โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้ทรงเช็ค สั่งจ่าย เงิน จำนวน 500,000บาท โดย มี จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ลงลายมือชื่อ สั่งจ่าย และ จำเลย ที่ 2เป็น ผู้ลงลายมือชื่อ สลักหลัง ส่งมอบ ให้ โจทก์ เพื่อ เป็น การ ชำระหนี้เมื่อ เช็ค ถึง กำหนด สั่งจ่าย โจทก์ นำ ไป เข้าบัญชี ของ โจทก์ เพื่อ ให้เรียกเก็บเงิน แต่ ธนาคาร ตามเช็ค ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน ขอให้ บังคับจำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน หรือ แทน กัน ชำระ เงิน จำนวน 536,703.75 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 500,000 บาทนับ ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง เนื่องจาก จำเลยที่ 1 มิได้ เป็น หนี้ โจทก์ แต่ เป็น เรื่อง ที่ จำเลย ที่ 2 กู้ยืม เงินจาก บุคคล ผู้มีชื่อ โดย จำเลย ที่ 1 ออก เช็คพิพาท ให้ ไว้ เพื่อ เป็นการ ค้ำประกัน แต่ การกู้ยืมเงิน ระหว่าง จำเลย ที่ 2 กับ ผู้มีชื่อไม่มี หลักฐาน เป็น หนังสือ ไม่อาจ ฟ้องร้อง บังคับคดี ได้ และ จำเลย ที่ 1ไม่ใช่ ลูกหนี้ ร่วม กับ จำเลย ที่ 2 โจทก์ ต้อง บังคับ ชำระหนี้ เอา จากจำเลย ที่ 2 ก่อน จึง จะ บังคับ เอา แก่ จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกันได้ และ ต่อสู้ ใน ข้อ อื่น อีก หลาย ประการ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน ตามเช็คจำนวน 500,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีใน ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันที่ 22 กรกฎาคม 2529 จนกว่า จะ ชำระเสร็จ แก่ โจทก์ แต่ ดอกเบี้ย คำนวณ ถึง วันฟ้อง จะ ต้อง ไม่เกิน36,703.75 บาท
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ต่อไป ว่า โจทก์ ฟ้องและ นำสืบ ว่า จำเลย ที่ 1 ออก เช็คพิพาท เพื่อ ชำระหนี้ เงินกู้ แต่ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า เช็คพิพาท เป็น เช็ค ที่ จำเลย ที่ 1 ออก ให้เพื่อ ค้ำประกัน หนี้ ของ จำเลย ที่ 2 เมื่อ โจทก์ ไม่ได้ ฟ้องบังคับให้ จำเลย ที่ 1 รับผิด ตามเช็ค พิพาท ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน จึง เป็นเรื่อง นอกฟ้อง นอกประเด็น และ ข้อเท็จจริง ใน ทางพิจารณา ต่าง จาก ฟ้องไม่อาจ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ได้ นั้น เห็นว่า โจทก์ ฟ้อง ขอให้ จำเลย ที่ 1ซึ่ง เป็น ผู้สั่งจ่าย รับผิด ใช้ เงิน ตามเช็ค จำเลย ที่ 1 ให้การต่อสู้ เพียง ว่า จำเลย ที่ 1 ออก เช็คพิพาท เพื่อ เป็น ประกัน การ ชำระหนี้ ของ จำเลย ที่ 2 เท่านั้น ดังนี้ เมื่อ จำเลย ที่ 1 รับ ว่า เป็นผู้สั่งจ่าย เช็คพิพาท และ เช็คพิพาท มีมูล หนี้ จาก การ ที่ จำเลย ที่ 1สั่งจ่าย ประกันหนี้ ของ จำเลย ที่ 2 แก่ โจทก์ และ จำเลย ที่ 2 ยัง ไม่ได้ชำระหนี้ นั้น จำเลย ที่ 1 จึง ต้อง รับผิด ใช้ เงิน ตามเช็ค พิพาท แก่โจทก์ หา เป็น เรื่อง นอกฟ้อง นอกประเด็น หรือ ข้อเท็จจริง ใน ทางพิจารณาต่าง จาก ฟ้อง ไม่ ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ว่า หนี้ ของ จำเลย ที่ 2 เป็นการกู้ยืมเงิน เกินกว่า 50 บาท เมื่อ ไม่มี หลักฐาน เป็น หนังสือ โจทก์จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง และ จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ค้ำประกัน จำเลย ที่ 2โจทก์ ต้อง บังคับ ชำระหนี้ เอา จาก จำเลย ที่ 2 ก่อน เมื่อ ไม่ได้ แล้วจึง จะ มีอำนาจ ฟ้อง จำเลย ที่ 1 นั้น เห็นว่า แม้ จำเลย ทั้ง สอง จะให้การ ใน ประเด็น ดังกล่าว ไว้ แต่เมื่อ ศาลชั้นต้น กำหนด ประเด็นข้อพิพาท ไว้ เพียง ว่า โจทก์ เป็น ผู้ทรงเช็ค พิพาท ซึ่ง จำเลย ที่ 1ลงลายมือชื่อ สั่งจ่าย จำเลย ที่ 2 ลงลายมือชื่อ สลักหลัง และ ธนาคารปฏิเสธ การ จ่ายเงิน หรือไม่ เพียงใด และ ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุม หรือไม่เท่านั้น โดย มิได้ กำหนด ประเด็น ดังกล่าว ไว้ เป็น ประเด็น ข้อพิพาทและ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ได้ โต้แย้ง คัดค้าน ถือว่า จำเลย ทั้ง สอง สละ ประเด็นข้อต่อสู้ นั้น แล้ว จึง เป็น ข้อ ที่ ไม่ได้ ว่า กัน มา แต่ ศาลชั้นต้นจำเลย ทั้ง สอง ไม่มี สิทธิ ยกขึ้น โต้เถียง ใน ชั้นฎีกา ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ให้ "
พิพากษายืน