โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย บุกรุก เข้า ไป ปั้น คันนา และ ตัด ฟัน ต้น ไม้ใน ที่ดิน ของ โจทก์ ขอให้ พิพากษา ว่า ที่ดิน ตาม แผนที่ สังเขปท้ายฟ้อง เป็น ของ โจทก์ และ ให้ ขับไล่ จำเลย และ บริวาร ออกจาก ที่ดินพิพาท
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย เข้า จับจอง บุกเบิก เข้า ทำประโยชน์ใน ที่ดินพิพาท โดย สงบ เปิดเผย ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ เป็น เวลา กว่า20 ปี แล้ว โจทก์ ไม่ได้ ฟ้อง เอาคืน ภายใน อายุความ 1 ปี ฟ้องโจทก์จึง ขาดอายุความ
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายก อุทธรณ์ โจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า อุทธรณ์ โจทก์ เป็น อุทธรณ์ใน ปัญหาข้อกฎหมาย นั้น ปรากฏ ตาม คำวินิจฉัย ของ ศาลชั้นต้น ว่าจำเลย เข้า ไป ปั้น คันนา ใน ที่พิพาท เมื่อ ประมาณ เดือน 6 หรือ 7ปี 2532 ต่อมา ใน เดือน 11 หรือ 12 ปีเดียว กัน จำเลย เข้า ไป ตัด ต้น ชาดใน ที่พิพาท โจทก์ ไป แจ้งความ ต่อ กำนัน กำนัน และ ปลัดอำเภอ สั่ง ให้ จำเลยหยุด การกระทำ ดังกล่าว แสดง ให้ เห็นว่า ที่ จำเลย หยุด เข้า ไป ทำประโยชน์ ใน ที่พิพาท เพราะ ถูก เจ้าพนักงาน สั่ง ห้าม มิใช่ จำเลยมี เจตนา ที่ จะ สละ การ ครอบครอง ที่พิพาท ดัง จะ เห็น ได้ว่า หลังจาก นั้นประมาณ 4 เดือน จำเลย เข้า ไป ตัด ฟัน ต้น ชาดและ ต้นมะพร้าว อีกทั้ง เมื่อ โจทก์ เข้า ไป ทำลาย คันนา ที่ จำเลย ปั้น ไว้ จำเลย ก็ ไป แจ้งความต่อ นายอำเภอ ยิ่ง เป็น การ สนับสนุน ให้ เห็นว่า จำเลย ไม่ได้ สละ การครอบครอง ที่พิพาท แต่ มี เจตนา ครอบครอง ต่อเนื่อง มา ตั้งแต่ วันที่เข้า ไป ปั้น คันนา ใน ที่พิพาท การ ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ว่า จำเลย เข้า ไปปั้น คันนา ใน ที่พิพาท แล้ว ออก ไป ไม่ ยุ่ง เกี่ยวกับ ที่พิพาท อีกเวลา 5 เดือน หลังจาก นั้น จึง มิใช่ การ ครอบครอง หรือ แย่ง การ ครอบครองตาม กฎหมาย แม้ จำเลย จะ เข้า ไป ตัด ฟัน ต้น ชาดใน เดือน 11 ก็ ไม่ได้หมายความ ว่า จำเลย ครอบครอง ต่อเนื่อง จาก บริเวณ ปั้น คันนา และ อาจ มีเจตนา รบกวน ให้ โจทก์ ดำเนินคดี อาจ มิใช่ เจตนา ครอบครอง ที่พิพาทเพื่อ ตน ก็ ได้ ถือไม่ได้ว่า เป็น ครอบครอง ตาม กฎหมาย นั้น อุทธรณ์ โจทก์ดังกล่าว เป็น การ โต้เถียง ดุลพินิจ ใน การ รับฟัง พยานหลักฐาน ของศาลชั้นต้น อันเป็น อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง และ คดี นี้ มี ทุนทรัพย์ที่พิพาท กัน ใน ชั้นอุทธรณ์ ไม่เกิน 50,000 บาท จึง ต้องห้าม มิให้อุทธรณ์ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
พิพากษายืน