โจทก์ ฟ้อง ขอให้ พิพากษา แสดง ว่า โจทก์ มีสิทธิ การ เช่า ตึกแถวดังกล่าว ดีกว่า หรือ ยิ่งกว่า จำเลย และ หนังสือ สัญญาเช่า ระหว่างจำเลย กับ วัด โสมนัสวิหาร ฉบับ ลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2532 เป็น โมฆะ ให้ จำเลย ถอน จาก การ เป็น ผู้เช่า ตาม สัญญาเช่า ดังกล่าว ถ้า จำเลย ไม่ ถอนให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล เป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลย ห้ามจำเลย ขัดขวาง โจทก์ ที่ จะ ทำ สัญญาเช่า ตึก ดังกล่าว กับ วัด โสมนัสวิหาร และ ห้าม เกี่ยวข้อง ใน ตึก ต่อไป
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ใน วันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้น เห็นว่า คดี พอ วินิจฉัย ได้ จึง ให้งดชี้สองสถาน และ งดสืบพยาน แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้น ดำเนินกระบวนพิจารณา คดี ต่อไป แล้ว มี คำพิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "มี ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลยว่า โจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง หรือไม่ เห็นว่า โจทก์ เป็น ผู้ครอบครอง ตึกแถวตาม สัญญาเช่า เดิม ซึ่ง ครบ กำหนด ไป แล้ว โจทก์ จึง ไม่อาจ อ้าง สิทธิ ใด ๆใน ตึกแถว พิพาท ได้ อีก การ ที่ วัด โสมนัสวิหาร ซึ่ง เป็น ผู้ให้เช่า ทำ สัญญา ให้ จำเลย เช่า ตึกแถว พิพาท แม้ จะ ฟัง ว่า จำเลย หลอกลวง วัด โสมนัสวิหาร ให้ จำเลย เช่า ตึกแถว ที่ โจทก์ ครอบครอง อยู่ วัด โสมนัสวิหาร ซึ่ง เป็น คู่สัญญา กับ จำเลย เท่านั้น ที่ จะ ใช้ สิทธิ บอกล้าง หรือ ฟ้อง ให้ เพิกถอน ได้ โจทก์ ไม่มี นิติสัมพันธ์ ใด ๆ กับ จำเลยจึง จะ ใช้ สิทธิ บอกล้าง หรือ ฟ้อง เพิกถอน สัญญาเช่า ดังกล่าว มิได้หาก โจทก์ เห็นว่า การ ที่ วัด โสมนัสวิหาร ทำ สัญญา ให้ จำเลย เช่า ตึกแถว พิพาท เป็น การ ละเมิด สิทธิ ของ โจทก์ ซึ่ง เคย เป็น คู่สัญญา เช่า เดิม กับวัด โสมนัสวิหาร ก็ ชอบ ที่ โจทก์ จะ ฟ้อง วัด โสมนัสวิหาร มิใช่ ฟ้อง จำเลย ส่วน การ ที่ จำเลย ได้ บอกกล่าว ให้ โจทก์ ออกจาก ตึกแถว พิพาทโดย อ้างว่า จำเลย ได้ เป็น ผู้เช่า ตึกแถว กับ วัด โสมนัสวิหาร แล้ว ก็ ยัง ถือไม่ได้ว่า จำเลย ได้ กระทำการ อันเป็น การ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้องจำเลย ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกาของ จำเลย ฟังขึ้น "
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง