ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ผู้คัดค้าน เป็น กรรมการ ลูกจ้าง ใน สถานประกอบการ ของ ผู้ร้อง เมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม 2537 เวลา 10.25นาฬิกา ผู้คัดค้าน ได้ ลัก น้ำมัน ของ ผู้ร้อง เป็น การทุจริต ต่อหน้า ที่มี ความผิด ตาม ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน ของ บริษัท ผู้ร้อง หมวด ที่ 11การ เลิกจ้าง ข้อ ที่ 30.1 คือ เลิกจ้าง โดย ไม่ต้อง จ่าย ค่าชดเชยและ มี ความผิด ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(1) ขอให้ ศาล อนุญาต ให้ ผู้ร้อง เลิกจ้าง ผู้คัดค้าน โดย ไม่ต้องจ่าย ค่าชดเชย
ผู้คัดค้าน ยื่น คำคัดค้าน ว่า ผู้คัดค้าน ไม่ได้ กระทำผิด ตาม คำร้องขอให้ ยกคำร้อง
ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า ผู้คัดค้าน เป็น กรรมการ ลูกจ้างใน สถาน ประกอบการ ของ ผู้ร้อง ผู้คัดค้าน ได้ มอบ น้ำมันหล่อลื่นบรรจุ ใน กา ให้ นาย กมล พงษ์อุดม ไป เมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม 2537ใน การ ที่นาย กมล เบิก น้ำมัน ไป จาก ผู้คัดค้าน นั้น มี นาย นพดล จันทรลักษณ์ ซึ่ง ทำงาน อยู่ แผนก เดียว กับ ผู้คัดค้าน รู้เห็น อยู่ ด้วย หาก ผู้คัดค้าน จะ ร่วม กับ นาย กมล ลักทรัพย์ ดังกล่าว ก็ ไม่ น่า จะ ให้ ผู้อื่น รู้เห็น ลำพัง คำพยาน บอกเล่า ยัง ไม่มี น้ำหนัก พอ รับฟัง ว่าผู้คัดค้าน ทุจริต ต่อหน้า ที่ หรือ กระทำ ความผิด อาญา โดย เจตนา แก่ ผู้ร้องการ ที่ ผู้คัดค้าน มอบ น้ำมันหล่อลื่น ให้ นาย กมล ไป แม้ จะ เป็น การ ผิดระเบียบ ก็ ยัง ฟัง ไม่ได้ ว่า เป็น กรณี ร้ายแรง ทั้ง ไม่ปรากฏ ว่ากรณี ดังกล่าว ผู้ร้อง เลิกจ้าง ผู้คัดค้าน ได้ มี คำสั่ง ให้ยก คำร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า "ผู้ร้อง อุทธรณ์ ว่าตาม พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52 เพียงแต่บังคับ ให้ ผู้ร้องขออนุญาต ต่อ ศาล ก่อน จึง เลิกจ้าง กรรมการ ลูกจ้าง ได้เมื่อ ปรากฏว่า กรรมการ ลูกจ้าง กระทำผิด ระเบียบ ก็ เป็น สิทธิ ของนายจ้าง ที่ จะ ไม่ยอม ให้ ลูกจ้าง ทำงาน ต่อไป คดี นี้ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัย ว่า การกระทำ ของ ผู้คัดค้าน ผิดระเบียบ แม้ ใน กรณี ไม่ ร้ายแรงก็ ต้อง อนุญาต ให้ ผู้ร้อง เลิกจ้าง ผู้คัดค้าน ได้ นั้น เห็นว่า มาตรา 52แห่ง พระราชบัญญัติ ดังกล่าว บัญญัติ ว่า "ห้าม มิให้ นายจ้าง เลิกจ้างลด ค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวาง การปฏิบัติหน้าที่ ของ คณะกรรมการ ลูกจ้างหรือ กระทำการ ใด ๆ อัน อาจ เป็น ผล ให้ กรรมการ ลูกจ้าง ไม่สามารถทำงาน อยู่ ต่อไป ได้ เว้นแต่ จะ ได้รับ อนุญาต จาก ศาลแรงงาน " เห็น ได้ว่าการ ที่ ศาล จะ อนุญาต ให้ นายจ้าง เลิกจ้าง กรรมการ ลูกจ้าง นั้น จะ ต้องปรากฏว่า มีเหตุ ถึง ขั้น ให้ เลิกจ้าง กรรมการ ลูกจ้าง ได้ ด้วย นั่น คือกระทำผิด ร้ายแรง ถึง ขั้น เลิกจ้าง ได้ ศาล จึง จะ อนุญาต ให้ เลิกจ้างกรรมการ ลูกจ้าง ได้ ด้วย ทั้งนี้ เพราะ การ เลิกจ้าง เป็น โทษ ร้ายแรงซึ่ง ทำให้ ลูกจ้าง ต้อง พ้น จาก หน้าที่ การงาน ไป กลาย เป็น คน ว่าง งานและ ที่ ต้อง ให้ ขออนุญาต ต่อ ศาล ก็ มุ่ง จะ ไม่ให้ นายจ้าง บีบคั้น กรรมการลูกจ้าง คดี นี้ ผู้ร้อง เอง ก็ อ้าง เหตุ เลิกจ้าง ผู้คัดค้าน ว่าผู้คัดค้าน ลัก น้ำมัน เป็น การทุจริต ต่อหน้า ที่ อันเป็น ความผิด ตามระเบียบ ข้อบังคับ การ ทำงาน หมวด ที่ 11 การ เลิกจ้าง ข้อ ที่ 30ข้อ ย่อย ที่ 30.1 เลิกจ้าง ได้ โดย ไม่ต้อง จ่าย ค่าชดเชย และ ผิด ต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1)ซึ่ง เห็น ได้ว่า ผู้ร้องขออนุญาต เลิกจ้าง ผู้คัดค้าน เฉพาะ ใน กรณีกระทำผิด ร้ายแรง ซึ่ง เลิกจ้าง แล้ว ไม่ต้อง จ่าย ค่าชดเชย เท่านั้นดังนั้น เมื่อ ศาลแรงงานกลาง พิจารณา แล้ว ฟัง ไม่ได้ ว่า ผู้คัดค้านทุจริต ต่อหน้า ที่ หรือ กระทำผิด อาญา โดย เจตนา แก่ ผู้ร้อง ซึ่ง นับ ว่าเป็น ความผิด กรณี ร้ายแรง จึง ไม่มี เหตุ เพียงพอ ที่ จะ เลิกจ้างผู้คัดค้าน ตาม ที่ ผู้ร้อง ขอ มา การ ที่ ศาลแรงงานกลาง ไม่อนุญาต ให้ผู้ร้อง เลิกจ้าง ผู้คัดค้าน จึง ชอบแล้ว อุทธรณ์ ของ ผู้ร้อง ฟังไม่ขึ้น "
พิพากษายืน