่ทำ ให้ผล แห่ง คดี เปลี่ยนแปลง ไป ฎีกา ของ ผู้ร้องสอด ใน ประการ สุดท้าย จึงไม่เป็น สาระ แก่ คดี อันควร ได้รับ การ วินิจฉัย ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัยเช่นกัน "
พิพากษายก ฎีกา ผู้ร้องสอด