ผู้ร้อง ยื่น คำร้องขอ ว่า ผู้ร้อง เป็น บุตร โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของนาง สิน สีบุญเรือง ผู้ตาย ผู้ตาย ถึงแก่ความตาย โดย มิได้ ทำ พินัยกรรม ยก ทรัพย์มรดก ให้ ผู้ใด และ มิได้ ตั้ง บุคคล ใด ให้ เป็น ผู้จัดการมรดก ไว้กรณี มีเหตุ ขัดข้อง ใน การ จัดการ มรดก ผู้ร้อง ประสงค์ ขอ จัดการ มรดกของ ผู้ตาย ผู้ร้อง ไม่เป็น บุคคล ต้องห้าม มิให้ เป็น ผู้จัดการมรดกตาม กฎหมาย ขอให้ ศาล ตั้ง ผู้ร้อง เป็น ผู้จัดการมรดก ของ ผู้ตาย
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ยก คำร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "พิเคราะห์ แล้ว มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตามฎีกา ของ ผู้ร้อง ว่า ผู้ร้อง สมควร เป็น ผู้จัดการมรดก ของ ผู้ตาย หรือไม่เห็นว่า แม้ ผู้ร้อง จะ มี อายุ มาก หู ฟัง ไม่ ค่อย ได้ยิน ต้อง ถาม ด้วยเสียงดัง จึง ได้ยิน ก็ ตาม แต่ ผู้ร้อง ก็ สามารถ ตอบ คำถาม ทนายความ จนศาลชั้นต้น สามารถ บันทึก ถ้อยคำ ของ ผู้ร้อง ได้ ข้อความ ครบถ้วน ตามความ ต้องการ ทรัพย์มรดก ของ ผู้ตาย ก็ มี เพียง ที่ดิน และ บ้าน บน ที่ดินดังกล่าว ไม่ ยุ่งยาก ต่อ การ จัดการ ผู้ร้อง ย่อม สามารถ ติดต่อ สื่อความหมาย ให้ เจ้าพนักงาน ทราบ ความ ประสงค์ ของ ตน ได้ อีก ทั้ง ทายาทที่ จะ สามารถ ยื่น คำร้องขอ ต่อ ศาล เพื่อ จัดการ มรดก ของ ผู้ตายนอกจาก ผู้ร้อง แล้ว ก็ มี เพียง บุตร ของ ผู้ตาย อีก 2 คนเท่านั้น คือ นาง แฉล้ม และ นาย ชลอ แต่ ไม่ปรากฏ แน่ชัด ว่า นาง แฉล้ม ไป อยู่ ณ ที่ แห่ง ใด คง ปรากฏ ชื่อ อยู่ แต่ ใน ทะเบียนบ้าน กลาง จน กระทั่ง ศาลชั้นต้น ต้อง สั่ง งด สำเนา คำร้องขอ ของ ผู้ร้อง ให้ นาง แฉล้ม ส่วน นาย ชลอ อยู่ จังหวัด อุบลราชธานี ได้รับ สำเนา คำร้องขอ ของ ผู้ร้อง โดยชอบ ก็ ไม่ เข้า มา คัดค้าน การ เป็น ผู้จัดการมรดก ของผู้ร้อง ทายาท ทั้ง สอง ดังกล่าว ไม่ได้ สนใจ ใย ดี กับ การ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ ผู้ตาย การ จะ ปล่อย ให้ มรดก ของ ผู้ตาย ทิ้ง ไว้ โดย ไม่มี ผู้จัดการอาจจะ เกิด ความเสียหาย ได้ ศาลฎีกา จึง เห็นสมควร ตั้ง ให้ ผู้ร้อง เป็นผู้จัดการมรดก ของ ผู้ตาย ได้ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ไม่ ตั้ง ให้ ผู้ร้องเป็น ผู้จัดการมรดก ราย นี้ ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา ของผู้ร้อง ฟังขึ้น "
พิพากษากลับ ตั้ง ให้ ผู้ร้อง เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาง สิน สีบุญเรือง ผู้ตาย ให้ มีอำนาจ และ หน้าที่ ตาม กฎหมาย ต่อไป