ได้ความว่า นางแสงซึ่งเป็นป้าโจทก์และมารดาจำเลยยกที่รายพิพาทให้โจทก์โดยมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ โจทก์ได้ครอบครองเป็นเจ้าของมา ๑๔ - ๑๕ ปี บัดนี้นางแสงตายจำเลยยื่นคำขอประกาศรับมฤดกเพื่อเอาที่ดินแปลงนี้ โจทก์จึงฟ้องขอให้ศาลแสด
ว่าโจทก์มีสิทธิ์ครอบครอง
จำเลยให้การว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลยรับมฤดกมาจากนางแสงมารดาโจทก์เข้าไปอยู่ในฐานะเป็นผู้เฝ้าดูแลเท่านี้
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เห็นว่า การที่โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๓๖๙ สันนิษฐานของกฎหมายหลักฐานพะยานจำเลยเท่าที่นำสืบไม่เพียงพอจะลบล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้โจทก์ ได้ครอบครองเป็นเจ้าของที่นี้มาโดยสงบและเปิดเผยเป็นเวลานานกว่า ๑๐ ปี โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๓๘๒ พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่พิพาทนี้แต่ฝ่ายเดียว
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ในเรื่องประเด็นหน้าที่นำสืบนั้น คดีนี้ปรากฏว่าโจทก์ก็ได้ครอบครองที่พิพาทติดต่อกันเป็นเวลากว่า ๑๐ ปี เมื่อจำเลยอ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิในที่พิพาท ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องนำสืบให้สมตามอ้างส่วนข้อฎีกาที่ว่า ศาลจะยกมาตรา ๑๓๖๙ - ๑๓๘๒ ขึ้นบังคับคดีนี้มิได้ เพราะคำว่าทรัพย์สินหมายถึงฉะเพาะสังหาริมทรัพย์นั้นเห็นว่าคำทรัพย์สินตามมาตรา ๙๙ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์++ความตลอดถึงทรัพย์อันมีราคาใดใดทั้งสิ้นที่จะถือเอาได้ ข้อเถียงจึงตกไป
ในประเด็นสุดท้ายเห็นว่า การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น อาจเป็นโดยนิติกรรมและโดยทางอื่นเช่นโดยทางนิตินัยก็ได้ในคดีนี้ " การได้มา" ของโจทก์โดยบางนิติกรรมไม่บริบูรณ์ กล่าวคือไม่ได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่โดยทางนิตินัยสำเร็จรูปได้ตามข้อกำหนดในมาตรา ๑๓๘๒ แล้ว จึงพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์