ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าชดเชยพนักงานรัฐวิสาหกิจ: การพ้นตำแหน่ง ผู้อำนวยการ และระยะเวลาทำงานที่ไม่ต่อเนื่อง
โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการของจำเลยหลังจากพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534ออกใช้บังคับแล้วและต่อมาได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่103ลงวันที่16มีนาคม2515ไม่ใช้บังคับข้อ2ระบุให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่103ฯไม่ใช่บังคับดังนั้นตำแหน่งงานของโจทก์จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่16เมษายน2515อีกต่อไปเมื่อโจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการของจำเลยโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ46 ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2534ข้อ45และข้อ47ระบุให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้เฉพาะแก่พนักงานของรัฐวิสาหกิจซึ่งเลิกจ้างเท่านั้นและในข้อ3คำว่าพนักงานหมายความว่าพนักงานตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534ซึ่งตามพระราชบัญญัติ พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯมาตรา4คำว่าพนักงานหมายถึงเฉพาะพนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจเท่านั้นไม่รวมถึงฝ่ายบริหารซึ่งมีความหมายรวมถึงผู้อำนวยการด้วยขณะที่โจทก์พ้นจากการทำงานโจทก์มีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการของจำเลยโจทก์จึงมีฐานะเป็นฝ่ายบริหารจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามข้อ45และข้อ47แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ การที่โจทก์เรียกร้องสิทธิประโยชน์โจทก์จะถือสิทธิความเป็นพนักงานตามมาตรา4แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2581หาได้ไม่เพราะบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวใช้สำหรับพิจารณาว่าคุณสมบัติขั้นมาตรฐานและลักษณะต้องห้ามของพนักงานรัฐวิสาหกิจมีอย่างไรเท่านั้น การที่โจทก์เคยเป็นพนักงานของจำเลยต่อมาจำเลยได้มีคำสั่งให้โจทก์ลาออกพ้นจากการเป็นพนักงานแล้วแต่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้อำนวยการนับแต่นั้นจนกระทั่งมีคำสั่งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งเพราะมีอายุครบ60ปีบริบูรณ์ถือได้ว่าระยะเวลาทำงานของโจทก์สองช่วงดังกล่าวได้ขาดตอนจากกันแล้วไม่อาจนับติดต่อกันเพื่อให้โจทก์มีสถานะเป็นพนักงานของจำเลยได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามระเบียบเกี่ยวกับมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯและถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอมเพราะสิทธิประโยชน์ของโจทก์นี้จะได้รับหรือไม่เพียงใดย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจนั้นเมื่อพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯออกใช้บังคับในขณะที่โจทก์ออกจากงานของจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจกรณีจึงมิใช่เป็นกฎหมายย้อนหลังตัดสิทธิประโยชน์ของโจทก์