ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ผู้ร้อง เป็น สมาคม และ นิติบุคคล ซึ่ง จัดตั้ง ขึ้น ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยสภากาชาดไทย นาย อุ่ยคุ่ยบุ้น ได้ทำ พินัยกรรม ยก ที่ดิน รวม 5 แปลง พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ให้ เป็นกรรมสิทธิ์ ของ ผู้ร้อง แต่ ให้ บุตร และ หลาน กับ โรงพยายาล ไฮ้หน่ำมี สิทธิ เก็บ กิน ต่อมา ผู้ ทำ พินัยกรรม ได้ วายชนม์ มรดก จึง ตกทอดแก่ ผู้ร้อง โดย มี นาง กิมเอง หรือ มุกดา สวัสดิสาลี นาง บ๊วยวรพาณิชย์ และ นาย หลีอัน หรือ พัฒนา วงษ์ตระกูล เป็น ผู้จัดการมรดกต่อมา นาย หลีอัน ถึง แก่ ความตาย ใน การ จัดการ มรดก นาง กิมเอง ได้กระทำ ผิด หน้าที่ ไม่ มี ความ สามารถ ใน การ จัดการ มรดก ทำ ให้ผู้ร้อง เสียหาย ขณะนี้ นาง กิมเอง อยู่ ใน วัน ชรา และ ป่วย เป็นอัมพาต ผู้ร้อง จำเป็น ต้อง ดูแล และ รักษา ทรัพย์สิน ซึ่ง อยู่ ในลักษณะ เสื่อมโทรม จำเป็น ต้อง ซ่อมแซม ปรับปรุง จึง ขอ เป็น ผู้จัดการมรดก ร่วม กับ นาง บ๊วย วรพาณิชย์ โดย นาง บ๊วย ยินยอม ด้วย ผู้ร้องไม่เป็น ผู้ ต้องห้าม ไม่ ให้ เป็น ผู้จัดการ มรดก ขอ ให้ ศาล มี คำสั่งถอน นาง กิมเอง ออก จาก การ เป็น ผู้จัดการ มรดก ตาม พินัยกรรม และตั้ง ผู้ร้อง เป็น ผู้จัดการ มรดก ร่วม กับ นาง บ๊วย ต่อไป
ผู้คัดค้าน ยื่น คำ คัดค้าน ว่า เลขาธิการ สภากาชาดไทย ไม่ มี อำนาจยื่น คำร้อง คดี นี้ ผู้คัดค้น ได้ ครอบครอง ทรัพย์ มรดก มา โดย สงบเปิดเผย ใน ฐานะ เป็น เจ้าของ ตลอดมา จน ปัจจุบัน เป็น เวลา 35 ปี แล้วผู้ร้อง ไม่ มี คุณสมบัติ ที่ จะ เป็น ผู้จัดการ มรดก ตาม กฎหมายผู้คัดค้าน ยัง มี สุขภาพ แข็งแรง สติ สัมปชัญญะ สมบูรณ์ ขอ ให้ยก คำร้อง
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า ให้ ถอน ผู้คัดค้าน ออก จาก การ เป็นผู้จัดการ มรดก ตาม พินัยกรรม และ ตั้ง ให้ สภากาชาดไทย เป็น ผู้จัดการมรดก ร่วม กับ นาง บ๊วย วรพาณิชย์
ผู้คัดค้าน อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
ผู้คัดค้าน ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ประเด็น ข้อ แรก ผู้ร้อง มี อำนาจ ร้อง คดี นี้หรือไม่ พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า คดี นี้ ผู้ร้อง มี อำนาจ ฟ้อง คดีอยู่ แล้ว การ ที่ ผู้ร้อง มอบอำนาจ ให้ เลขาธิการ ยื่น คำร้องโดย อาศัย ใบมอบอำนาจ ทั่วไป ไม่ ได้ มอบอำนาจ ให้ ฟ้อง คดี ได้ ด้วยจึง เป็น เพียง เรื่อง การ มอบอำนาจ บกพร่อง เท่านั้น ไม่ เป็น ผลถึง กับ ทำ ให้ คำร้อง เสียไป ปรากฏ ว่า ก่อน สืบพยาน ผู้ร้อง ได้ ส่งใบมอบอำนาจ ให้ เลขาธิการ ฟ้อง คดี ได้ เป็น การ ให้ สัตยาบัน มอบอำนาจให้ ฟ้อง คดี ที่ ได้ กระทำ ไป แล้ว การ มอบอำนาจ ใน คดี นี้ จึงสมบูรณ์ ผู้ร้อง มี อำนาจฟ้อง คดี นี้ ได้
ประเด็น ต่อไป มี ว่า คดี ของ ผู้ร้อง ขาด อายุความ แล้ว หรือไม่ข้อเท็จจริง ปรากฏ ว่า การ จัดการ มรดก ราย นี้ ยัง ไม่ สิ้นสุด ลงแม้ การ จัดการ มรดก จะ ล่วงเลย มา เกินกว่า ห้า ปี แล้ว คดี ของผู้ร้อง ก็ ยัง ไม่ ขาดอายุความ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1733
ประเด็น ข้อ สุดท้าย มี ว่า ผู้ร้อง เป็น นิติบุคคล มี คุณสมบัติเป็น ผู้จัดการ มรดก และ สมควร เป็น ผู้จัดการ มรดก ราย นี้ หรือ ไม่พิเคราะห์ แล้ว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 69 และ 70นิติบุคคล ย่อม มี สิทธิ และ หน้าที่ เหมือน บุคคล ธรรมดา เว้น เสียแต่ สิทธิ และ หน้าที่ นั้น จะ ไม่ อยู่ ใน ขอบ วัตถุ ที่ ประสงค์ ของตน ตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน ข้อบังคับ หรือ ตราสาร จัดตั้ง หรือ สิทธิ และหน้าที่ นั้น โดย สภาพ จะ พึง มี พึง เป็น ได้ เฉพาะ บุคคล ธรรมดาเท่านั้น สิทธิ และ หน้าที่ ของ ผู้จัดการ มรดก โดย สภาพ ไม่ ใช่ สิทธิและ หน้าที่ ที่ จะ พึง มี พึง เป็น ได้ เฉพาะ บุคคล ธรรมดา กรณีนี้ เห็นว่า การ จัดการ มรดก ไม่ ขัด กับ วัตถุประสงค์ ตาม ที่ กำหนดไว้ ใน ข้อบังคับ หรือ ตราสาร จัดตั้ง ของ ผู้ร้อง ผู้ร้อง ไม่ ได้อยู่ ใน ฐานะ ที่ ต้องห้าม ไม่ ให้ เป็น ผู้จัดการ มรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 จึง มี คุณสมบัติ และ สมควรเป็น ผู้จัดการ มรดก รายนี้
พิพากษา ยืน