โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ โดย ไม่เป็นธรรม ไม่บอกกล่าวล่วงหน้า และ ไม่จ่าย ค่าชดเชย ขอให้ บังคับ จำเลย รับ โจทก์ กลับ เข้าทำงาน ใน ตำแหน่ง อัตรา ค่าจ้าง พร้อม สภาพ การจ้าง ที่ ไม่ ต่ำกว่า เดิมโดย นับ อายุงาน ต่อเนื่อง เสมือน ไม่มี การ เลิกจ้าง และ จ่าย ค่าเสียหาย ให้โจทก์ เป็น รายเดือน เดือน ละ 15,630 บาท นับแต่ วันที่ 7 เมษายน 2537ไป จนกว่า จำเลย จะ รับ โจทก์ กลับ เข้า ทำงาน ตาม เดิม หาก ไม่สามารถปฏิบัติ ได้ ให้ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย จำนวน 93,780 บาท สินจ้าง แทน การบอกกล่าว ล่วงหน้า จำนวน 28,134 บาท และ ค่าเสียหาย จำนวน 937,800 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 1,059,714 บาท นับแต่วันที่ 7 เมษายน 2537 เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย จะ ชำระ ต้นเงิน ดังกล่าวให้ โจทก์ เสร็จ
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า มีเหตุ ที่ จำเลย จะ เลิกจ้าง โจทก์ ได้โดย มิพัก ต้อง บอกกล่าว ล่วงหน้า มิใช่ เป็น การ เลิกจ้าง ที่ ไม่เป็นธรรมแต่ การกระทำ ของ โจทก์ มิใช่ เป็น การ ฝ่าฝืน ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงานเป็น กรณี ที่ ร้ายแรง จำเลย จึง ต้อง จ่าย ค่าชดเชย แก่ โจทก์ พิพากษา ให้จำเลย จ่าย ค่าชดเชย จำนวน 93,780 บาท กับ ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี จาก ต้นเงิน จำนวน ดังกล่าว นับแต่ วันที่ 7 พฤษภาคม 2537 เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก เสีย
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า "จำเลย อุทธรณ์ ว่า ข้อเท็จจริงที่ ศาลแรงงานกลาง ฟัง มา ว่า โจทก์ ซึ่ง เป็น พนักงานรักษาความปลอดภัยใน บริษัท จำเลย เรียก นาง อรศิริ อ่องบางน้อย พนักงาน ทำ ความสะอาด ของ บริษัท พี.ซี.เอส. จำกัด ให้ ขึ้น ไป พบ โจทก์ แล้ว เอา มือ โอบ ไหล่ กับ พูด ขอ หอม แก้ม นาง อรศิริ เป็น การกระทำ ผิดระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน ของ จำเลย เป็น กรณี ร้ายแรง ตาม ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับ การ ทำงาน เอกสาร หมาย ล. 3 ความผิด ประเภท ง. ข้อ 12 นั้นพิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน ดังกล่าว ระบุว่า การ ประพฤติ หรือ ปฏิบัติ ตน หรือ บริการ แขก หรือ พนักงาน อื่น ในลักษณะ ที่ หยาบ โลน หรือ ผิด วัฒนธรรม ประเพณี ของ ไทย แม้ เป็น การกระทำครั้งแรก จำเลย ก็ จะ ดำเนินการ ทางวินัย ด้วย การ ปลด ออกจาก งาน โดย ไม่จ่ายค่าชดเชย ตาม ข้อเท็จจริง ที่ ศาลแรงงานกลาง ฟัง มา ปรากฏว่า จำเลย ประกอบธุรกิจ โรงแรม ซึ่ง ธุรกิจ ประเภท นี้ ต้อง อาศัย ความ เชื่อถือ ไว้ วางใจจาก คน เดินทาง หรือ แขก ผู้ มา พัก หรือ ใช้ บริการ ว่า เป็น ที่ ซึ่ง ให้ ความปลอดภัย สะดวก สบาย และ สงบ จึง จะ แข่งขัน กับ ผู้ที่ ประกอบ ธุรกิจใน ลักษณะ อย่างเดียว กัน ได้ จำเลย มี ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงานดังกล่าว ไว้ เพื่อ จะ ให้ พนักงาน หรือ ลูกจ้าง ปฏิบัติ เพื่อ นำ มา ซึ่ง ความเชื่อถือ ดังกล่าว หาก พนักงาน หรือ ลูกจ้าง ประพฤติ ตน ใน ลักษณะ ที่ ขัด ต่อวัฒนธรรม ประเพณี ของ ไทย อาจจะ ทำให้ โรงแรม ของ จำเลย เสื่อมเสียชื่อเสียง ไม่ว่า จะ ได้ กระทำ ต่อ แขก หรือ พนักงาน อื่น สำหรับ กรณี ของโจทก์ แม้ จะ ได้ กระทำ ต่อ พนักงาน ทำ ความสะอาด ที่ บริษัท อื่น ส่ง มา ทำความสะอาด โรงแรม ของ จำเลย ก็ เข้า ลักษณะ เป็น แขก หรือ พนักงาน อื่นเช่นกัน นอกจาก นี้ การกระทำ ของ โจทก์ ตาม ข้อเท็จจริง ที่ ศาลแรงงานกลางฟัง มา นั้น ยัง เป็น ความผิด ทางอาญา ฐาน กระทำอนาจาร ด้วย แม้ ขณะที่โจทก์ กระทำ จะ ไม่ปรากฏ ว่า มี ผู้อื่น พบ เห็น แต่ อย่างน้อย ก็ มีนาง อรศิริ ที่ พบ เห็น การกระทำ ของ โจทก์ และ ได้ เล่าเรื่อง ที่ เกิดขึ้น ให้ ผู้ ร่วม งาน ฟัง เห็น ได้ว่า จำเลย ได้รับ ความเสียหาย ต่อ ชื่อเสียง แล้วและ มิใช่ เป็น เรื่อง เล็กน้อย ดัง ที่ ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย แต่ เป็น กรณีฝ่าฝืน ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน ของ จำเลย กรณี ที่ ร้ายแรง จำเลย จึงเลิกจ้าง โจทก์ ได้ โดย ไม่ต้อง จ่าย ค่าชดเชย ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) ที่ ศาลแรงงานกลาง พิพากษา มา นั้นศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย อุทธรณ์ จำเลย ฟังขึ้น "
พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย ไม่ต้อง จ่าย ค่าชดเชย ให้ โจทก์ นอกจาก ที่แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง