โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ได้ ยื่น แบบแสดงรายการ ภาษีป้าย ที่ ต้อง เสียเป็น เงิน 5,070 บาท พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ที่ 1 ตรวจสอบ แล้วประเมิน ภาษีป้าย ให้ โจทก์ เสีย เป็นเงิน 31,720 บาท โจทก์ โต้แย้งพนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ที่ 1 แจ้ง ว่า จะ หารือ กับ จำเลย ที่3 และ ทำ การ ประเมิน ใหม่ ต่อมา เมื่อ วันที่ 24 พฤษภาคม 2526 พนักงานเจ้าหน้าที่ ได้ ประเมิน ใหม่ ว่า ได้ หารือ กับ จำเลย ที่ 3 แล้วยืนยัน ให้ โจทก์ เสีย ภาษีป้าย เป็นเงิน 31,720 บาท พร้อม ค่า เพิ่มภาษีป้าย 317.20 บาท รวม เป็น เงิน 32,037.20 บาท ให้ โจทก์ ชำระ ภายในเจ็ด วัน วันที่ 1 มิถุนายน 2526 โจทก์ ยื่น อุทธรณ์ การ ประเมิน ไป ยังจำเลย ที่ 3 แต่ จำเลย ที่ 2 ไม่ รับ อุทธรณ์ ของ โจทก์ อ้าง ว่า ยื่นล่วงเลย ระยะ เวลา ที่ กฎหมาย กำหนด ไว้ ขอ ให้ พิพากษา ว่า อุทธรณ์ของ โจทก์ เป็น อุทธรณ์ ที่ ยื่น ภายใน ระยะ เวลา ชอบ ด้วย กฎหมายและ แบบแสดงรายการ ภาษีป้าย ที่ โจทก์ ยื่น นั้น ชอบ แล้ว
จำเลย ทั้ง สี่ ให้การ ว่า โจทก์ ยื่น อุทธรณ์ เกิน กำหนด เวลา และการ ประเมิน ภาษีป้าย ของ จำเลย ชอบ แล้ว โจทก์ ไม่ มี อำนาจฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา ของ ศาลชั้นต้น โจทก์ ขอ ถอน ฟ้อง จำเลย ที่ 3ศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า มี ปัญหา ว่า โจทก์ ยื่น อุทธรณ์ การ ประเมินภาษีป้าย ต่อ ผู้ว่าราชการ จังหวัด ภายใน 30 วัน นับแต่ วัน ที่ ได้รับ แจ้ง การ ประเมิน หรือไม่ ข้อเท็จจริง ใน ข้อ นี้ ได้ ความ เป็นยุติ ว่า เมื่อ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2526 โจทก์ ยื่น แบบแสดงรายการภาษีป้าย ประจำปี พ.ศ. 2526 ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ที่ 1โดย คำนวณ ว่า ต้อง เสีย ภาษีป้าย 5,070 บาท ตาม เอกสาร หมาย จ.1 แต่พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ที่ 1 ตรวจสอบ แล้ว เห็น ว่า ไม่ ถูกต้องจึง ทำ การ ประเมิน ใหม่ เป็น ค่า ภาษีป้าย ทั้งสิ้น 31,720 บาท แล้วแจ้ง ไป ยัง โจทก์ ตาม หนังสือ แจ้ง การ ประเมิน ภาษีป้าย ลง วันที่1 มีนาคม 2526 เอกสาร หมาย จ.2 โจทก์ ได้ รับ หนังสือ ดังกล่าว เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2526 โจทก์ มิได้ อุทธรณ์ แต่ ได้ โต้แย้ง ต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 มี หนังสือ หารือผู้ว่าราชการจังหวัด จำเลย ที่ 3 จำเลย ที่ 3 ตอบ มา ยัง จำเลย ที่ 1ตาม หนังสือ ลง วันที่ 17 พฤษภาคม 2526 เอกสาร หมาย จ.6 แผ่น ที่ 1ว่า จำเลย ที่ 1 คำนวณ ถูกต้อง แล้ว ต่อมา วันที่ 24 พฤษภาคม 2526จำเลย ที่ 1 มี หนังสือ ตาม เอกสาร หมาย จ.6 แผ่น ที่ 2 แจ้ง ให้ โจทก์ทราบ ผล การ หารือ จำเลย ที่ 3 กับ ให้ โจทก์ นำ ค่า ภาษีป้าย 31,720บาท พร้อม เงิน เพิ่ม 317.20 บาท ไป ชำระ ภายใน 7 วัน นับแต่ วัน รับหนังสือ ครั้น วันที่ 1 มิถุนายน 2526 โจทก์ จึง อุทธรณ์ การ ประเมินภาษีป้าย ต่อ ผู้ว่าราชการจังหวัด จำเลย ที่ 3 โดย ยื่น แก่ พนักงานเจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ที่ 1 ตาม เอกสาร หมาย จ.7 จำเลย ที่ 1 มี คำสั่งไม่ รับ อุทธรณ์ อ้าง ว่า เลย ระยะ เวลา ที่ กฎหมาย กำหนด ไว้ แล้วโจทก์ จึง ฟ้อง คดี นี้ เห็นว่า หนังสือ ของ จำเลย ที่ 1 ลง วันที่1 มีนาคม 2526 ตาม เอกสาร หมาย จ.2 ซึ่ง โจทก์ ได้ รับ เมื่อ วันที่ 3มีนาคม 2526 มี ข้อความ แสดง ชัดแจ้ง ว่า เป็น หนังสือ แจ้ง การ ประเมินภาษีป้าย ส่วน หนังสือ ลง วันที่ 24 พฤษภาคม 2526 ตาม เอกสาร หมาย จ.6แผ่น ที่ 2 เป็น การ แจ้ง ให้ โจทก์ นำ ภาษีป้าย พร้อม เงินเพิ่ม ตามที่ ได้ แจ้ง การ ประเมิน แล้ว ไป ชำระ แก่ จำเลย ที่ 1 ภายใน 7 วันเท่านั้น หา ใช่ หนังสือ แจ้ง การ ประเมิน ไม่ โจทก์ ยื่น อุทธรณ์ ต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อ วันที่ 1 มิถุนายน 2526 จึง เกินกว่า 30 วันนับแต่ วันที่ โจทก์ ได้ รับ แจ้ง การ ประเมิน ตาม เอกสาร หมาย จ.2แล้ว ที่ โจทก์ ฎีกา อ้าง ว่า การ ที่ จำเลย ที่ 1 สั่ง ให้ โจทก์ นำเงิน ภาษีป้าย พร้อม เงินเพิ่ม ไป ชำระ ตาม เอกสาร หมาย จ.6 แผ่น ที่ 2ถือ ได้ ว่า เป็น การ ที่ เจ้าหนี้ ได้ ทำ การ อื่น ใด อัน มี ผล เป็นอย่างเดียว กับ การ การ ฟ้อง คดี เป็น เหตุ ให้ อายุความ สะดุด หยุด ลงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 อายุ อุทธรณ์ การ ประเมิน จึงเริ่ม นับ ตั้งแต่ วันที่ 24 พฤษภาคม 2526 นั้น ศาลฎีกา เห็น ว่า เมื่อฟัง ว่า หนังสือ ฉบับ ดังกล่าว มิใช่ การ แจ้ง การ ประเมิน แล้ว ก็ถือ ไม่ ได้ ว่า เป็น การ ที่ เจ้าหนี้ ได้ ทำ การ อื่นใด เป็นอย่างเดียว กับ การ ฟ้อง คดี ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ทั้ง กำหนด เวลา อุทธรณ์ การประเมิน ก็ มิใช่ อายุความ จะ นำ บทบัญญัติ เรื่อง อายุความ สะดุดหยุด ลง ปรับ หา ได้ ไม่