โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น หนี้ กู้ เบิกเงินเกินบัญชี แก่ โจทก์1,174,368.55 บาท จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ค้ำประกัน โจทก์ มี หนังสือทวงถาม จำเลย ทั้ง สอง ให้ ชำระหนี้ แล้ว ไม่ น้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่ง มี ระยะเวลา ห่าง กัน ไม่ น้อยกว่า 30 วัน จำเลย ทั้ง สอง ไม่ชำระ ขอให้ พิทักษ์ทรัพย์ จำเลย ทั้ง สอง เด็ดขาด และ พิพากษา ให้ ล้มละลาย ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ใน ทำนอง เดียว กัน ว่า หนี้ตาม ฟ้อง เป็น หนี้ ตาม หนังสือ รับสภาพหนี้ โดย ผ่อน ใช้ ทุน คืน เป็น งวดจำเลย ที่ 1 ชำระ ให้ เพียง ครั้งเดียว เมื่อ วันที่ 29 กรกฎาคม 2526นับ ถึง วันฟ้อง เป็น เวลา เกินกว่า 5 ปี คดี โจทก์ ขาดอายุความ ฟ้องร้องจำเลย ทั้ง สอง ไม่เป็น ผู้ มี หนี้สินล้นพ้นตัว ขอให้ ยกฟ้อง
วันนัด พิจารณา ศาลชั้นต้น เห็นว่า คดี พอ วินิจฉัย ได้ แล้ว ให้งดสืบพยาน ทั้ง สอง ฝ่าย และ วินิจฉัย ว่า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ เป็น ยุติ ว่า เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2510 จำเลย ที่ 1 ได้ ทำ สัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชีจาก โจทก์ และ เปิด บัญชีเดินสะพัด กับ โจทก์ โดย มี จำเลย ที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ครั้น วันที่ 1 มีนาคม 2520 จำเลย ทั้ง สอง ได้ ร่วมกัน ทำหนังสือ รับสภาพหนี้ ให้ โจทก์ โดย ยอมรับ ว่า เพียง วันที่ 29 มีนาคม 2519เป็น หนี้ โจทก์ รวม 409,135.32 บาท ขอ ผ่อนชำระ หนี้ ดังกล่าว แก่โจทก์ เดือน ละ 1,500 บาท สัญญา ชำระ ทุกวัน ที่ 15 ของ เดือน เริ่ม แต่เดือน มีนาคม 2520 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ ครบถ้วน รายละเอียด ปรากฏ ตามสำเนา หนังสือ รับสภาพหนี้ เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 6 ต่อมา จำเลย ที่ 1ชำระหนี้ แก่ โจทก์ เพียง ครั้งเดียว เมื่อ วันที่ 29 กรกฎาคม 2526 เป็นเงิน 22,706.66 บาท มี ปัญหา ที่ จะ วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ใน ประการ แรกว่า หนังสือ รับสภาพหนี้ ตาม สำเนา เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 6มีผล ผูกพัน โจทก์ หรือไม่ เห็นว่า จาก คำฟ้อง ของ โจทก์ เอง ได้ความ ว่าหลังจาก ที่ จำเลย ทั้ง สอง ทำ หนังสือ รับสภาพหนี้ ให้ โจทก์ แล้ว จำเลยที่ 1 ได้ นำ เงิน จำนวน 22,706.66 บาท ไป ชำระ ให้ โจทก์ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2526 โจทก์ ก็ รับ ไว้ แสดง ว่า โจทก์ เอง ก็ ยอมตกลง ด้วย ตาม หนังสือ รับสภาพหนี้ จึง เห็นว่า หนังสือ รับสภาพหนี้ ดังกล่าวมีผล ผูกพัน โจทก์ ฎีกา ของ โจทก์ ใน ปัญหา นี้ ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา สุดท้าย คดี ของ โจทก์ ขาดอายุความ หรือไม่ เห็นว่า เดิมจำเลย ที่ 1 เป็น หนี้ โจทก์ ตาม สัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี ต่อมา จำเลยทั้ง สอง ทำ หนังสือ รับสภาพหนี้ ตกลง ผ่อนชำระ หนี้ ให้ โจทก์ เป็น รายเดือนเดือน ละ 1,500 บาท ซึ่ง โจทก์ ก็ ยอม ตกลง ด้วย ดัง วินิจฉัย แล้ว ในประการ แรก ย่อม ถือได้ว่า โจทก์ กับ จำเลย ทั้ง สอง ได้ ตกลง เปลี่ยนแปลงวิธีการ ชำระหนี้ ใหม่ โดย การ ผ่อน ทุน คืน เป็น งวด ๆ สิทธิเรียกร้องของ โจทก์ จึง มี กำหนด อายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 เดิม (มาตรา 193/33ที่ แก้ไข ใหม่ ) ซึ่ง คดี นี้ ปรากฏว่า เมื่อ จำเลย ทั้ง สอง ทำ หนังสือรับสภาพหนี้ ให้ โจทก์ แล้ว จำเลย ทั้ง สอง ผิดนัด ไม่ชำระ หนี้ ให้ โจทก์ตั้งแต่ง วดแรก ที่ ต้อง เริ่ม ชำระ ตั้งแต่ วันที่ 15 มีนาคม 2520 โจทก์จึง อาจ บังคับ สิทธิเรียกร้อง ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระหนี้ แต่ละ งวด ได้ตั้งแต่ เมื่อ ครบ กำหนด ที่ จำเลย ทั้ง สอง ต้อง ชำระหนี้ ใน งวด นั้น ๆ สิทธิเรียกร้อง ใน หนี้ งวด ใด ที่ พ้น กำหนด อายุความ 5 ปี นับ ย้อนหลัง แต่วันฟ้อง ขึ้น ไป จึง เป็น อัน ขาดอายุความ เมื่อ โจทก์ มา ฟ้องคดี นี้ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2535 ซึ่ง สิทธิเรียกร้อง ใน หนี้ งวด ที่อยู่ ภายในกำหนด อายุความ 5 ปี นับ ย้อนหลัง แต่ วันฟ้อง ที่ ไม่ขาดอายุความและ เมื่อ คำนวณ แล้ว เป็น หนี้ ไม่ น้อยกว่า ห้า หมื่น บาท อยู่ ใน หลักเกณฑ์ที่ โจทก์ จะ ฟ้อง ขอให้ จำเลย ทั้ง สอง ล้มละลาย ได้ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง งดสืบพยาน ทั้ง สอง ฝ่าย โดย วินิจฉัย ว่า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ นั้น ไม่ต้องด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา ของ โจทก์ ใน ปัญหา นี้ ฟังขึ้น "
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ให้ ศาลชั้นต้นพิจารณา พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี