คดี นี้ สืบเนื่อง มาจาก ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ตั้ง ผู้ร้อง ทั้ง สองเป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาย ชาร์ล คีธ ไฮแลนด์ ผู้ตาย ต่อมา ผู้คัดค้าน ทั้ง สอง ยื่น คำร้อง และ แก้ไข คำร้อง ต่อ ศาลชั้นต้น ขอให้ ถอนผู้ร้อง ทั้ง สอง จาก การ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ ผู้ตาย โดย อ้างว่า ผู้ตายได้ ทำ พินัยกรรม ยก ทรัพย์มรดก ทั้งหมด ให้ แก่ ผู้คัดค้าน ที่ 2 ซึ่ง เป็นภรรยา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ ผู้ตาย และ ให้ ผู้คัดค้าน ที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก ผู้ร้อง ทั้ง สอง จึง ไม่มี สิทธิ ใน ทรัพย์มรดก ของ ผู้ตายและ ผู้ร้อง ทั้ง สอง ยัง ปกปิด ว่า ผู้ตาย ไม่มี ทายาท อื่น มีเหตุ สมควรที่ จะ ถอน ผู้ร้อง ทั้ง สอง ออกจาก การ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ ผู้ตายและ ขอให้ แต่งตั้ง ผู้คัดค้าน ทั้ง สอง เป็น ผู้จัดการมรดก ของ ผู้ตาย
ผู้ร้อง ทั้ง สอง ยื่น คำคัดค้าน และ แก้ไข คำคัดค้าน ว่า ผู้คัดค้านที่ 2 มิใช่ เป็น ภรรยา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ ผู้ตาย ผู้คัดค้าน ที่ 2ไม่มี อำนาจ ร้องขอ ให้ ถอน ผู้จัดการมรดก และ ขอ จัดการ มรดก คดี นี้ แทนผู้คัดค้าน ที่ 1 ปกปิด ข้อความ จริง แห่ง พินัยกรรม ผู้คัดค้าน ที่ 1จึง ไม่สมควร ได้รับ การ แต่งตั้ง เป็น ผู้จัดการมรดก ของ ผู้ตาย ทั้งพินัยกรรม ตาม คำร้อง ฉบับ ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2529 ก็ ถูก เพิกถอน ไปโดย ผล ของ คำสั่ง ตาม พินัยกรรม ฉบับ ลงวันที่ 27 มีนาคม 2530 แล้วทั้ง พินัยกรรม ฉบับ หลัง เป็น การแสดง เจตนา เพื่อ ก่อตั้ง ทรัสต์ หรือ ทรัสตีจึง ไม่มี ผลบังคับ ตาม กฎหมาย ทรัพย์มรดก จึง ตกทอด แก่ ทายาทโดยธรรมมารดา ของ ผู้ร้อง ทั้ง สอง ไม่เคย หย่าขาด จาก การ สมรส กับ ผู้ตาย การ ร้องขอจัดการ มรดก คดี นี้ ศาล ได้ มี คำสั่ง ให้ คัดค้าน ใน เวลา ที่ กำหนด เมื่อ ศาลตั้ง ผู้ร้อง ทั้ง สอง เป็น ผู้จัดการมรดก แล้ว คำสั่ง ดังกล่าว ย่อมถึงที่สุด ผู้คัดค้าน ทั้ง สอง ชอบ ที่ จะ ฟ้องคดีใหม่ ต่างหาก ขอให้ยกคำร้อง ของ ผู้คัดค้าน ทั้ง สอง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว มี คำสั่ง ให้ยก คำร้องของผู้คัดค้าน ทั้ง สอง
ผู้คัดค้าน ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ ถอน ผู้ร้อง ทั้ง สอง จาก การ เป็นผู้จัดการมรดก ของ นาย ชาร์ล คีธ ไฮแลนด์ ผู้ตาย ให้ นาย ริชาร์ด จอห์นเบอร์บิดจ์ ผู้คัดค้าน ที่ 1 เป็น ผู้จัดการมรดก ของ ผู้ตาย ให้ มีสิทธิ และ หน้าที่ ตาม กฎหมาย คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
ผู้ร้อง ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ตาม พินัยกรรม เอกสาร หมาย ค.9 และ ค.11ทั้ง สอง ฉบับ กำหนด ให้ ผู้คัดค้าน ที่ 1 เป็น ผู้จัดการมรดก และ ให้ผู้คัดค้าน ที่ 2 เป็น ผู้รับมรดก ทั้งหมด ของ ผู้ตาย แต่เพียง ผู้เดียวแม้ จะ ฟัง ว่า พินัยกรรม เอกสาร หมาย ค.11 ไม่มี ผล ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1686 เพราะ มี ข้อกำหนด ใน การ ก่อตั้ง ทรัสต์ ขึ้นก็ ตาม พินัยกรรม ฉบับนี้ ย่อม ไม่มี ผล เป็น การ เพิกถอน พินัยกรรม ตามเอกสาร หมาย ค.9 ซึ่ง ไม่มี ข้อกำหนด ใน การ ก่อตั้ง ทรัสต์ ขึ้นทั้ง ไม่ปรากฏ ว่า คู่ความ ได้ โต้แย้ง ว่า เป็น พินัยกรรม ที่ ไม่สมบูรณ์ใช้ บังคับ ไม่ได้ แต่อย่างใด พินัยกรรม ตาม เอกสาร หมาย ค.9 จึง สมบูรณ์ใช้ บังคับ ได้ ตาม กฎหมาย เมื่อ พินัยกรรม ดังกล่าว กำหนด ให้ ผู้คัดค้านที่ 2 เป็น ผู้รับมรดก ทั้งหมด ของ ผู้ตาย แต่เพียง ผู้เดียว เช่นนี้ย่อม ต้อง ถือว่า ผู้ร้อง ทั้ง สอง ซึ่ง เป็น ทายาทโดยธรรม ของ ผู้ตายผู้ที่ มิได้ รับ ประโยชน์ จาก พินัยกรรม เป็น ผู้ ถูก ตัด มิให้ รับมรดกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608 วรรคท้าย ผู้ร้อง ทั้ง สองจึง เป็น ทายาท ที่ ไม่มี ส่วนได้เสีย ใน กอง มรดก ของ ผู้ตาย ย่อม ไม่มี อำนาจที่ จะ ร้องขอ ต่อ ศาล ให้ ตั้ง ผู้ร้อง ทั้ง สอง เป็น ผู้จัดการมรดก ได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง จึง มีเหตุ สมควรที่ จะ ถอน ผู้ร้อง ทั้ง สอง ออกจาก การ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ ผู้ตายตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง
ประเด็น ที่ ต้อง วินิจฉัย ข้อ ต่อไป มี ว่า มีเหตุ ที่ จะ ตั้งผู้คัดค้าน ที่ 1 เป็น ผู้จัดการมรดก ของ ผู้ตาย หรือไม่ ปรากฏ จากคำเบิกความ ของ ผู้คัดค้าน ที่ 1 เอง ว่า ผู้คัดค้าน ที่ 1 ได้ ดำเนินการโอน เงิน ของ ผู้ตาย ซึ่ง มี อยู่ ใน ธนาคาร ใน ประเทศ ไทย ไป เข้า กอง มรดกของ ผู้ตาย หมด แล้ว และ หุ้น ของ ผู้ตาย ใน บริษัท ใน ประเทศ ไทยบริษัท ดังกล่าว ก็ ถูก พิพากษา ให้ ล้มละลาย แล้ว จึง ไม่มี ทรัพย์สินของ ผู้ตาย ใน ประเทศ ไทย ให้ ผู้ร้อง ทั้ง สอง เป็น ผู้จัดการมรดก ได้ผู้คัดค้าน ที่ 1 เชื่อ ว่า ไม่มี ความจำเป็น แล้ว ที่ จะ มี ผู้จัดการมรดกของ ผู้ตาย ใน ประเทศ ไทย ดังนี้ เมื่อ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ยืนยัน ชัดแจ้ง ว่าไม่มี ความจำเป็น ที่ จะ ต้อง มี ผู้จัดการมรดก ของ ผู้ตาย ใน ประเทศ ไทยย่อม ไม่มี เหตุ ที่ จะ ตั้ง ให้ ผู้คัดค้าน ที่ 1 เป็น ผู้จัดการมรดก ของผู้ตาย ที่ ศาลอุทธรณ์ ตั้ง ให้ ผู้คัดค้าน ที่ 1 เป็น ผู้จัดการมรดกของ ผู้ตาย นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา
พิพากษาแก้ เป็น ว่า คำขอ ให้ ตั้ง ผู้คัดค้าน ที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก ของ นาย ชาร์ล คีธ ไฮแลนด์ ผู้ตาย ให้ยก นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียม ชั้นฎีกาให้ เป็น พับ