คดี ทั้ง ห้า สำนวน นี้ ศาลแรงงานกลาง มี คำสั่ง ให้ รวม พิจารณาพิพากษา เข้า ด้วยกัน โดย ให้ เรียก โจทก์ ตามลำดับ สำนวน ว่า โจทก์ ที่ 1ถึง ที่ 5
โจทก์ ทั้ง ห้า สำนวน ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง ห้า เป็น ลูกจ้าง รายเดือนของ จำเลย จำเลย จัด ให้ โจทก์ พัก ไม่ครบ วัน ละ 1 ชั่วโมง ขอให้ บังคับจำเลย จ่ายเงิน แก่ โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 4 คน ละ จำนวน 7,390 บาท และโจทก์ ที่ 5 จำนวน 3,328 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย จัด เวลา พัก ให้ ลูกจ้าง รวมทั้ง โจทก์ ทั้ง ห้าครบ 1 ชั่วโมง แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ ทั้ง ห้า อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า "ศาลแรงงานกลาง ฟัง ข้อเท็จจริงเป็น ยุติ ว่า ลูกจ้าง จำเลย ซึ่ง รวมทั้ง โจทก์ ทั้ง ห้า มิได้ พัก ระหว่างเวลา 10-10.20 นาฬิกา ซึ่ง เป็น เวลา ที่ จำเลย และ ผู้แทน ลูกจ้าง ตกลงให้ เป็น เวลา พัก ช่วง แรก แต่ ลูกจ้าง ได้ หยุดพัก เป็น เวลา 12-12.40นาฬิกา และ ปล่อย ให้ ลูกจ้าง กลับ บ้าน ได้ ตั้งแต่ เวลา 17.30 นาฬิกาเห็นว่า ข้อตกลง ระหว่าง จำเลย กับ ลูกจ้าง ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 ระบุ ว่าให้ ลูกจ้าง เลิก งาน เวลา 17.50 นาฬิกา เพราะ ฉะนั้น เวลา ระหว่าง17.30-17.50 นาฬิกา จึง ยัง เป็น เวลาทำงาน อยู่ จำเลย ให้ ลูกจ้างรวมทั้ง โจทก์ ทั้ง ห้า ไม่ต้อง ทำงาน ใน ช่วง เวลา ดังกล่าว โดย ยินยอมให้ กลับ บ้าน ได้ ก่อน เวลา เลิก งาน ช่วง เวลา 17.30-17.50 นาฬิการวม 20 นาที ถือได้ว่า เป็น เวลา ที่ จำเลย จัด ให้ พัก แล้ว เมื่อ รวมกับเวลา พัก ระหว่าง 12-12.40 นาฬิกา อีก 40 นาที จึง ครบ 1 ชั่วโมงกรณี จึง ชอบ ด้วย ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 และ ข้อ 6 ซึ่ง กำหนด ว่า นายจ้าง ต้อง จัด ให้ ลูกจ้าง มี เวลา พักใน ระหว่าง การ ทำงาน ไม่ น้อยกว่า วัน ละ 1 ชั่วโมง โดย จะ ให้ มี เวลา พักเป็น หลาย ครั้ง ก็ ได้ แต่เมื่อ รวม เวลา พัก แล้ว ต้อง เป็น เวลา ไม่ น้อยกว่า1 ชั่วโมง และ เวลา พัก จะ ต้อง เป็น ระยะเวลา ที่อยู่ ใน ระหว่าง การ ทำงานด้วย คำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง ชอบแล้ว อุทธรณ์ โจทก์ ทั้ง ห้า ฟังไม่ขึ้น "
พิพากษายืน