โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน ฟ้อง ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สอง ซึ่งเป็น ลูกจ้าง ประจำ โดย อ้าง เหตุ หย่อน ความ สามารถ ใน การ ปฏิบัติหน้าที่ ขอ ให้ บังคับ จำเลย จ่าย เงิน บำเหน็จ และ ค่าชดเชย พร้อมดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สอง ด้วย เหตุ หย่อน ความสามารถ ใน การ ปฏิบัติ หน้าที่ โดย ลากิจ และ ลาป่วย เกิน 45 วัน ต่อปีเป็น เวลา 2 ปี ติดต่อ กัน และ ผิด ทัณฑ์บน ที่ ให้ ไว้ แก่ จำเลย เป็นการ ฝ่าฝืน ระเบียบ และ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน โจทก์ จึง ไม่ มีสิทธิ ได้ รับ ค่าชดเชย การ ที่ โจทก์ แสดง เจตนา ขอ รับ เงิน บำเหน็จแล้ว ไม่ มี สิทธิ ได้ รับ ค่าชดเชย อีก เพราะ ตาม ข้อบังคับ ของ จำเลยถือ ว่า เงิน บำเหน็จ เป็น ค่าชดเชย
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย จ่าย เงิน บำเหน็จ และ ค่าชดเชย พร้อมดอกเบี้ย แก่ โจทก์ ทั้ง สอง
จำเลย ทั้ง สอง สำนวน อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ประเด็น เรื่อง ค่าชดเชย ว่า ตามข้อบังคับ องค์การ ทอผ้า ว่าด้วย การ พนักงาน พ.ศ. 2523 ข้อ 21 (4)กำหนด ให้ เลิกจ้าง พนักงาน ที่ หย่อน ความ สามารถ ใน การ ปฏิบัติหน้าที่ การงาน ข้อ 30 กำหนด ให้ พนักงาน ต้อง ปฏิบัติ ตาม ข้อบังคับระเบียบ และ แบบธรรมเนียม ของ องค์การ ส่วน ข้อ 31 กำหนด ให้ พนักงานต้อง อุทิศ เวลา ของ ตน ให้ แก่ กิจการ ของ องค์การ จะ ละทิ้ง หรือทอดทิ้ง หน้าที่ การงาน มิได้ ตาม ข้อบังคับ ของ จำเลย ดังกล่าว ย่อมเห็น ได้ ว่า การ ที่ โจทก์ ทั้ง สอง ลากิจ และ ลาป่วย เกิน 45 วัน ต่อปี ติดต่อ กัน 2 ปี นั้น มิใช่ เป็น การ ฝ่าฝืน ข้อบังคับ หรือ ระเบียบเกี่ยวกับ การ ทำงาน ของ จำเลย แต่ อย่างใด ส่วน หนังสือ ทัณฑ์บน ตามเอกสาร ท้าย คำให้การ หมายเลข 1 เป็น เพียง การ บอกกล่าว ให้ โจทก์ ทั้งสอง ทราบ ล่วงหน้า ว่า หาก โจทก์ ทั้ง สอง ถูก งด ขึ้น เงินเดือน หรือค่าจ้าง 2 ปี ติดต่อ กัน อาจ จะ ถูก เลิกจ้าง ได้ กรณี ยัง ถือ ไม่ ได้ว่า หนังสือ ทัณฑ์บน ดังกล่าว เป็น หนังสือ ตักเตือน ตาม ความหมาย แห่งประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เพราะ การ ลากิจ และลาป่วย ของ โจทก์ ทั้ง สอง ดังกล่าว ซึ่ง ได้ รับ อนุญาต จากผู้บังคับบัญชา โดย ชอบ แล้ว ไม่ อาจ ถือ ได้ ว่า เป็น ความผิด การ ที่โจทก์ ทั้ง สอง ถูก เลิกจ้าง ฐาน หย่อน ความ สามารถ ใน การ ปฏิบัติหน้าที่ การงาน ซึ่ง ตาม ข้อบังคับ ของ จำเลย ให้ อำนาจ ผู้อำนวยการของ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สอง ได้ แต่ การ เลิกจ้าง ใน กรณีเช่นนี้ ไม่ เข้า ข้อยกเว้น ตาม ข้อ 47 แห่ง ประกาศ กระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลง วันที่ 16 เมษายน 2515 จำเลย จึง ต้องจ่าย ค่าชดเชย ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง
พิพากษา ยืน