โจทก์ ฟ้อง ว่า ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหายแก่ โจทก์ เป็น ค่ารักษาพยาบาล ค่า พาหนะ ที่ ภริยา โจทก์ มา เฝ้า ไข้ และค่ารักษาพยาบาล โจทก์ ใน อนาคต จำนวน 89,931 บาท ค่า ที่ โจทก์ ต้องขาด ประโยชน์ ใน การ ทำ มา หา ได้ จำนวน 156,000 บาท และ ค่าเสียหาย จาก การที่ โจทก์ ต้อง เสีย ความ สามารถ ใน การ ประกอบการ งาน โดย สิ้นเชิง เป็น เงิน780,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน1,025,931 บาท นับแต่ วัน ทำละเมิด จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 มิได้ เป็น ลูกจ้าง ของจำเลย ที่ 2 และ จำเลย ที่ 2 ก็ มิใช่ ผู้ครอบครอง รถยนต์โดยสาร ประจำทางหมายเลข ทะเบียน 11-6236 กรุงเทพมหานคร ด้วย ทั้ง เหตุ ละเมิดที่ เกิดขึ้น นี้ เป็น เพราะ ความประมาท เลินเล่อ ของ โจทก์ จำเลย ที่ 1มิใช่ ฝ่าย ผิด จำเลย ที่ 2 จึง ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ด้วยส่วน ค่าเสียหาย ที่ โจทก์ เรียก มา นั้น สูง เกินกว่า ความ เป็น จริงซึ่ง ไม่ควร เกิน 20,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงินจำนวน 317,531 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ใน ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีใน ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วัน ทำละเมิด (23 พฤศจิกายน 2532) จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี นี้ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สองร่วมกัน ชดใช้ ค่ารักษาพยาบาล จำนวน 52,531 บาท ค่า ขาด รายได้ จาก การทำงาน จำนวน 40,000 บาท ค่า พาหนะ เดินทาง จำนวน 10,000 บาท ค่า ผ่าตัดรักษา เท้า จำนวน 15,000 บาท และ ค่า เสีย ความ สามารถ ใน การ ประกอบการ งานจำนวน 200,000 บาท รวมเป็น เงิน 317,531 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วัน ทำละเมิด จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน จำเลย ที่ 2 ฎีกา โต้เถียงดุลพินิจ ใน การ กำหนด ค่าเสียหาย อันเป็น ข้อเท็จจริง ว่า ค่า พาหนะ เดินทางไม่ควร เกิน 4,000 บาท ค่า ผ่าตัด รักษา เท้า ไม่ควร กำหนด ให้ และค่า เสีย ความ สามารถ ใน การ ประกอบการ งาน ไม่ควร เกิน 40,000 บาท ดังนั้นทุนทรัพย์ ที่ ยัง พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา มี จำนวน 181,000 บาท และ เมื่อ รวมดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วัน ทำละเมิดจน ถึง วันฟ้อง แล้ว รวมเป็น เงิน 194,575 บาท ไม่เกิน 200,000 บาทจึง ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ดังกล่าว ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้น สั่ง รับ ฎีกาของ จำเลย ที่ 2 มา ไม่ชอบ ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย
พิพากษายก ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2