ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่อาจทำได้ในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษที่ไม่เหมาะสม โดยพิจารณาจากพฤติการณ์จำเลย
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนคดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรี ซึ่งในกรณีนี้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ไม่ได้ให้อำนาจ ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้น อนุญาตให้ฎีกาได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้ศาลรอการลงโทษ หรือรอการกำหนดโทษจำเลยที่ 1 นั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง การอนุญาตให้ฎีกาของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษา ศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบ อย่างไรก็ตามเมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณา ของศาลฎีกาแล้ว และศาลฎีกาเห็นว่าพฤติการณ์ที่ปรากฏในคดี โทษที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดยังไม่เหมาะสมแก่รูปคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจเปลี่ยนแปลงดุลพินิจในการลงโทษ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดไว้ได้ เมื่อขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 อายุ 20 ปี เคยเข้าศึกษาระดับวิทยาลัย ปัจจุบันมีการงาน เป็นหลักแหล่งมั่นคง ความผิดที่จำเลยที่ 1 กระทำมิใช่ อาชญากรรมที่เป็นความผิดร้ายแรง จำเลยที่ 1 ไม่เคย ต้องโทษจำคุกมาก่อน หากให้โอกาสจำเลยที่ 1 กลับตัวเป็น พลเมืองดีโดยการรอการลงโทษจำคุกให้จะได้รับผลดีกว่าการที่จะ ลงโทษกักขังแทนโดยจำคุก แต่เพื่อให้จำเลยที่ 1 หลาบ จำ และปรามมิให้จำเลยที่ 1 กระทำผิดในลักษณะนี้อีก จึงเห็นควร ลงโทษปรับด้วย