ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณอายุงานและสิทธิรับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับบริษัท: การปัดเศษปีและระยะเวลาทำงานที่เข้าข่ายเป็นอายุงาน
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเรื่องเงินบำเหน็จ กำหนดว่า บริษัทฯ จะพิจารณาจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงาน ที่มีอายุการทำงาน ดังนี้ (ก) ทำงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นจำนวนเงินเท่ากับเงินเดือนเต็มเดือนสุดท้าย คูณด้วยจำนวนปีของอายุงาน หารด้วย 2 (ข) ทำงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 10 ปี จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นจำนวนเงินเท่ากับเงินเดือนเต็มเดือนสุดท้าย คูณด้วยจำนวนปีของอายุงาน 1 1 อายุงาน ถืออายุการทำงาน 365 วัน เป็นหนึ่งปีเศษของปี ถ้าถึง 183 วัน ให้ปัดเป็นหนึ่งปี ถ้าไม่ถึง183 วัน ตัดทิ้ง 2 อายุการทำงาน หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่พนักงาน เข้าประจำทำงานในบริษัทฯ ในฐานะพนักงานจนถึงก่อนวันพ้น จากตำแหน่งในบริษัทฯ ตามเงื่อนไข ดังนี้โดย มิได้รับเงินเดือน ไม่ให้นับเป็นอายุการทำงาน (2) ระยะเวลาที่พนักงานหยุดงานเพื่อพักรักษาตัวเนื่องจาก การประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย เพราะเหตุปฏิบัติงานให้แก่บริษัทฯ และได้รับเงินเดือนตามปกติ ให้นับเป็นอายุการทำงานเต็มตามระยะเวลานั้น เห็นได้ว่าตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยดังกล่าว คำว่า อายุงานกับ อายุการทำงาน มีความหมายแตกต่างกัน กล่าวคือ อายุงานคิดเป็นจำนวนปีเพื่อใช้ในการคำนวณเงินบำเหน็จของลูกจ้างแต่ละคนโดยใช้เป็นตัวคูณเงินเดือนเต็มเดือนสุดท้ายว่าลูกจ้าง คนใดมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจำนวนเท่าใด การนับอายุงาน ให้ถือ 365 วันเป็นหนึ่งปี เศษของปี ถ้าถึง 183 วันให้ปัดเป็นหนึ่งปี ถ้าไม่ถึง 183 วัน ก็ให้ตัดทิ้งส่วนอายุการทำงานนั้น เป็นระยะเวลาตามที่ลูกจ้างแต่ละคนได้ทำงานจริง ๆ โดยนับเวลาทำงานตั้งแต่วันที่ลูกจ้างคนนั้นเข้าทำงานกับจำเลยจนถึงวันที่ออกจากงานตามเงื่อนไขที่ว่า ระยะเวลาที่ลูกจ้างลา ขาดงาน หรือถูกสั่งพักงานโดยมิได้รับเงินเดือนไม่ให้นับเป็นอายุการทำงาน แต่ระยะเวลาที่ลูกจ้างหยุดงานเพื่อรักษาตัวเนื่องจากการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เพราะเหตุปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างและได้รับเงินเดือนตามปกติให้นับเป็นอายุการทำงานเต็มตามระยะเวลานั้นเมื่อข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า โจทก์ทำงานกับจำเลยติดต่อกันเป็นเวลา 9 ปี 6 เดือน 16 วัน หรือ 9 ปี 196 วันกรณีถือได้ว่าโจทก์มีอายุการทำงานติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี