โจทก์ ฟ้อง และ ขอ แก้ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สอง เป็น สามี ภรรยา กันโจทก์ เคย ฟ้อง จำเลย ที่ 1 กับ บุคคล อื่น ที่ มิได้ ฟ้อง ใน คดี นี้ศาล พิพากษา ถึงที่สุด ให้ โอน ที่ดิน พร้อม ตึกแถว แก่ โจทก์ จำเลย ที่ 1 ไม่ สามารถ โอน ได้ เพราะ ได้ โอน ให้ บุคคล อื่น ไป ก่อน แล้ว จำเลยทั้ง สอง ทราบ ถึง การ ใช้ สิทธิ ทาง ศาล ของ โจทก์ ยัง โอน ทรัพย์สินให้ แก่ ผู้อื่น โดย รู้ ว่า ทรัพย์สิน เหล่านั้น จะ ต้อง ถูก ยึด เพื่อบังคับคดี การ กระทำ ของ จำเลย ทั้ง สอง เป็น การ กระทำ เพื่อ มิให้โจทก์ ได้ รับ ชำระ หนี้ ทั้งหมด หรือ บางส่วน ขอ ให้ ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 187, 350
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว ให้ ประทับฟ้อง ไว้ พิจารณา
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 187, 350, 83 ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา187 ซึ่ง เป็น บทหนัก เรียง กระทง ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา91 จำคุก กระทง ละ 1 ปี จำเลย ทั้ง สอง กระทำ ความผิด 3 กระทง คง จำคุกจำเลย ทั้ง สอง คน ละ 3 ปี
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิด เพียงคน ละ หนึ่ง กระทง คง ลงโทษ จำคุก คน ละ 1 ปี นอกจาก ที่ แก้ คง ให้เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี นี้ ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สองมี ความผิด สาม กระทง จำคุก กระทง ละ 1 ปี รวม จำคุก จำเลย ทั้ง สองคนละ 3 ปี ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิดกระทง เดียว จำคุก คน ละ 1 ปี เป็น การ แก้ไข เล็กน้อย ต้องห้าม มิให้ฎีกา ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา218 จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ว่า จำเลย ทั้ง สอง กระทำ ไป โดย ไม่ มี เจตนาที่ จะ มิให้ โจทก์ ได้ รับ ชำระหนี้ หรือ เจตนา ที่ จะ หลบหลีก มิให้ทรัพย์ ที่ โอน ไป ถูก ยึดทรัพย์ เพื่อ ชำระหนี้ ฎีกา ของ จำเลย ทั้งสอง จึง เป็น ฎีกา โต้เถียง ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง ต้องห้าม ตาม บทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกา ไม่ รับ วินิจฉัย
จำเลย ได้ โอน ที่ดิน ทั้ง 3 แปลง ตาม ฟ้อง รวม 3 ครั้ง ด้วยกัน แม้ว่าจำเลย จะ มี เจตนา เพียง ประการ เดียว ที่ จะ ไม่ ให้ โจทก์ บังคับคดีเอา แก่ ทรัพย์สิน ของ จำเลย ที่ 1 ก็ ตาม แต่ การ โอน ที่ดิน ไป แต่ ละครั้ง นั้น ก็ เป็น ความผิด ฐาน โกง เจ้าหนี้ สำเร็จ แล้ว ทุกครั้งการ กระทำ ของ จำเลย จึง เป็น การ กระทำ หลายกรรม ต่างกัน มิใช่กรรมเดียว คำพิพากษา ของ ศาลอุทธรณ์ ไม่ ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกาฎีกา ของ โจทก์ ฟัง ขึ้น
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ บังคับคดี ลงโทษ จำเลย ทั้ง สอง ตามคำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น และ ให้ ยก ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง.