โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องว่า ขณะโจทก์กระทำผิดต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.๒๔๗๙ คงให้อำนาจจำเลยในฐานะเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นร้องขอต่อศาลเพื่อสั่งให้รื้ออาคารที่ต่อเติมเท่านั้น แต่จำเลยกลับอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๐+ ซึ่งออกใช้บังคับภายหลังแจ้งให้โจทก์รื้ออาคารที่ต่อเติมโดยที่พระราชบัญญัติฉบับที่ ๒ ดังกล่าวไม่มีผลบังคับย้อนหลัง เพราะไม่มีบทเฉพาะกาลไว้ จึงขอให้ศาลสั่งแสดงว่าหนังสือที่ ๑๑๔๕/๒๕๐๖ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๖ ที่จำเลยแจ้งให้โจทก์รื้ออาคารพิพาทไม่มีผลบังคับ
จำเลยให้การและแถลงรับข้อเท็จจริงตามฟ้องและคำขอแก้ฟ้องทุกประการ แต่ต่อสู้ในปัญหาข้อกฎหมายว่า จำเลยมีสิทธิ
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาว่า จำเลยไม่มีอำนาจสั่งให้โจทก์รื้ออาคารที่ต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเกิดขึ้นก่อนใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.๒๕๐๔ คำสั่งจำเลยไม่มีผลบังคับ
จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า การต่อเติมอาคารของโจทก์เป็นความผิดอาญา ซึ่งเป็นความผิดสำเร็จ แต่ขณะทำการต่อเติมอาคารเสร็จ และจำเลยได้ถูกเจ้าพนักงานสอบสวนปรับเสร็จ การจะบังคับให้รื้อถอนก็ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติที่ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.๒๔๗๙ มาตรา ๑๑ วรรค ๒ คือ กฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะโจทก์กระทำการต่อเติมและเป็นคุณแก่โจทก์ จะนำพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๐๔ มาตรา + คือกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการต่อเติมอาคารของโจทก์และมีวิธีการบังคับอันเป็นผลร้ายมาใช้บังคับแก่โจทก์ไม่ได้ ไม่มีผลบังคับย้อนหลังทั้งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๐๔ มาตรา ๕ ได้บัญญัติความถึงอาคารที่ปลูกสร้างขึ้นก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย แต่มาตรา ๔ มิได้บัญญัติไว้เช่นมาตรา ๕ ฉะนั้น จะใช้วิธีการ+ตามมาตรา ๔ นี้สำหรับการต่อเติมอาคารของโจทก์ที่ต่อเติมไว้ก่อนหาได้ไม่ พิพากษา+