โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความผิด อัน เกิดจาก การ ใช้ เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว เห็นว่า คดี มีมูล ให้ ประทับ ฟ้อง
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำหน่ายคดี
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น พิพากษา ใหม่ ว่าจำเลย มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 ลงโทษ จำคุก 1 ปี
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ใน เบื้องต้น ฟังได้ว่า เมื่อ เดือน มิถุนายน 2536 นาย วิรัตน์ เสประธานนท์ ได้ นำ เช็คพิพาท ตาม เอกสาร หมาย จ. 4 ชำระหนี้ แก่ โจทก์ เมื่อ เช็คถึง กำหนด โจทก์ นำ ไป เรียกเก็บเงิน จาก ธนาคาร แต่ ธนาคาร ตามเช็คปฏิเสธ การ จ่ายเงิน ตาม ใบ คืน เช็ค เอกสาร หมาย จ. 5 โจทก์ จึง นำ คดีมา ฟ้อง ระหว่าง พิจารณา นาง อรอุทัย เกิดพุ่ม ได้ ออก เช็ค ใหม่ 3 ฉบับ เป็น เงิน 1,630,000 บาท ชำระหนี้ ตามเช็ค พิพาท ให้ โจทก์ตาม สัญญา ชำระหนี้ แทน เอกสาร หมาย ล. 1 แต่ ปรากฏว่า เช็ค ที่นาง อรอุทัย ชำระ ให้ โจทก์ ตาม สัญญา ดังกล่าว เรียกเก็บเงิน ไม่ได้ มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา จำเลย ประการ แรก ว่า สัญญา ชำระหนี้แทน ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 เป็น สัญญา ประนีประนอม ยอมความทำให้ สิทธิ นำ คดีอาญา มา ฟ้อง ของ โจทก์ ระงับ ไป หรือไม่ เห็นว่าตาม สัญญา ชำระหนี้ แทน เอกสาร หมาย ล. 1 ซึ่ง นาง อรอุทัย ตกลง ขอ เข้า มา ชำระหนี้ ตามเช็ค พิพาท ใน คดี นี้ แทน จำเลย โดย จ่ายเช็ค ให้ โจทก์ 3 ฉบับ แบ่ง จ่าย เป็น 3 งวด มี ข้อความ อันเป็น สาระสำคัญ ว่า เมื่อ นาง อรอุทัย ได้ ผ่าน เช็ค ทั้งหมด ให้ แล้ว ฝ่าย โจทก์ จะ ไป ถอนฟ้อง คดี ให้ แก่ จำเลย ทันที แสดง ว่า โจทก์ กับ นาง อรอุทัย ได้ ตกลง ประนีประนอม ยอมความ กัน เกี่ยวกับ เช็ค ที่ ฟ้อง จำเลยใน คดีอาญา ว่า นาง อรอุทัย ยอม ชำระหนี้ ตามเช็ค พิพาท ให้ แก่ โจทก์ เป็น งวด ๆ ตามเช็ค ทั้ง 3 ฉบับ และ หาก เช็ค ทั้ง 3 ฉบับ สามารถเรียกเก็บเงิน ได้ ครบถ้วน แล้ว โจทก์ ก็ จะ ถอนฟ้อง คดี นี้ ดังนั้นการ ที่นาง อรอุทัย จะ ต้อง ชำระ เงิน ตามเช็ค ทั้ง 3 ฉบับ จึง เป็น เงื่อนไข ใน การ ที่ โจทก์ จะ ถอนฟ้อง คดีอาญา ให้ แก่ จำเลย และ ตาม สัญญาชำระหนี้ แทน เอกสาร หมาย ล. 1 ไม่มี ข้อความ ตอนใด ที่ แสดง ว่า โจทก์ตกลง สละ สิทธิ ใน การ ดำเนินคดี อาญา แก่ จำเลย ใน ทันที เมื่อข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า เช็ค ทั้ง 3 ฉบับ ที่นาง อรอุทัย ชำระ ให้ โจทก์ ไม่สามารถ เรียกเก็บเงิน ได้ จึง มีผล ว่า โจทก์ ไม่ผูกพัน ที่ จะ ต้องถอนฟ้อง คดี ยัง ถือไม่ได้ว่า เป็น การ ยอมความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ฎีกา จำเลยข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ที่ จำเลย ฎีกา ต่อมา ว่า สัญญา ชำระหนี้แทน ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 เป็น การ แปลงหนี้ใหม่ โดย เปลี่ยน ตัวลูกหนี้ และ การ ตกลง ชำระหนี้ จาก 1,500,000 บาท เป็น 1,630,000 บาทเป็น การ เปลี่ยน สิ่ง ซึ่ง เป็น สาระสำคัญ แห่ง หนี้ มีผล ทำให้ หนี้ ตามเช็คพิพาท ระงับ คดี จึง เลิกกัน ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความผิดอัน เกิดจาก การ ใช้ เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 หรือไม่ เห็นว่าการ ที่ โจทก์ กับ นาง อรอุทัย ตกลง ทำ สัญญา ชำระหนี้ แทน ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 โดย นาง อรอุทัย สั่งจ่าย เช็ค 3 ฉบับ มอบ ให้ โจทก์ เป็น การ ชำระหนี้ แทน เช็คพิพาท ใน คดี นี้ ถือได้ว่า มี หนี้ ใหม่ เกิดขึ้น ตามเช็ค ทั้ง 3ฉบับ อันเป็น การ เปลี่ยน สิ่ง ซึ่ง เป็น สาระสำคัญ แห่ง หนี้ จึง เป็น การแปลงหนี้ใหม่ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 มีผล ให้หนี้ ตามเช็ค พิพาท ซึ่ง เป็น หนี้ เดิม ระงับ ไป มูลหนี้ ที่ จำเลย ออกเช็คพิพาท จึง สิ้น ผล ผูกพัน แม้ สัญญา ชำระหนี้ แทน ตาม เอกสาร หมาย ล. 1จะ มี เงื่อนไข ว่า โจทก์ จะ ถอนฟ้อง คดีอาญา เมื่อ เช็ค ทั้ง 3 ฉบับเรียกเก็บเงิน ได้ แล้ว ก็ เป็น เงื่อนไข ที่ เกี่ยวกับ การ ถอนฟ้องอันเป็น เหตุ หนึ่ง ที่ ทำให้ สิทธิ นำ คดีอาญา มา ฟ้อง ระงับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 เท่านั้น หา มีผลทำให้ การ ตกลง ดังกล่าว ไม่เป็น การ แปลงหนี้ใหม่ ไป ไม่ ดังนั้นคดีอาญา จึง เลิกกัน ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความผิด อัน เกิดจากการ ใช้ เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิ นำ คดีอาญา มา ฟ้อง ของ โจทก์จึง ระงับ ไป ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(3) ทั้งนี้ตาม นัย คำพิพากษา ศาลฎีกา ที่ 5315/2537 ระหว่างนาง สุพัตรา รุ่งทิวากรกิจ โจทก์ นาย ยรรยง พิมพิรัตน์ จำเลย ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้น เป็น การ ไม่ชอบ ฎีกา จำเลย ข้อ นี้ ฟังขึ้นคดี ไม่จำต้อง วินิจฉัย ฎีกา ของ จำเลย ต่อไป ว่าการ กระทำ ของ จำเลยเป็น ความผิด ใน ทางอาญา หรือไม่ "
พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น