ผู้ร้อง ทั้ง สอง ยื่น คำร้อง ว่า ผู้ร้อง ที่ 1 เป็น คนต่างด้าวผู้ร้อง ทั้ง สอง อยู่กิน เป็น สามี ภริยา กัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2491 และมี บุตร ด้วยกัน 7 คน ได้ ยื่น คำร้อง ต่อ นายอำเภอ เมืองนครพนม ใน ฐานะนายทะเบียน เพื่อ ขอ จดทะเบียน สมรส แต่ นายทะเบียน ไม่ ดำเนินการ ให้ขอ ให้ ศาล มี คำสั่ง ให้ นายทะเบียน อำเภอ เมืองนครพนม จด ทะเบียน สมรสให้ ผู้ร้อง ทั้ง สอง
ผู้คัดค้าน ยื่น คำ คัดค้าน ว่า ผู้ร้อง ทั้ง สอง เป็น คน สัญชาติ ญวนความ สามารถ และ เงื่อนไข การ สมรส ต้อง เป็น ไป ตาม กฎหมาย สัญชาติ ของผู้ร้อง เมื่อ ผู้ร้อง ไม่ แสดง ให้ ทราบ จึง ไม่ อาจ จด ทะเบียน สมรสให้ ได้ ขอ ให้ ยก คำร้อง
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ นายทะเบียน อำเภอ เมืองนครพนม จด ทะเบียนสมรส ให้ ผู้ร้อง ทั้ง สอง
ผู้คัดค้าน อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
ผู้คัดค้าน ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า มี ปัญหา ใน ชั้นฎีกา เพียง ว่า การ ที่ ผู้ร้องทั้ง สอง เป็น บุคคล สัญชาติ ญวน ร้องขอ ต่อ ศาล ให้ สั่ง ผู้คัดค้านจด ทะเบียน สมรส ให้ แก่ ผู้ร้อง ทั้ง สอง ผู้ร้อง ย่อม มี หน้าที่พิสูจน์ ว่า ผู้ร้อง มี ความ สามารถ และ เงื่อนไข แห่ง การ สมรส ครบถ้วนตาม กฎหมาย ของ ประเทศ เวียดนาม ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย การ ขัดกันแห่ง กฎหมาย พุทธศักราช 2481 นั้น เห็นว่า แม้ ตาม กฎหมาย ดังกล่าวมาตรา 10 และ มาตรา 19 จะ บัญญัติ ว่า ความ สามารถ ของ บุคคล และเงื่อนไข แห่ง การ สมรส ให้ เป็น ไป ตาม กฎหมาย สัญชาติ ของ บุคคลนั้นๆ ก็ ตาม แต่ ตาม กฎหมาย ดังกล่าว มาตรา 8 บัญญัติ ว่า 'ใน กรณี ที่จะ ต้อง ใช้ กฎหมาย ต่างประเทศ บังคับ ถ้า มิได้ พิสูจน์ กฎหมาย นั้นให้ เป็น ที่ พอใจ แก่ ศาล ให้ ใช้ กฎหมาย ภายใน แห่ง ประเทศ สยาม'ผู้ร้อง จึง หา มี หน้าที่ พิสูจน์ ถึง ความ สามารถ และ เงื่อนไขดังกล่าว แต่ เพียง ฝ่ายเดียว และ เมื่อ ไม่ มี ฝ่ายใด นำสืบ ว่า ตามกฎหมาย สัญชาติ ของ ผู้ร้อง คือ ประเทศ เวียดนาม ใน เรื่อง นี้ มี อยู่อย่างไร กรณี จึง ต้อง บังคับ ตาม พระราชบัญญัติ ดังกล่าว มาตรา 8กล่าวคือ ต้อง บังคับ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น เมื่อปรากฏ ว่า ผู้ร้อง ทั้ง สอง มี เงื่อนไข ที่ จะ ทำการ สมรส ได้ ครบถ้วนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แล้ว ผู้คัดค้าน ก็ ไม่ ชอบ ที่ จะปฏิเสธ ไม่ ยอม จดทะเบียน สมรส ให้ ผู้ร้อง ทั้ง สอง
พิพากษา ยืน