โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน กระทำ อนาจาร และ พยายาม ข่มขืนกระทำชำเรา ผู้เสียหาย ทั้ง ยัง ร่วมกัน ใช้ กำลัง ทำร้าย ผู้เสียหายโดย มี เจตนาฆ่า เพื่อ ความ สะดวก ใน การ ที่ จำเลย ทั้ง สอง จะ กระทำความผิด ฐานข่มขืนกระทำชำเรา ด้วย ขอ ให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 80, 83, 276, 278, 288, 289
ผู้เสียหาย ยื่น คำร้อง ขอ เข้า เป็น โจทก์ร่วม ศาลชั้นต้น อนุญาต
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ รับ ว่า ได้ กระทำ ผิด จริง ดัง ฟ้อง แต่ ไม่มี เจตนา ฆ่า โจทก์ร่วม มี เจตนา เพียง ทำร้าย เพื่อ ความ สะดวก ใน การที่ จะ ข่มขืน กระทำชำเรา เท่านั้น
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276, 80 และ 278 กระทง หนึ่ง ลงโทษ ตาม มาตรา276, 80 ซึ่ง เป็น บทหนัก จำคุก คนละ 13 ปี 4 เดือน และ ผิด ตาม มาตรา289(6), 80 อีก กระทง หนึ่ง จำคุก จำเลย ทั้ง สอง ตลอด ชีวิต เปลี่ยนโทษ จำคุก ตลอด ชีวิต เป็น โทษ จำคุก 50 ปี ตาม มาตรา 91 รวม ความผิดสอง กระทง จำคุก จำเลย ทั้ง สอง คนละ 63 ปี 4 เดือน
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278, 289 (6), 80 อัน เป็น การ กระทำ กรรมเดียวเป็น ความผิด ต่อ กฎหมาย หลาย บท ลงโทษ ตาม มาตรา 289 (6), 80 ซึ่ง เป็นบทหนัก ให้ จำคุก ตลอด ชีวิต คำให้การ ของ จำเลย ทั้ง สอง มี เหตุ สมควรลดโทษ ลดโทษ ให้ จำเลย ที่ 1 หนึ่ง ใน สาม จำเลย ที่ 2 หนึ่ง ใน สี่ตาม มาตรา 78 เปลี่ยน โทษ จำคุก ตลอด ชีวิต เป็น โทษ จำคุก 50 ปี ตามมาตรา 53 คง จำคุก จำเลย ที่ 1 มี กำหนด 33 ปี 4 เดือน จำคุก จำเลย ที่2 มี กำหนด 37 ปี 6 เดือน
โจทก์ และ จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ เข้า รวบ กอด โจทก์ร่วม ทางด้านหลัง และ เมื่อ โจทก์ร่วม ดิ้น ขัดขืน พร้อมทั้ง ร้อง ให้ คน ช่วย จำเลย ที่ 2 ได้ เข้า ช่วย จับ แขน โจทก์ร่วม ไว้ ไม่ ให้ ดิ้น เพื่อให้ จำเลย ที่ 1 ปิด ปาก และ บีบคอ โจทก์ร่วม จน สลบ และ หมดสติ ไปอัน เป็น การ ร่วมกัน กระทำ ความผิด สำหรับ ความผิด ฐาน พยายาม ข่มขืนกระทำชำเรา และ กระทำ อนาจาร ได้ ความ จาก นาย ประนอม นาย สมจิตร และนาง สวิง พยานโจทก์ แต่ เพียง ว่า นาย ประนอม กับ นาย สมจิตร เห็นจำเลย ที่ 1 นั่ง คร่อม โจทก์ร่วม ตรง บริเวณ ท้องน้อย และ เมื่อ นางสวิง ขึ้น ไป ดู หลังจาก ที่ จำเลย ทั้ง สอง หลบหนี ไป แล้ว ก็ เห็นเสื้อ ชั้นนอก ของ โจทก์ร่วม ถูก เลิกขึ้น เสื้อชั้นใน ถูก เลิกลงมอง เห็น นม ข้างซ้าย กางเกง รูด ลง ไป สุด ง่ามขา มอง เห็น กางเกงในทั้ง ตัว แม้ จำเลย ที่ 1 จะ นำสืบ รับ ว่า ได้ ถอด เสื้อ และ กางเกงของ ตน ออก คง เหลือ แต่ กางเกงใน และ ขณะ ที่ กำลัง จับ นม โจทก์ร่วมพอดี มี คน มา จำเลย ที่ 1 จึง หลบหนี ไป ก็ ตาม ลักษณะ การ กระทำ ของจำเลย ทั้ง สอง ยัง ไม่ อยู่ ใน วิสัย ที่ จะ กระทำชำเรา โจทก์ร่วม ได้การ กระทำ ของ จำเลย ทั้ง สอง จึง ไม่ เป็น ความผิด ฐานข่มขืนกระทำชำเรา แม้ จำเลย ทั้ง สอง ให้การ รับสารภาพ ก็ ลงโทษ จำเลย ทั้ง สอง ฐาน นี้ไม่ ได้ จำเลย ทั้ง สอง คง มี ความผิด ฐาน ร่วมกัน กระทำ อนาจารเท่านั้น ส่วน ความผิด ฐาน พยายาม ฆ่า โจทก์ร่วม นั้น ตาม ผล การตรวจ ชันสูตร บาดแผล ของ แพทย์ ท้ายฟ้อง ปรากฏ ว่า โจทก์ร่วม มี โลหิตออก ใต้ ตาขวา ทั้ง สอง ข้าง มี รอยแดง ที่ คอ ด้านขวา ยาว ประมาณ 2นิ้ว กว้าง ประมาณ 1/3 นิ้ว ด้านซ้าย ยาว ประมาณ 1 นิ้ว กว้าง ประมาณ1/3 นิ้ว เจ็บ ใน คอ เวลา กลืน ซึ่ง นาย ถนอม เติมกลิ่นจันทร์ แพทย์ผู้ตรวจ เบิกความ ว่า ลักษณะ บาดแผล เช่นนี้ เป็น การ ถูก บีบคอ อย่างรุนแรง โลหิต เดิน ไม่ สะดวก ทำ ให้ โลหิตฝอย ใน ตาขวา แตก หาก ไม่ ได้รับ ความ ช่วยเหลือ ทัน ท่วงที อาจ ถึง ตาย ได้ และ ถ้า ผู้ ถูก บีบ สลบไป โอากส ที่ จะ ตาย มี ได้ เสมอ ดังนั้น การ ที่ จำเลย ที่ 2 ร่วมกับจำเลย ที่ 1 กระทำ ดังกล่าว จึง ย่อม จะ เล็งเห็น ผล ของ การ กระทำ นั้นได้ ว่า โจทก์ร่วม อาจ ถึง แก่ ความตาย ได้ ถือ ได้ ว่า เป็น การ กระทำโดย มี เจตนา ฆ่า แต่ การ กระทำ ไม่ บรรลุผล จำเลย ที่ 2 จึง มี ความผิดฐาน ร่วมกับ จำเลย ที่ 1 พยายาม ฆ่า โจทก์ร่วม เพื่อ ความ สะดวก ใน การที่ จำเลย ทั้ง สอง จะ กระทำ ความผิด ฐานข่มขืนกระทำชำเรา ตาม ฟ้อง
ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า ความผิด ฐาน พยายาม ฆ่า เพื่อ ความ สะดวก ใน การที่ จะ ข่มขืนกระทำชำเรา เป็น คน ละ กรรม กับ ความผิด ฐาน กระทำ อนาจารและ พยายาม ข่มขืน กระทำชำเรา นั้น เห็น ว่า แม้ โจทก์ จะ บรรยายฟ้องเป็น การ กระทำ สอง ตอน ก็ ตาม แต่ การ กระทำ ของ จำเลย ทั้ง สอง เป็นการ กระทำ ที่ ต่อเนื่อง กัน กล่าวคือ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน จับโจทก์ร่วม และ บีบคอ โจทก์ร่วม จนถึง กับ สลบ ไป อัน เป็น ความผิด ฐานพยายาม ฆ่า ก็ โดย มี เจตนา เพื่อ ที่ จะ ข่มขืน กระทำชำเรา โจทก์ร่วมเป็น การ กระทำ ผิด ต่อ กัน ใน คราวเดียว ยัง มิได้ ขาด ตอน จึง เป็นการ กระทำ กรรมเดียว เป็น ความผิด ต่อ กฎหมาย หลายบท หา ใช่ เป็นความผิด หลาย กรรม ต่าง กัน ดัง ที่ โจทก์ ฎีกา ไม่
พิพากษา ยืน.