โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงิน 1,471,901 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 1,146,100 บาท ให้จำเลยที่ 1 กับที่ 2 ร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 5,286,225 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 4,061,110 บาท ให้จำเลยที่ 1 กับที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 20,173,673 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงิน 15,552,302 บาท ให้จำเลยที่ 1 กับที่ 4 ร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 110,427 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 80,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยที่ 1 ถึง ที่ 3 ให้การขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ
ระหว่างพิจารณา โจทก์และจำเลยที่ 4 ตกลงกันมีใจความสำคัญว่า จำเลยที่ 4 ยินยอมชดใช้เงินตามเช็คเลขที่ 0372460 ลงวันที่ 13 เมษายน 2555 จำนวน 80,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นเงิน 110,427 บาท โดยแบ่งจ่ายเป็น 12 งวด งวดละ 9,202.25 บาท ชำระทุกวันที่ 3 ของเดือน เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 3 กรกฎาคม 2560 ณ ที่ทำการของโจทก์ หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่ง ยินยอมชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ตามสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2560
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 25,426,237 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 19,504,012 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 9 พฤษภาคม 2560) ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยให้นำเงิน 9,902,006 บาท ไปหักออกจากจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่โจทก์ดังกล่าวตามลำดับที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328 สำหรับจำเลยที่ 4 การชำระเงินให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 20,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเห็นสมควรไม่กำหนดให้ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน คืนค่าขึ้นศาลที่เกินมาในศาลชั้นต้น 307,932 บาท และชั้นอุทธรณ์ 305,324 บาท แก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ และจำเลยที่ 3 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายเจนยุทธ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งเป็นผู้แทนโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 อารัมภบทตอนต้นของบันทึกดังกล่าวกล่าวถึงการที่จำเลยที่ 1 นำเช็คธนาคาร ก. เลขที่ 0457315 จำนวนเงิน 650,300 บาท และเลขที่ 0457353 จำนวนเงิน 685,200 บาท ไปเรียกเก็บเงินเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2557 และวันที่ 31 มกราคม 2557 ตามลำดับ โดยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากเลขที่ 424-0-07xxx-x ของธนาคาร ก. ซึ่งเป็นบัญชีเงินฝากของร้าน ท. ที่มีจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของร้าน และบัญชีเงินฝากเลขที่ 424-0-16xxx-x ของธนาคาร ก. ซึ่งเป็นบัญชีเงินฝากของร้าน ส. ที่มีจำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของร้าน ซึ่งพนักงานสอบสวนอายัดเงินดังกล่าวไว้ทั้งสองบัญชี ต่อมาจำเลยที่ 1 นำเงิน 150,000 บาท คืนให้แก่โจทก์ ส่วนที่เหลือไม่ได้คืน ได้ทวงถามให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 โอนเงินคืนแต่ได้รับการปฏิเสธ นายเจนยุทธเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 โอนเงินจากบัญชีเลขที่ 424-0-07xxx-x จำนวน 650,300 บาท พร้อมดอกเบี้ย และให้จำเลยที่ 3 โอนเงินจากบัญชีเลขที่ 424-0-16xxx-x จำนวน 535,200 บาท พร้อมดอกเบี้ยคืนให้แก่โจทก์ ซึ่งเป็นสัญญาที่มุ่งเน้นถึงการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับจำนวนเงินตามเช็คทั้งสองฉบับเท่านั้น มิได้หมายความรวมถึงจำนวนเงินตามเช็คฉบับอื่นด้วย ดังนั้น สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ได้ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดชำระเงินตามเช็คฉบับอื่นระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 ดังคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองแต่อย่างใด แต่เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 นำสืบพยานหลักฐานมาครบถ้วนแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยคดีไปตามพยานหลักฐานโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองพิพากษาใหม่ โดยเห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ว่า จำเลยที่ 1 ปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเลขที่ 0379708 เลขที่ 0379730 เลขที่ 0379739 เลขที่ 0386770 เลขที่ 0386780 เลขที่ 0386814 เลขที่ 0386834 เลขที่ 0386858 เลขที่ 0397449 เลขที่ 0394184 เลขที่ 0394210 เลขที่ 0397426 เลขที่ 0397448 เลขที่ 0397477 เลขที่ 0397486 เลขที่ 0397507 เลขที่ 0397508 เลขที่ 0412007 เลขที่ 0412050 เลขที่ 0412089 เลขที่ 0412100 เลขที่ 0412016 เลขที่ 0419823 เลขที่ 0419887 เลขที่ 0419937 เลขที่ 0419950 เลขที่ 0432754 เลขที่ 0432755 เลขที่ 0432817 เลขที่ 0432895 เลขที่ 0444187 เลขที่ 0444252 เลขที่ 0444253 เลขที่ 0444260 เลขที่ 0444240 เลขที่ 0457244 เลขที่ 0457265 เลขที่ 0457266 และเลขที่ 0457314 แล้วจำเลยที่ 1 นำเช็คเลขที่ 0379730 เลขที่ 0379739 เลขที่ 0397449 เลขที่ 0412007 เลขที่ 0412016 เลขที่ 0419950 เลขที่ 0432755 และเลขที่ 0444252 ไปเรียกเก็บเงินจนธนาคาร ก. หลงเชื่อจ่ายเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์เข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันลักเงินดังกล่าวของโจทก์ไป จำเลยที่ 1 นำเช็คเลขที่ 0379708 เลขที่ 0386770 เลขที่ 0386780 เลขที่ 0386814 เลขที่ 0386834 เลขที่ 0386858 เลขที่ 0394184 เลขที่ 0394210 เลขที่ 0397426 เลขที่ 0397448 เลขที่ 0397477 เลขที่ 0397486 เลขที่ 0397507 เลขที่ 0397508 เลขที่ 0412050 เลขที่ 0412089 เลขที่ 0412100 เลขที่ 0419823 เลขที่ 0419887 เลขที่ 0419937 เลขที่ 0432754 เลขที่ 0432817 เลขที่ 0432895 เลขที่ 0444187 เลขที่ 0444253 เลขที่ 0444260 เลขที่ 0444240 เลขที่ 0457244 เลขที่ 0457265 เลขที่ 0457266 และเลขที่ 0457314 ไปเรียกเก็บเงินจนธนาคาร ก. หลงเชื่อจ่ายเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์เข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 3 แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันลักเงินดังกล่าวของโจทก์ไป ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 คืนเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ และจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 3 คืนเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รับผิดมูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และมูลเจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์ของตนจากบุคคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้เป็นจำเลยในคดีอาญา และโจทก์โดยนายเจนยุทธในฐานะนายกองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งเป็นผู้แทนโจทก์มีหนังสือฉบับลงวันที่ 7 สิงหาคม 2558 แจ้งให้จำเลยที่ 2 และแจ้งให้จำเลยที่ 3 คืนเงินแก่โจทก์ แสดงว่า โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างช้าที่สุดในวันที่ 7 สิงหาคม 2558 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2560 พ้นกำหนดเวลา 1 ปี คดีโจทก์ในมูลละเมิดส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง แต่ยังมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เงินตามเช็คทั้ง 39 ฉบับดังกล่าว มีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งเงินดังกล่าวจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความ ได้หรือไม่ เพียงใด เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 672 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้าฝากเงิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินทองตราอันเดียวกันกับที่ฝาก แต่จะต้องคืนเงินให้ครบจำนวน" และวรรคสองบัญญัติว่า "อนึ่ง ผู้รับฝากจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ แต่หากจำต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น แม้ว่าเงินซึ่งฝากนั้นจะได้สูญหายไปด้วยเหตุสุดวิสัยก็ตาม ผู้รับฝากก็จำต้องคืนเงินเป็นจำนวนดั่งว่านั้น" บทบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับแก่เงินของเอกชนและเงินของรัฐที่ฝากธนาคาร มิใช่ใช้บังคับเฉพาะเงินของเอกชนดังที่โจทก์ฎีกา แม้เงินงบประมาณเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน แต่เมื่อส่วนราชการตั้งฎีกาขอเบิกเงินงบประมาณดังกล่าวแล้ว กระทรวงการคลังโอนเงินงบประมาณเข้าบัญชีเงินฝากของส่วนราชการนั้นที่เปิดบัญชีไว้กับธนาคาร ก. เมื่อธนาคาร ก. ได้รับเงินงบประมาณดังกล่าวเข้าบัญชีเงินฝากของส่วนราชการแล้ว เงินที่ฝากนั้นจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ก. ไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของกระทรวงการคลังหรือส่วนราชการเจ้าของบัญชีเงินฝากอีกต่อไป ธนาคาร ก. คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินฝากให้แก่เจ้าของบัญชีเงินฝากหรือกระทรวงการคลังครบจำนวนเท่านั้น นอกจากนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้ เมื่อใดลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมก็ดี เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้มอบอำนาจให้ลงก็ดี ท่านว่าลายมือชื่อปลอมหรือลงปราศจากอำนาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย ใครจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ก็ดี เพื่อทำให้ตั๋วนั้นหลุดพ้นก็ดี หรือเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้นคนใดคนหนึ่งก็ดี ท่านว่าไม่อาจจะทำได้เป็นอันขาด เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งจะพึงถูกยึดหน่วงหรือถูกบังคับใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอม หรือข้อลงลายมือชื่อปราศจากอำนาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้" ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ปลอมลายมือชื่อผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คของโจทก์ โจทก์จึงไม่ได้เป็นผู้สั่งจ่ายตามเช็คฉบับที่ 1 ถึงที่ 43 และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์อยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้ธนาคาร ก. ได้ ดังนั้น ธนาคาร ก. ย่อมไม่มีสิทธินำเงินที่ธนาคารจ่ายตามเช็คฉบับที่ 1 ถึงที่ 43 ไปลงรายการเบิกถอนเงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ได้ตามบทบัญญัติมาตรา 1008 ดังกล่าว แต่เมื่อธนาคาร ก. ลงรายการเบิกถอนเงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์แล้ว จึงมีหน้าที่ต้องเพิกถอนรายการเบิกถอนเงินดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2560 ธนาคาร ก. โอนเงิน 9,752,006 บาท เท่ากับกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินตามเช็คฉบับที่ 1 ถึงที่ 43 เข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ อันเป็นการชดใช้เงินคืนตามสัญญาฝากทรัพย์ ซึ่งน่าจะเป็นกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาชี้ขาดการยุติในการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการเห็นว่าโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายผู้ที่เสียหายมีส่วนเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายด้วย โดยโจทก์และธนาคารเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 223 จึงมีมติให้ธนาคาร ก. คืนเงินให้แก่โจทก์เพียงกึ่งหนึ่ง แล้วยังถือได้ว่า ธนาคาร ก. ยินยอมเพิกถอนรายการเบิกถอนเงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ตามเช็คฉบับที่ 1 ถึงที่ 43 ฉบับละกึ่งหนึ่ง ซึ่งมีผลให้จำนวนเงินกึ่งหนึ่งตามเช็คฉบับที่ 3 ถึงที่ 25 ฉบับที่ 27 ถึงที่ 39 และฉบับที่ 41 ถึงที่ 43 ที่ธนาคาร ก. จ่ายเงินตามเช็คโดยฝากเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยผิดวัตถุประสงค์ที่โจทก์ย่อมไม่ให้เบิกถอนเงิน หากไม่มีหนี้ที่ต้องอ้าง เงินอีกกึ่งหนึ่งนั้นยังคงเป็นสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิติดตามและเอาเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 3 ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดคืนเงินกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินตามเช็คฉบับที่ 5 เลขที่ 0379730 ฉบับที่ 6 เลขที่ 0379739 ฉบับที่ 15 เลขที่ 0397449 ฉบับที่ 20 เลขที่ 0412007 ฉบับที่ 21 เลขที่ 0412016 ฉบับที่ 29 เลขที่ 0419950 ฉบับที่ 31 เลขที่ 0432755 และฉบับที่ 36 เลขที่ 0444252 เป็นเงิน 1,705,405 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยที่ 2 ให้ชำระหนี้ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2559 แต่จำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยผิดนัดนับแต่วันดังกล่าวของต้นเงินเต็มจำนวนตามเช็คแต่ละฉบับ นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงินกึ่งหนึ่งตามเช็คแต่ละฉบับนับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และจำเลยที่ 3 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดคืนเงินกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินตามเช็คฉบับที่ 3 เลขที่ 0379708 ฉบับที่ 4 เลขที่ 0386770 ฉบับที่ 7 เลขที่ 0386814 ฉบับที่ 8 เลขที่ 0386780 ฉบับที่ 9 เลขที่ 0386834 ฉบับที่ 10 เลขที่ 0386858 ฉบับที่ 11 เลขที่ 0394184 ฉบับที่ 12 เลขที่ 0384210 ฉบับที่ 13 เลขที่ 0397426 ฉบับที่ 14 เลขที่ 0397448 ฉบับที่ 16 เลขที่ 0397477 ฉบับที่ 17 เลขที่ 0397486 ฉบับที่ 18 เลขที่ 0397507 ฉบับที่ 19 เลขที่ 0397508 ฉบับที่ 22 เลขที่ 0412050 ฉบับที่ 23 เลขที่ 0412089 ฉบับที่ 24 เลขที่ 0412100 ฉบับที่ 25 เลขที่ 0419823 ฉบับที่ 27 เลขที่ 0419887 ฉบับที่ 28 เลขที่ 0419937 ฉบับที่ 30 เลขที่ 0432754 ฉบับที่ 32 เลขที่ 0432817 ฉบับที่ 33 เลขที่ 0432895 ฉบับที่ 34 เลขที่ 0444187 ฉบับที่ 35 เลขที่ 0444240 ฉบับที่ 37 เลขที่ 0444253 ฉบับที่ 38 เลขที่ 0444260 ฉบับที่ 39 เลขที่ 0457244 ฉบับที่ 41 เลขที่ 0457265 ฉบับที่ 42 เลขที่ 0457266 และฉบับที่ 43 เลขที่ 0457314 เป็นเงิน 7,433,551 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยที่ 3 ให้จำเลยชำระหนี้ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2559 แต่จำเลยที่ 3 ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 3 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยผิดนัดนับแต่วันดังกล่าวของต้นเงินเต็มจำนวนตามเช็คแต่ละฉบับ นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงินกึ่งหนึ่งตามเช็คแต่ละฉบับนับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ สำหรับดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง นั้น ได้มีพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นมา โดยมาตรา 3 และมาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 7 และมาตรา 224 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามลำดับ แล้วให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยข้อความใหม่บัญญัติให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตามอัตราที่กำหนดไว้ในมาตรา 7 คือ ร้อยละ 3 ต่อปี หรืออัตราที่ปรับเปลี่ยนให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี และมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดฉบับดังกล่าว บัญญัติให้ใช้แก่การคิดดอกเบี้ยผิดนัดที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่วันที่พระราชกำหนดฉบับดังกล่าวใช้บังคับ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยผิดนัดในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่พระราชกำหนดฉบับดังกล่าวใช้บังคับ แม้คู่ความมิได้หยิบยกปัญหาข้อนี้ขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองและแก้ไขทั้งในส่วนที่โจทก์ฎีกาเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และที่ 4 ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสี่ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 3 ต่อปี บวกเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี เป็นร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราที่จะปรับเปลี่ยนให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 (ที่แก้ไขใหม่) บวกเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสี่จะชำระเสร็จ และไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของโจทก์อีกต่อไปเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผลบางส่วน และฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน
อนึ่ง โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 2.9 ว่า วันที่ 29 กรกฎาคม 2555 จำเลยที่ 1 นำเช็คเลขที่ 0386834 จำนวนเงิน 195,600 บาท ไปเรียกเก็บเงินจนธนาคาร ก. หลงเชื่อจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวจากบัญชีเงินฝากของโจทก์เข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 3 แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันลักทรัพย์เงินดังกล่าวไป แล้วสรุปตอนท้ายว่า จำเลยที่ 1 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 3 ชำระเงินตามเช็คที่มีการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 3 พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ธนาคารตามเช็คจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงวันฟ้อง แต่ตามรายการคำนวณค่าเสียหายดังกล่าวระบุว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยตามเช็คฉบับดังกล่าวนับแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2555 อันเป็นเวลาก่อนวันที่ธนาคาร ก. จ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวจนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 4 ปี 286 วัน เป็นดอกเบี้ย 70,175 บาท รวมกับดอกเบี้ยของต้นเงินตามเช็คฉบับที่ 1 ถึงที่ 8 และที่ 10 ถึงที่ 43 อีก 5,922,225 บาท และเงินต้นตามเช็คฉบับที่ 1 ถึงที่ 43 จำนวน 19,504,012 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 25,426,237 บาท แล้วศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ซึ่งไม่ถูกต้อง จึงต้องคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินตามเช็คเลขที่ 0386834 จำนวน 195,600 บาท นับแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2555 ถึงวันฟ้อง เป็นดอกเบี้ย 70,094 บาท เท่านั้น เมื่อรวมกับดอกเบี้ยของต้นเงินตามเช็คฉบับที่ 1 ถึงที่ 8 และที่ 10 ถึงที่ 43 อีก 5,922,225 บาท แล้วเป็นดอกเบี้ย 5,992,319 บาท ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ธนาคาร ก. คืนเงิน 9,752,006 บาท ให้แก่โจทก์ เป็นการชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาฝากทรัพย์ อีกทั้งศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ ไม่ได้พิพากษาให้ธนาคาร ก. ชำระหนี้แก่โจทก์ จึงไม่ใช่เป็นกรณีลูกหนี้ที่ต้องผูกพันต่อโจทก์ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย และการชำระหนี้นั้น ไม่เพียงพอจะเปลื้องหนี้สินได้หมดทุกราย ไม่อาจนำเงินดังกล่าวไปหักออกจากเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่โจทก์ดังกล่าวตามลำดับที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328 ดังคำวินิจฉัยและคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่ต้องเฉลี่ยหักชำระเงินต้นตามเช็คแต่ละฉบับ ฉบับละกึ่งหนึ่ง ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เพียง 9,752,006 บาท และจำเลยที่ 4 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เพียง 40,000 บาท อย่างไรก็ตาม ธนาคาร ก. คืนเงินแก่โจทก์เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2560 โจทก์จึงยังคงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินตามเช็คฉบับที่ 1 ถึงที่ 43 จำนวน 19,504,012 บาท นับแต่วันที่ธนาคาร ก. จ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวถึงวันฟ้อง เป็นดอกเบี้ย 5,992,319 บาท เมื่อรวมกับค่าสินไหมทดแทน 9,752,006 บาทแล้ว รวมเป็นเงิน 15,744,325 บาท และชำระดอกเบี้ยอัตราเดียวกันของต้นเงินจำนวนเดียวกัน นับถัดจากวันฟ้องถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 แล้วชำระดอกเบี้ยอัตราเดียวกันของต้นเงิน 9,752,006 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 3 ต่อปี บวกเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี เป็นร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราที่จะปรับเปลี่ยนให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 (ที่แก้ไขใหม่) บวกเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอท้ายฟ้อง นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระเสร็จ และโจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 4 ชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินตามเช็คฉบับที่ 1 จำนวน 80,000 บาท นับแต่วันที่ 13 เมษายน 2555 ซึ่งเป็นวันที่ธนาคาร ก. จ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวถึงวันฟ้อง เป็นดอกเบี้ย 30,427 บาท เมื่อรวมกับค่าสินไหมทดแทน 40,000 บาทแล้ว รวมเป็นเงิน 70,427 บาท และชำระดอกเบี้ยอัตราเดียวกันจากต้นเงิน 40,000 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 3 ต่อปี บวกเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี เป็นร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราที่จะปรับเปลี่ยนให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 (ที่แก้ไขใหม่) บวกเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอท้ายฟ้อง นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยที่ 4 จะชำระเสร็จ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 มิได้พิพากษาแก้ไขให้ถูกต้อง แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 และที่ 4 มิได้อุทธรณ์และขออนุญาตฎีกา แต่ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252 นอกจากนี้ การที่จำเลยที่ 1 นำเช็คธนาคาร ก. เลขที่ 0457315 จำนวนเงิน 650,300 บาท และเลขที่ 0457353 จำนวนเงิน 685,200 บาท ไปเรียกเก็บเงินเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2557 และวันที่ 31 มกราคม 2557 ตามลำดับ โดยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากเลขที่ 424-0-07xxx-x ของธนาคาร ก. ซึ่งเป็นบัญชีเงินฝากของร้าน ท. ที่มีจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของร้าน และบัญชีเงินฝากเลขที่ 424-0-16xxx-x ของธนาคาร ก. ซึ่งเป็นบัญชีเงินฝากของร้าน ส. ที่มีจำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของร้าน ซึ่งพนักงานสอบสวนอายัดเงินดังกล่าวไว้ทั้งสองบัญชี ต่อมาจำเลยที่ 1 นำเงิน 150,000 บาท คืนให้แก่โจทก์ แสดงว่า เงิน 150,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบให้แก่พนักงานสอบสวนแล้วต่อมาโจทก์ได้รับคืนจากพนักงานสอบสวนเป็นส่วนหนึ่งของเงินตามเช็คเลขที่ 0457353 จำนวน 685,200 บาท ไม่ใช่เงินที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามเช็คฉบับอื่นให้แก่โจทก์ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปหักออกจากหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระตามคำพิพากษาจึงไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ แม้โจทก์มีคำขอแยกกันให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงิน 1,471,901 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 1,146,100 บาท ให้จำเลยที่ 1 กับที่ 2 ร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 5,286,225 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 4,061,110 บาท ให้จำเลยที่ 1 กับที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 20,173,673 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงิน 15,552,302 บาท ให้จำเลยที่ 1 กับที่ 4 ร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 110,427 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 80,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ลักษณะคำขอประสงค์จะให้บังคับจำเลยที่ 1 รับผิดชำระเงิน 20,839,512 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ธนาคาร ก. จ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับ เมื่อคิดถึงวันฟ้องเป็นดอกเบี้ย 6,202,714 บาท รวมเป็นเงิน 27,042,226 บาท เป็นสำคัญ โดยให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ทุนทรัพย์ที่พิพาทในคดีนี้จึงเป็นเงิน 27,042,226 บาท ไม่เกิน 50,000,000 บาท ซึ่งโจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นในอัตราร้อยละ 2 แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ตามตาราง 1 ค่าธรรมเนียมศาล (ค่าขึ้นศาล) ข้อ (1) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิใช่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ที่อาจแบ่งแยกชำระได้ที่ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ด้วยดังคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่สั่งไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาในวันชี้สองสถาน จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นส่วนที่เกินกว่า 200,000 บาท ให้แก่โจทก์ดังคำวินิจฉัยและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ส่วนค่าส่งคำคู่ความไม่ใช่ค่าขึ้นศาล ไม่ต้องคืนให้แก่โจทก์ด้วย ประกอบกับโจทก์ได้รับอนุญาตให้ฎีกาที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นคดีปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีข้อพิพาท ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ค่าธรรมเนียมศาล (ค่าขึ้นศาล) ข้อ (2) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เกินกว่า 200 บาท แก่โจทก์ อีกทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับบทบัญญัติห้ามาตราต่อไปนี้ ให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีเป็นผู้รับผิดในชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง แต่ไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดจะชนะคดีเต็มตามข้อหาหรือแต่บางส่วน ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษา...ให้คู่ความแต่ละฝ่ายรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมส่วนของตนหรือตามส่วนแห่งค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งคู่ความทุกฝ่ายได้เสียไปก่อนได้ตามที่ศาลจะใช้ดุลพินิจ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดี" และมาตรา 162 บัญญัติว่า "บุคคลที่เป็นโจทก์ร่วมกันหรือจำเลยร่วมกันนั้น หาต้องรับผิดร่วมกันในค่าฤชาธรรมเนียมไม่ หากต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะได้เป็นเจ้าหนี้ร่วมหรือลูกหนี้ร่วม หรือศาลได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น" และตามตาราง 6 ค่าทนายความ ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้ศาลกำหนดค่าทนายความตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควรไม่เกินอัตราขั้นสูง โดยกำหนดอัตราขั้นสูงในศาลชั้นต้นเป็นเงินร้อยละ 5 ของทุนทรัพย์ คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 4 ชำระเงิน 80,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 110,427 บาท แสดงว่า ความรับผิดของจำเลยที่ 4 จำกัดอยู่เพียงไม่เกิน 110,427 บาท ซึ่งเป็นทุนทรัพย์ส่วนของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเฉพาะทุนทรัพย์ดังกล่าวเท่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคหนึ่ง มาตรา 162 และมาตรา 167 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 20,000 บาท ซึ่งเป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นตามทุนทรัพย์ 27,042,226 บาท ซึ่งเกินกว่าทุนทรัพย์ในหนี้ร่วมของจำเลยที่ 1 และที่ 4 แล้วยังต้องร่วมรับผิดใช้ค่าทนายความในศาลชั้นต้นสูงกว่าอัตราขั้นสูงที่กำหนดไว้ในตาราง 6 เป็นเงินร้อยละ 5 ของทุนทรัพย์ในหนี้ร่วมของจำเลยที่ 1 และที่ 4 จำนวน 110,427 บาท คือ เป็นเงินไม่เกิน 5,521.35 บาท อีกด้วย ซึ่งไม่ยุติธรรมแก่จำเลยที่ 4 แม้จำเลยที่ 4 มิได้อุทธรณ์และขออนุญาตฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองและแก้ไขโดยสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมของศาลชั้นต้นให้ถูกต้องได้ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 15,744,325 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 19,504,012 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 9 พฤษภาคม 2560) ถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 9,752,006 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราที่จะปรับเปลี่ยนให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 (ที่แก้ไขใหม่) บวกเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ ของต้นเงิน 9,752,006 บาท นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยไม่นำเงิน 150,000 บาท ไปหักออกจากจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่โจทก์ กับให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 1,705,405 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 150,000 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 75,000 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 289,000 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 144,500 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 459,500 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 229,750 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 298,500 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 149,250 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 420,560 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 210,280 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 596,500 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 298,250 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 557,450 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 278,725 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 และต้นเงิน 639,300 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 319,650 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราที่จะปรับเปลี่ยนให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 (ที่แก้ไขใหม่) บวกเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 1,705,405 บาท นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 7,433,551 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 150,000 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 75,000 นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 379,000 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 189,500 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 259,000 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 129,500 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 473,200 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 236,600 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 195,600 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 97,800 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 325,900 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 162,950 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 498,000 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 249,000 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 435,000 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 217,500 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 432,500 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 216,250 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 425,000 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 212,250 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 543,200 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 271,600 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 402,550 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 201,275 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 590,500 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 295,250 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 485,300 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 242,650 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 บาท ต้นเงิน 436,500 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 218,250 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 506,500 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 253,250 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 396,200 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 198,100 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 594,500 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 297,250 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 563,000 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 281,500 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 396,000 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 198,000 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 496,300 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 248,150 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 429,350 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 214,675 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 619,500 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 309,750 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 693,050 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 346,525 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 520,000 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 260,000 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 403,000 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 201,500 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 670,200 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 335,100 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 524,500 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 262,250 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 530,500 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 265,250 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ต้นเงิน 697,200 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 348,600 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 และต้นเงิน 796,052 บาท นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 398,026 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราที่จะปรับเปลี่ยนให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 (ที่แก้ไขใหม่) บวกเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 7,433,551 บาท นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้จำเลยที่ 4 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชำระเงิน 70,427 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 80,000 บาท นับแต่วันฟ้องถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงิน 40,000 บาท นับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราที่จะปรับเปลี่ยนให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 (ที่แก้ไขใหม่) บวกเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 40,000 บาท นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เกินกว่า 200 บาท ให้แก่โจทก์ ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ และค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกานอกจากที่สั่งคืนแทนโจทก์ เฉพาะค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้น ให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ใช้แทนตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีแก่จำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาศาลฎีกา และให้จำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ใช้แทนตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีแก่จำเลยที่ 3 ตามคำพิพากษาศาลฎีกา กับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันใช้ค่าทนายความในศาลชั้นต้นเป็นเงิน 20,000 บาท และใช้ค่าทนายความในศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีการวมเป็นเงิน 10,000 บาท และให้จำเลยที่ 4 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ โดยให้จำเลยที่ 4 ใช้ค่าขึ้นศาลแทนตามทุนทรัพย์ 110,427 บาท และใช้ค่าทนายความแทนเป็นเงิน 3,000 บาท ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีการะหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 4 ให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4