ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หลักฐานค่าใช้จ่ายทางภาษี: รายจ่ายที่พิสูจน์ตัวผู้รับไม่ได้ และการหักล้างผลขาดทุน
ป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ บัญญัติว่า "การคํานวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิในส่วนนี้ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) รายการที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ตรี ไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย..." และมาตรา 65 ตรี บัญญัติว่า "รายการต่อไปนี้ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคํานวณกำไรสุทธิ... (18) รายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ..." ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวของอนุมาตรานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายรายจ่ายต้องพิสูจน์ตัวตนของผู้รับเงินได้ หากพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับก็ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคํานวณกำไรขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม ป.รัษฎากร ซึ่งทางนําสืบของโจทก์มีรายละเอียดข้อมูล ที่เกี่ยวกับ ก. เพียงสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของ ก. และบิลเงินสดที่ ก. ทำเรื่องเบิกเงินจากโจทก์ที่ปรากฏแต่ชื่อของ ก. เท่านั้น และโจทก์นําตัว ก. มาให้ถ้อยคําในชั้นตรวจสอบของเจ้าหน้าที่สรรพากรไม่ได้ ซึ่งเป็นข้อพิรุธเพราะโจทก์และ ก. ติดต่อทำธุรกิจกันมาเป็นระยะเวลานานมีมูลค่าหลายล้านบาท เฉพาะที่ปรากฏในชุดใบสำคัญจ่ายสำหรับการเช่ารถระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายน 2552 มีการเช่ารถพร้อมคนขับจำนวนมาก โดยคนขับรถต้องไปรับพนักงานของโจทก์ในสถานที่แตกต่างกันเพื่อสำรวจข้อมูลทำแผนที่ ในการเช่ารถดังกล่าวตามปกติย่อมต้องมีหมายเลขโทรศัพท์ของ ก. เพื่อติดต่อใช้รถในแต่ละครั้ง แต่โจทก์กลับไม่สามารถให้ข้อมูลติดต่อ ก. ได้ ประกอบกับไม่ปรากฏว่าโจทก์กับ ก. มีการทำหลักฐานเอกสารการเช่ากันเป็นลายลักษณ์อักษร และไม่มีการระบุตัวทรัพย์สินที่ให้เช่า คงมีเพียงตารางค่าเช่ารถเท่านั้น ซึ่งเป็นการผิดปกติวิสัยของการทำธุรกิจให้เช่ารถจำนวนมาก เมื่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยตรวจปฏิบัติการสอบยัน ณ ภูมิลำเนาของ ก. ก็ไม่สามารถเข้าตรวจได้เนื่องจากสถานประกอบการมีลักษณะเป็นทาวน์เฮาส์ ไม่มีลักษณะเป็นสถานประกอบการ ไม่มีผู้ใดพักอาศัยและไม่พบตัว ก. แม้โจทก์จะประกอบกิจการจริงและได้ชําระเงินค่าเช่ารถให้ ก. โดยสั่งจ่ายเช็คระบุชื่อ ก. และขีดคร่อม ประทับตราว่า A/C PAYEE ONLY ขีดฆ่าคําว่าหรือผู้ถือออกและมีการเรียกเก็บเงินตามเช็คก็ตามแต่โจทก์มีหน้าที่พิสูจน์ให้ได้ว่า ก. เป็นผู้ให้เช่ารถและรับเงินค่าเช่ารถจริง ทางนําสืบของโจทก์จึงยังไม่พอให้รับฟังได้ว่า ก. เป็นผู้ให้เช่ารถที่แท้จริง เพราะหาก ก. เป็นผู้ให้เช่ารถแล้ว น่าจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับ ก. มากกว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบ พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน้อยกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่ารายจ่ายค่าเช่ารถเป็นรายจ่ายต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (18) ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า ค่าโดยสารรถแท็กซี่และรถจักรยานยนต์แม้โจทก์ไม่มีใบเสร็จรับเงินจากผู้ให้บริการมาแสดง แต่โจทก์ได้จ่ายไปจริงและส่งมอบบิลให้แก่จำเลยแล้ว และโดยปกติผู้ให้บริการเหล่านี้จะไม่มีการออกใบเสร็จรับเงินจากผู้ให้บริการมาแสดง โจทก์จึงไม่อาจมีใบเสร็จรับเงินมาแสดงได้ รายจ่ายดังกล่าวจึงไม่ใช่รายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับนั้น เห็นว่า โจทก์เพียงแต่จัดทำยอดรวมสรุปค่าใช้จ่ายซึ่งรวมถึงค่าโดยสารรถแท็กซี่และรถจักรยานยนต์รับจ้าง ซึ่งตามตารางดังกล่าวมีการระบุวันเดือนปีประเภทค่าใช้จ่าย และชื่อผู้เบิกเงิน โดยไม่ปรากฏรายละเอียดของรายจ่าย ประกอบกับประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. 2544 ซึ่งออกตาม พ.ร.บ.การบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรา 7 (1) (2) (3) และ (4) ข้อ 8 ซึ่งกำ