คดีนี้ ศาลฎีกาได้เคยพิพากษามาแล้วครั้งหนึ่ง ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาต่อไปว่า ร.ต.อ.ประดิษฐ์ได้มีกรรมสิทธิใน+รายพิพาทโดยทางครอบครองมา ตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา ๑๓๘๒ หรือไม่ แล้วพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงได้ความว่า เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๔๘๙ โจทก์ได้มีหนังสือแจ้งไปยังจำเลยที่ ๑ ให้ลงทะเบียนโอนหุ้นรายพิพาทให้แก่ ร.ต.อ.ประดิษฐ์ จำเลยที่ ๑ ได้จัดการโอน โดยแก้ในทะเบียนให้แล้ว ได้ส่งบัญชีรายนามผู้ถือหุ้นไปยังกองทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทฯ ต่อมา ร.ต.อ.ประดิษฐ์ได้รับเชิญจากจำเลยที่ ๑ และได้เข้าประชุมในฐานะผู้ถือหุ้นหลายคราว ครั้งแรกก็คือ วันที่ ๑๑ มกราคม ๒๔๗๙ ซึ่งเป็นการประชุมวิสามัญ ร.ต.อ.ประดิษฐ์ตายเมื่อเดือน ธันวาคม ๒๔๘๔ จำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นมารดาได้ยื่นคำร้องขอรับมฤดก ร.ต.อ.ประดิษฐ์
ศาลชั้นต้นเห็นฯว่า นับแต่โจทก์บอกกล่าวการโอนให้จำเลยที่ ๑ เปลี่ยนชื่อโจทก์ในทะเบียน และ ร.ต.อ.ประดิษฐ์ได้เข้าประชุมใช้สิทธิครั้งแรกตั้งแต่ ๑๑ มกราคม ๒๔๗๙ เป็นเวลาเกิน ๕ ปี ร.ต.อ.ประดิษฐ์ได้สิทธิในหุ้นรายพิพาทตามมาตรา ๑๓๘๒ ประมวลแพ่งฯ จำเลยที่ ๒ ย่อมได้สิทธิในทางมฤดก ๒๔๗๙ ถึงวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ ยังไม่ถึง ๕ ปี เพราะ พ.ศ. ๒๔๘๓ มีเพียง ๙ เดือน ร.ต.อ. ประดิษฐ์จังยังไม่ได้รับกรรมสิทธิรายนี้ จำเลยที่ ๒ ก็ยังไม่ได้รับช่วงสิทธิครอบครองหุ้นรายนี้ต่อแต่ประการใด พิพากษากลับ
จำเลยที่ ๒ ฎีกา,
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ให้การแก้ฎีกาโต้เถียงเป็นอย่างอื่น ข้อเท็จจริงคงฟังได้ตามที่ศาลล่างฟังมา คดีนี้ปัญหามีแต่ในเรื่องนับระยะเวลาครอบครองหุ้น (ไม่ใช่ในหุ้น)เท่นั้น ตามรูป+ข้อเท็จจริงถือได้ว่า ร.ต.อ.ประดิษฐ์ครอบครองหุ้นนี้มาตั้งแต่วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๔๗๙ ซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่ ๑ ได้แก้ทะเบียนลงชื่อ ร.ต.อ.ประดิษฐ์ เป็นผู้ถือหุ้นตามคำร้องขอของโจทก์ จะยกเอาข้อที่ว่า ร.ต.อ.ประดิษฐ์ยังไม่ได้ทำอะไรเกี่ยวกับจำเลยที่ ๑ จึงไม่เรียกว่าครอบครองนั้นไม่ได้ เพราะจำเลยที่ ๑ ที่ไม่ได้เรียกประชุม จึงไม่มีอะไรที่ ร.ต.อ.ประดิษฐ์จะกระทำการเกี่ยวกับจำเลยที่ ๑
พิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามศาลชั้นต้น.