โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80, 297
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80 ลงโทษ จำคุก 10 ปี
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ว่า จำเลย กระทำ ความผิด ฐาน พยายามฆ่า นาย ตุ๊ สีดาแก้ว ผู้เสียหาย ดัง ที่ โจทก์ ฟ้อง หรือไม่ โจทก์ มี นาย ตุ๊ ผู้เสียหาย เป็น ประจักษ์พยาน เบิกความ ว่า ก่อน ที่ ผู้เสียหาย จะ ถูก จำเลย แทง ผู้เสียหาย ได้ เข้า ไปพูด คุย กับ นาย เล็ก ผู้เป็น นายจ้าง เกี่ยว ด้วย เรื่อง มีดพก ของ ผู้เสียหาย ที่ หาย ไป ก่อน เกิดเหตุ ประมาณ 7 วัน ขณะ นั้น จำเลย กำลังนั่ง ดื่ม สุรา อยู่ กับพวก ห่าง จาก จุด ที่ ผู้เสียหาย พูด คุย กับ นาย เล็ก ประมาณ 3 วา จำเลย ได้ ตะโกน บอก นาย เล็ก ว่า "ผม เอง เฮียครับ "เมื่อ จำเลย ตะโกน บอก นาย เล็ก เช่นนั้น ผู้เสียหาย ก็ เข้าใจ ว่า จำเลย เป็น คน เอา มีดพก ของ ผู้เสียหาย ไป หลังจาก จำเลย ตะโกน บอก นาย เล็ก แล้ว จำเลย ได้ ถือ มีด ยาว ประมาณ 18 เซนติเมตร กว้าง ประมาณ 2 นิ้ว ครึ่งเดิน เข้า ไป หา นาย เล็ก ผู้เสียหาย เข้าใจ ว่า จำเลย จะ เข้า ไป ทำร้าย ร่างกาย ผู้เสียหาย เนื่องจาก จำเลย แสดง ท่าที ไม่พอ ใจ ผู้เสียหายผู้เสียหาย จึง หยิบ ไม้ท่อน ซึ่ง วาง อยู่ ใน บริเวณ นั้น ยาว ประมาณ 1 ศอกขว้าง ไป ยัง จำเลย ถูก จำเลย ตกลง ไป ใน สระ น้ำ แล้ว ผู้เสียหายก็ วิ่งหนี โดย วิ่ง ไป ทาง สระ น้ำ ที่ จำเลย ตกลง ไป จำเลย จึง ขึ้น จาก สระ น้ำเข้า ไป แทง ผู้เสียหาย 3 ครั้ง จน นาย เล็ก ต้อง เข้า มา ห้ามปราม หลังจาก ถูก แทง แล้ว ผู้เสียหาย ก็ สลบ หมด สติ ไป จาก คำเบิกความ ของผู้เสียหาย จะ เห็น ได้ว่า ผู้เสียหาย เป็น ฝ่าย ก่อเหตุ ก่อนโดย ผู้เสียหาย เข้าใจ ว่า จำเลย เป็น คน เอา มีดพก ของ ผู้เสียหายไป แม้ จะ ได้ความ จาก คำเบิกความ ของ ร้อยตำรวจเอก รุทธพล เนาวรัตน์ พนักงานสอบสวน ว่า ก่อน เกิดเหตุ จำเลย มี เรื่อง ทะเลาะ กับ ผู้เสียหายเกี่ยวกับ สาเหตุ ที่ ผู้เสียหาย ไป ถาม หา มีดพก ของ ผู้เสียหาย ที่ หาย ไป จากจำเลย ทำให้ จำเลย ไม่พอ ใจ จน เกิด การ โต้เถียง กัน ขึ้น ก็ ตาม แต่ สาเหตุแห่ง การ ที่ จำเลย ต้อง ทะเลาะ กับ ผู้เสียหาย ก็ เกิดจาก การ ที่ ผู้เสียหายเป็น ฝ่าย ก่อ ขึ้น ก่อน นั้นเอง ยัง เรียก ไม่ได้ ว่า จำเลย เป็น ฝ่าย ก่อเหตุหรือ สมัครใจ ทะเลาะวิวาท กับ ผู้เสียหาย โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ก่อน ที่ผู้เสียหาย จะ ใช้ ไม้ท่อน ขว้าง จำเลย ผู้เสียหาย ก็ เบิกความรับ ว่า หลังจาก จำเลย ตะโกน บอก นาย เล็ก ว่า "ผม เอง เฮียครับ "จำเลย ก็ เพียงแต่ เดิน ถือ มีด เข้า ไป ยัง บริเวณ ที่นาย เล็ก พูด คุย อยู่ กับ ผู้เสียหาย ใน ลักษณะ ธรรมดา เท่านั้น จำเลย ไม่ได้ แสดง กิริยา อาการรีบร้อน หรือ ส่อ แสดง ว่า จะ เข้า ไป ทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหายแต่อย่างใด ลักษณะ ท่าทาง ของ จำเลย ที่ เดิน ถือ มีด เข้า ไป หา นาย เล็ก และ ผู้เสียหาย เช่นนี้ ยัง บ่ง บอก ไม่ได้ ว่า จำเลย จะ เข้า ไป ทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย อย่าง ที่ ผู้เสียหาย เข้าใจ เพราะ จำเลย อาจจะ ต้องการ เข้า ไปพูด คุย กับ นาย เล็ก ใน ระยะ ใกล้ เหมือนกับ ที่ ผู้เสียหาย พูด คุย อยู่ โดย ไม่ได้ ตั้งใจ เข้า ไป ทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหาย ก็ เป็น ได้ พฤติการณ์ของ จำเลย ดังกล่าว แม้ ผู้เสียหาย เบิกความ ว่า ผู้เสียหาย เข้าใจ ว่าจำเลย จะ เข้า ไป แทง ทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหาย เพราะ จำเลย แสดง ท่าที ไม่พอ ใจผู้เสียหาย อยู่ ก่อน ก็ เป็น เรื่อง ความ เข้าใจ ของ ผู้เสียหาย เพียงฝ่ายเดียว ซึ่ง อาจ เป็น เรื่อง ของ การ เข้าใจผิด ได้ ผู้เสียหาย ยัง ไม่อาจที่ จะ ยก เอา เหตุ แห่ง การ ทำร้ายร่างกาย จำเลย มา เป็นเหตุ แห่ง การ ป้องกันตนเอง ดังนั้น การ ที่ ผู้เสียหาย ใช้ ไม้ท่อน ยาว ประมาณ 1 ศอกขว้าง ถูก จำเลย จน จำเลย ตกลง ไป ใน สระ น้ำ แล้ว วิ่ง เข้า ไป หา จำเลย ใช้ไม้ ตี ซ้ำ อีก ใน ขณะที่ จำเลย กำลัง ขึ้น จาก สระ น้ำ จำเลย ก็ ชอบ ที่ จะ กระทำการ อย่างหนึ่ง อย่างใด เพื่อ ป้องกัน ตนเอง ให้ พ้น ภยันตราย ซึ่ง เกิดจากการ ประทุษร้าย อัน ละเมิด ต่อ กฎหมาย และ เป็น ภยันตราย ที่ ใกล้ จะ ถึง โดยพอสมควร แก่ เหตุ ได้ ฉะนั้น การ ที่ จำเลย ใช้ อาวุธ แทง ทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย 3 ครั้ง เพื่อ ยับยั้ง มิให้ ผู้เสียหาย ใช้ ไม้ท่อน ตี ทำร้ายร่างกาย จำเลย อีก ต่อไป ไม่ว่า อาวุธ ที่ จำเลย ใช้ แทง ผู้เสียหายเป็น อาวุธ มีด ดัง ที่ โจทก์ นำสืบ หรือ เป็น ใบ เลื่อย ดัง ที่ จำเลย อ้างแต่เมื่อ เปรียบเทียบ กับ ไม้ท่อน ที่ ผู้เสียหาย ใช้ ตี ทำร้ายร่างกาย จำเลยแล้ว เห็นว่า จำเลย กระทำ ไป พอสมควร แก่ เหตุ การกระทำ ของ จำเลยจึง เป็น การ ป้องกัน ตนเอง โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 68 จำเลย ย่อม ไม่มี ความผิด ฐาน พยายามฆ่า ผู้เสียหายดัง ที่ โจทก์ ฟ้อง ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายก ฟ้อง นั้น ชอบแล้วฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น "
พิพากษายืน