โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 1 ผู้กู้ จำเลย ที่ 2ผู้ค้ำประกัน ให้ ร่วมกัน ชำระ เงิน 30,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตราร้อยละ 15 ต่อ ปี ที่ ค้างชำระ เป็น เวลา 5 ปี เป็น เงิน 22,500 บาทและ ดอกเบี้ย ใน อัตรา เดียว กัน นับแต่ วัน ถัด จาก วันฟ้อง ไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า โจทก์ ฟ้องคดี นี้ เป็น เวลา เกินกว่า10 ปี นับแต่ จำเลย ที่ 1 ผิดนัด คดี โจทก์ จึง ขาดอายุความ และ โจทก์ไม่มี อำนาจฟ้อง เรียก ดอกเบี้ย ซึ่ง จำเลย ที่ 1 คง ค้าง อยู่ อีก 5 ปี ด้วยขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า คดี โจทก์ ขาดอายุความ แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "คดี นี้ มี จำนวน ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ในชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาท ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง โจทก์ ฎีกาได้ เฉพาะ แต่ ปัญหาข้อกฎหมาย จึง ต้อง ฟัง ข้อเท็จจริง ตาม ที่ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 วินิจฉัย ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ กู้เงิน โจทก์ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2523 จำนวน 30,000 บาท กำหนด ชำระ ดอกเบี้ยเดือน ละ ครั้ง และ กำหนด ชำระ เงิน คืน ภายใน วันที่ 4 ธันวาคม 2524จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ค้ำประกัน ตั้งแต่ จำเลย ที่ 1 กู้เงิน ไป จำเลยที่ 1 ไม่เคย ชำระ ดอกเบี้ย ให้ โจทก์ เลย จน กระทั่ง โจทก์ ฟ้องคดี นี้วันที่ 14 มีนาคม 2534 มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่าคดี โจทก์ ขาดอายุความ หรือไม่ เห็นว่า การกู้ยืมเงิน มิได้ กำหนดอายุความ ไว้ โดยเฉพาะ จึง มี อายุความ 10 ปี ตาม ประมวล กฎหมาย แพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ที่ ตรวจ ชำระ ใหม่ ) และ ตามมาตรา 169 เดิม (มาตรา 193/12 ที่ ตรวจ ชำระ ใหม่ ) บัญญัติ ว่า"อายุความ ให้ เริ่ม นับแต่ ขณะที่ อาจ บังคับ สิทธิเรียกร้อง ได้เป็นต้น ไป " จำเลย ที่ 1 จะ ต้อง ชำระ ดอกเบี้ย ให้ โจทก์ เดือน แรกภายใน วันที่ 4 มกราคม 2524 ตาม สัญญา ข้อ 4 การ ที่ จำเลย ที่ 1ไม่ชำระ ดอกเบี้ย ให้ โจทก์ เลย จึง เป็น การ ผิดสัญญา ซึ่ง สัญญา ข้อ 6ระบุ ว่า โจทก์ ฟ้อง เรียกเงิน ต้น และ ดอกเบี้ย ได้ ถือได้ว่า ระยะเวลาซึ่ง โจทก์ อาจ บังคับ สิทธิเรียกร้อง ได้ นับแต่ วันที่ 4 มกราคม 2524ซึ่ง นับ ถึง วันฟ้อง วันที่ 14 มีนาคม 2534 เกิน 10 ปี คดี โจทก์ จึงขาดอายุความ มิใช่ เริ่ม นับแต่ วัน ครบ กำหนด ให้ ชำระ เงิน ตามคำบอกกล่าว ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ต้อง กัน มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น "
พิพากษายืน