กรณี สืบเนื่อง จาก ศาลฎีกา พิพากษา ยืน ตาม คำพิพากษา ศาลแรงงานกลางให้ จำเลย ทั้ง สอง จ่าย ค่าชดเชย ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง หกสิบเจ็ดโจทก์ ที่ 58 ยื่น คำร้อง ว่า ศาลแรงงานกลาง อ่าน คำพิพากษา ให้ จำเลยจ่าย เงิน ให้ แก่ โจทก์ ที่ 58 เป็น เงิน 24,900 บาท แต่ ได้ พิมพ์คำพิพากษา ผิดพลาด เป็น ว่า ให้ จำเลย จ่าย เงิน ให้ แก่ โจทก์ ที่ 58เพียง 14,900 บาท ซึ่ง เป็น การ ผิดพลาด เล็กน้อย ขอ ให้ แก้ไขคำพิพากษา ของ ศาลแรงงานกลาง ใน จำนวน เงิน 14,900 บาท เป็น 24,900 บาท
วันนัด พิจารณา คำร้อง จำเลย ที่ 2 แถลง คัดค้าน ว่า โจทก์ มี สิทธิอุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา ได้ แต่ โจทก์ มิได้ ใช้ สิทธิ อุทธรณ์ เพื่อ ขอให้ ศาลฎีกา แก้ไข จึง ไม่ ควร อนุญาต
ศาลแรงงานกลาง สั่ง ยก คำร้อง
โจทก์ ที่ 58 อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า ได้ ความ ว่า โจทก์ ที่ 58 ได้ยื่น คำฟ้อง โดย อ้าง ว่า มี สิทธิ ได้ รับ ค่าชดเชย ตาม บัญชีรายละเอียด เอกสาร หมายเลข 5 ท้าย คำฟ้อง แผ่น ที่ 29 ระบุ ว่า รายการที่ เรียกร้อง 1. ค่าชดเชย คิด ตาม ค่าจ้าง อัตรา สุดท้าย 180 วันรวม 24,900 บาท (สองหมื่นสี่พันเก้าร้อย บาท) และ ใน คำขอ ท้าย คำฟ้องก็ ระบุ จำนวน เงิน ไว้ 24,900 (สองหมื่นสี่พันเก้าร้อย บาท) เมื่อศาลแรงงานกลาง อ่าน คำพิพากษา ก็ บังคับ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ เงินจำนวน นี้ ตรง กับ ต้นร่าง คำพิพากษา แต่ เมื่อ จัดพิมพ์ คำพิพากษา แล้ว ปรากฏ ว่า ได้ พิมพ์ จำนวน เงิน ที่ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ แก่ โจทก์ที่ 58 เป็น เงิน 14,900 บาท โดย ตัวเลข หลักหมื่น ผิดพลาด จาก เลข 2เป็น เลข 1 พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า คดี นี้ ได้ ขึ้น มา สู่ การ พิจารณาของ ศาลฎีกา ครั้งหนึ่ง แล้ว ปกติ ก็ ย่อม เป็น อำนาจ ของ ศาลฎีกา ที่จะ แก้ไข ให้ ถูกต้อง เพราะ ได้ ล่วงเลย ขั้นตอน ตาม กฎหมาย ที่ศาลแรงงานกลาง จะ พึง แก้ไข ได้ แล้ว ดังนั้น ที่ ศาลแรงงานกลาง มีคำสั่ง ยก คำร้อง ของ โจทก์ ที่ 58 จึง ชอบ ด้วย กฎหมาย แต่ คดี นี้ได้ ความ ตาม ที่ ศาลฎีกา ได้ กล่าว ไว้ ใน ตอนต้น แล้ว ว่า เหตุ ที่ตัวเลข แสดง จำนวน เงิน ไม่ ตรง กับ ต้นร่าง คำพิพากษา นั้น ได้ พิมพ์ผิดพลาด ไป ซึ่ง เมื่อ คดี ขึ้น มา สู่ ศาลฎีกา ครั้งแรก นั้น ศาลฎีกาไม่ มี โอกาส ได้ ทราบ ถึง ความ ผิดพลาด จึง มิได้ แก้ไข ให้ ถูกต้องไป ใน คราวเดียวกัน กรณี การ พิมพ์ ผิดพลาด เช่นนี้ ถือ เป็น ข้อผิดพลาด เล็กน้อย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ซึ่งศาลฎีกา มี อำนาจ แก้ไข ข้อผิดพลาด เช่นนี้ ให้ ถูกต้อง ได้ ตามบทบัญญัติ ดังกล่าว และ ได้ พิจารณา แล้ว เห็น สมควร แก้ไข ตัวเลข ของจำนวนเงิน ค่าชดเชย ของ โจทก์ ที่ 58 ตาม คำพิพากษา ให้ ถูกต้อง ตรง ต่อความ เป็นจริง
พิพากษา ให้ แก้ จำนวน เงิน ของ ค่าชดเชย สำหรับ โจทก์ ที่ 58 ให้จำเลย ทั้ง สอง ชำระ เป็น เงิน 24,900 บาท