โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ขับ รถยนต์ แข่ง กับพวก ที่ หลบหนี ไป ตามถนน เพชรเกษม โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต จาก เจ้าพนักงาน จราจร ทั้ง ยัง ขับ รถยนต์ ด้วย ความ เร็ว สูง โดย ไม่ คำนึง ถึง ความปลอดภัย เดือดร้อนของ ผู้อื่น และ จำเลย ขับ รถยนต์ ดังกล่าว ไม่แสดง แผ่น ป้าย ทะเบียนและ ป้ายวงกลม แสดง การ เสีย ภาษี ประจำปี เจ้าพนักงาน จับ จำเลย ได้พร้อม รถยนต์ คัน ดังกล่าว เป็น ของกลาง ขอให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 134, 160 ทวิ พระราชบัญญัติ รถยนต์พ.ศ. 2522 มาตรา 11, 60 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 46, 91ริบของกลาง เรียก ประกัน ทัณฑ์บน จำเลย และ เพิกถอน ใบอนุญาต ขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล ของ จำเลย ด้วย จำเลย ให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 134 (ที่ ถูก มาตรา 134 วรรคหนึ่ง ), 160 ทวิพระราชบัญญัติ รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 11, 60 เรียง กระทง ลงโทษความผิด ฐาน แข่ง รถ ใน ทาง โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต จำคุก 2 เดือน และ ปรับ10,000 บาท จำเลย ให้การรับสารภาพ มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก 1 เดือน และ ปรับ5,000 บาท โทษ จำคุก ให้ รอการลงโทษ ไว้ 1 ปี ให้ จำเลย ไป รายงาน ตัว ต่อพนักงานคุมประพฤติ จังหวัด สงขลา ทุก 2 เดือน ต่อ ครั้ง เป็น เวลา 1 ปีและ กระทำ กิจกรรม บริการ สังคม ตาม ที่ พนักงานคุมประพฤติ และ จำเลยเห็นสมควร เป็น เวลา 30 ชั่วโมง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ กักขัง แทน คำขอ อื่น ให้ยก โจทก์ อุทธรณ์ ขอให้ ริบ รถยนต์ ของกลาง โดย อัยการ พิเศษ ประจำ เขต 9ซึ่ง ได้รับ มอบหมาย จาก อัยการ สูงสุด รับรอง ให้ อุทธรณ์ ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ริบ รถยนต์ ของกลางเสีย ด้วย นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น จำเลย ฎีกา ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "ที่ จำเลย ฎีกา ว่า รถยนต์ ของกลาง ไม่ใช่ทรัพย์สิน ที่ ใช้ กระทำ ความผิด โดยตรง ความผิด ของ จำเลย เป็น ความผิดเฉพาะตัว บุคคล และ จำเลย ก็ ได้รับ โทษ ตาม พระราชบัญญัติ จราจรทางบกไป แล้ว จำเลย เพียงแต่ ขับ รถ ใน ลักษณะ หวาดเสียว เท่านั้น รถยนต์ของกลาง ไม่มี เหตุ ที่ จะ ริบ นั้น เห็นว่า โจทก์ ได้ บรรยาย คำฟ้อง ว่าจำเลย ขับ รถยนต์ แข่ง กับพวก ที่ หลบหนี เจ้าพนักงาน ตำรวจ จับ จำเลย ได้พร้อม ยึด รถยนต์ ดังกล่าว เป็น ของกลาง จำเลย ให้การรับสารภาพ คดี ฟังเป็น ยุติ ได้ ตาม คำฟ้อง คำให้การ จำเลย ว่า รถยนต์ ของกลาง เป็น ทรัพย์ที่ ใช้ ใน การกระทำ ความผิด จำเลย จะ ฎีกา โต้แย้ง ว่า รถยนต์ ของกลางมิใช่ ทรัพย์ ที่ ใช้ ใน การกระทำ ความผิด อีก ไม่ได้ เมื่อ ฟัง ว่า รถยนต์ของกลาง เป็น ทรัพย์ ที่ ใช้ ใน การกระทำ ความผิด ศาล ย่อม มีอำนาจ พิพากษาริบ ได้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ซึ่ง บัญญัติ ให้ อำนาจ ไว้ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษา ชอบแล้ว ฎีกา จำเลย ฟังไม่ขึ้น " พิพากษายืน