โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ ๑ - ๒ สมคบกันเขียนกรอกข้อความซึ่งรู้อยู่ว่าเป็นเท็จลงในใบขนสินค้าขาเข้า และจำเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานศุลกากรได้สมคบกับจำเลยที่ ๑ - ๒ ทำความผิดดังกล่าวแล้วด้วย ขอให้ลงโทษ ตามกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๘,๑๔๖,๒๓๐,๗๐,๗๑,๖๓และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๔๗๗(ฉะบับที่ ๒) มาตรา ๓ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.๒๔๖๙ มาตรา ๒๗,๓๔,๙๙ และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉะบับที่ ๙ )พ.ศ.๒๔๘๒ มาตรา ๑๖
ศาลอาญาพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ศาลอาญา ปรับจำเลยที่ ๑ ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.๒๔๖๙ มาตรา ๙๙ และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๔๘๒ มาตรา ๑๖ และจำคุกจำเลยที่ ๓ ตามกฎหมายอาญามาตรา ๑๔๖,๖๓ ส่วนจำเลยที่ ๒ ปล่อยตัวไป
จำเลยที่ ๑ และ ๓ ฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่าการที่จำเลยที่ ๑ ทำใบขนสินค้ายื่ต่อเจ้าพนักงานศุลกากรขอเสียเงินค่าภาษี รายการสินค้าและราคาที่เขียนไว้ผิดกับความจริงเกือบกึ่งจำนวนแห่งอัตราที่ควรต้องเสียภาษีเรยกได้ว่าเป็นการแสดงความเท็จหรือความไม่บริบูรณ์ตามมาตรา ๙๙ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.๒๔๖๙ ซึ่งตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.๒๔๘๒มาตรา ๑๖ ให้ถือว่าเป็นความผิดโดยประมาทเลินเล่อหรือหาไม่ จำเลยที่ ๑ จึงมีผิดตามกฎหมายที่กล่าวนี้ ส่วนจำเลยที่ ๓ นั้นจะต้องพิจารณาตามหลักกฎหมายสามัญมิใช่กฎหมายพิเศษคือโจทก์มีหน้าที่จะต้องพิศูจน์ให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาทำผิดกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอาญามาตรา ๔๓ แต่คดีนี้ไม่ได้ความดังกล่าวนั้น จึงลงโทษไม่ได้ จึงพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ปล่อยจำเลยที่ ๓ ไป